พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,639 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาค้ำประกัน การบังคับชำระหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ ที่ระบุที่ดินที่จะซื้อจะขายตามโฉนดเลขที่ 3707 นั้น ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีและคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลตามกฎหมาย เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3707 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 261 ที่ไม่เปิดเผยและถูกอำพรางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้
เมื่อครบกำหนดโอนที่ดินตามสัญญา ฉ. ผิดสัญญาโอนที่ดินแก่ ป. ไม่ได้ ป. ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ ฉ. ปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายได้ การที่ ฉ. ทำสัญญากู้ยืมเงิน ป. 880,000 บาท โดยจำเลยเป็นผู้เขียนสัญญา และจำเลยยอมนำที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยให้ยึดถือเป็นประกันด้วยนั้น จึงเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ ชอบที่ ป. จะบังคับให้ ฉ. ชำระค่าเสียหายที่ไม่สามารถโอนที่ดินแก่ตน แต่เนื่องเพราะ ฉ. ไม่มีทรัพย์สินอะไร เป็นบุคคลล้มละลายและ ป. กลัวว่า ฉ. จะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยแก่โจทก์ในราคา 880,000 บาท เพื่อเป็นประกันไว้แทนสัญญากู้เงินดังกล่าวให้อีก สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี และคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลตามกฎหมายเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันคือ จำเลยยอมชำระเงินแทน ฉ. ในมูลหนี้ที่ ฉ. ทำสัญญากู้เงิน ป. 880,000 บาท นั่นเอง และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทถือได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินของ ฉ. โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งสัญญาตามเจตนาที่แท้จริงดังกล่าวนี้เป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ ป. ได้วางมัดจำแก่ ฉ. เพื่อชำระราคาที่ดินไปแล้วพร้อมค่าเสียหายมิใช่นิติกรรมอำพรางของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับ ป. ซึ่งเป็นคนละส่วนต่างหากจากกัน เมื่อ ฉ. มิได้ชำระเงินที่ต้องรับผิดแก่ ป. หรือโจทก์และการที่จำเลยยอมทำสัญญารับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ตามที่ ฉ. ป. และโจทก์ยินยอม โดยทุกฝ่ายต่างลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่
เมื่อครบกำหนดโอนที่ดินตามสัญญา ฉ. ผิดสัญญาโอนที่ดินแก่ ป. ไม่ได้ ป. ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ ฉ. ปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายได้ การที่ ฉ. ทำสัญญากู้ยืมเงิน ป. 880,000 บาท โดยจำเลยเป็นผู้เขียนสัญญา และจำเลยยอมนำที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยให้ยึดถือเป็นประกันด้วยนั้น จึงเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ ชอบที่ ป. จะบังคับให้ ฉ. ชำระค่าเสียหายที่ไม่สามารถโอนที่ดินแก่ตน แต่เนื่องเพราะ ฉ. ไม่มีทรัพย์สินอะไร เป็นบุคคลล้มละลายและ ป. กลัวว่า ฉ. จะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยแก่โจทก์ในราคา 880,000 บาท เพื่อเป็นประกันไว้แทนสัญญากู้เงินดังกล่าวให้อีก สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี และคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลตามกฎหมายเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันคือ จำเลยยอมชำระเงินแทน ฉ. ในมูลหนี้ที่ ฉ. ทำสัญญากู้เงิน ป. 880,000 บาท นั่นเอง และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทถือได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินของ ฉ. โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งสัญญาตามเจตนาที่แท้จริงดังกล่าวนี้เป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ ป. ได้วางมัดจำแก่ ฉ. เพื่อชำระราคาที่ดินไปแล้วพร้อมค่าเสียหายมิใช่นิติกรรมอำพรางของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับ ป. ซึ่งเป็นคนละส่วนต่างหากจากกัน เมื่อ ฉ. มิได้ชำระเงินที่ต้องรับผิดแก่ ป. หรือโจทก์และการที่จำเลยยอมทำสัญญารับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ตามที่ ฉ. ป. และโจทก์ยินยอม โดยทุกฝ่ายต่างลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย/จำนองเมื่อผู้ขาย/จำนองไม่มีสิทธิในที่ดิน และการไม่เกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก อ. และ อ. ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ถึงแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ อ. จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อันมีผลให้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ อ. ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การโอนทรัพย์ให้แก่กันย่อมกระทำได้ โดยการส่งมอบการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อ อ. ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดย อ. ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทอีกต่อไป อันถือเป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ อ. จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. และจำเลยที่ 1 จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 1 ก็หาได้สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เนื่องจากเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก อ. จึงไม่มีสิทธิดีกว่า อ. ผู้โอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อทำให้สัญญายังมีผลผูกพัน
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยปกปิดข้อความจริงหรือนิ่งเสียไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ และเป็นกลฉ้อฉลลวงโจทก์เพื่อการลงทุนถึงขนาดทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อขายและถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ทราบความจริงจะไม่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะโจทก์ไม่สามารถที่จะดำเนินการขออนุญาตจัดสรรจัดจำหน่ายและทำกำไรตามวัตถุประสงค์ ซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ถูกกลฉ้อฉลและสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อจะขายว่าสามารถดำเนินการขออนุญาตจัดสรรได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้เพียงว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดจากกลฉ้อฉลไม่ผูกพันโจทก์ และจำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนโจทก์หรือไม่ โดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อฉลโจทก์ แล้ววินิจฉัยเพิ่มเติมไปว่า โจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยสำคัญผิดว่าสามารถนำที่ดินไปขออนุญาตจัดสรรได้ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่จะซื้อจะขายซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆียะนั้น จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ไม่สนใจที่จะตรวจสอบที่ดินที่จะซื้อจะขายว่า มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย ประกอบกับจำเลยก็ได้ให้คำเตือนให้โจทก์ต้องตรวจสอบแล้ว แต่โจทก์กลับไม่นำพา จึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ โจทก์จะถือเอาความสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อจะขายนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย ไม่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์ไม่สนใจที่จะตรวจสอบที่ดินที่จะซื้อจะขายว่า มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย ประกอบกับจำเลยก็ได้ให้คำเตือนให้โจทก์ต้องตรวจสอบแล้ว แต่โจทก์กลับไม่นำพา จึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ โจทก์จะถือเอาความสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อจะขายนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย ไม่ตกเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาระจำยอมหลังมติถูกเพิกถอน & การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนที่ต้องมีคู่สัญญาเป็นจำเลยร่วม
แม้การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินสาธารณูปโภคและบริเวณสาธารณะตามโฉนดเลขที่ 2603 ที่จำเลยรับโอนมาจากบริษัท บ. ผู้จัดสรร ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 2346 ของบริษัท บ. ผู้จัดสรร จะเป็นมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญของจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนมตินี้แล้วก็ตาม แต่เมื่อก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยได้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่รับโอนมาให้แก่ที่ดินของบริษัท บ. ตามมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าวเสียแล้วสภาพแห่งคดีจึงไม่เปิดช่องที่จะมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามคำขอของโจทก์ได้ และแม้จะอนุเคราะห์ให้ถือว่าคำขอของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมระหว่างจำเลยกับบริษัท บ. ก็ดี แต่การจะเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าวโจทก์จำต้องฟ้องบริษัท บ. เจ้าของสามยทรัพย์ผู้เป็นคู่สัญญากับจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยด้วย ลำพังแต่เพียงฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้น ไม่อาจทำได้ เพราะคำพิพากษาย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของจำเลย โดยประกอบด้วยสภาพแห่งข้อหาหลายข้อด้วยกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ช. พ้นจากตำแหน่งจากการเป็นกรรมการตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว การที่ ช. ในนามประธานกรรมการของจำเลยทำหนังสือเชิญประชุมและดำเนินการประชุมมีการลงมติในวาระต่างๆ จึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับ อันนำไปสู่การบังคับตามคำขอของโจทก์ได้แล้ว การที่ยังจะต้องวินิจฉัยข้อหาอื่นเพื่อนำไปสู่การบังคับตามคำขอเดียวกันนี้อีกจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อหาที่เหลืออีก กรณีเช่นนี้หาใช่ว่าศาลไม่ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ไม่ หากโจทก์เห็นว่าข้อหาที่เหลือยังมีการกระทำที่ทำให้โจทก์ต้องเสียหายก็ชอบที่จะต้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของจำเลย โดยประกอบด้วยสภาพแห่งข้อหาหลายข้อด้วยกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ช. พ้นจากตำแหน่งจากการเป็นกรรมการตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว การที่ ช. ในนามประธานกรรมการของจำเลยทำหนังสือเชิญประชุมและดำเนินการประชุมมีการลงมติในวาระต่างๆ จึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับ อันนำไปสู่การบังคับตามคำขอของโจทก์ได้แล้ว การที่ยังจะต้องวินิจฉัยข้อหาอื่นเพื่อนำไปสู่การบังคับตามคำขอเดียวกันนี้อีกจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อหาที่เหลืออีก กรณีเช่นนี้หาใช่ว่าศาลไม่ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ไม่ หากโจทก์เห็นว่าข้อหาที่เหลือยังมีการกระทำที่ทำให้โจทก์ต้องเสียหายก็ชอบที่จะต้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การกำหนดค่าเสียหายกรณีรถหายโดยมิใช่ความผิดผู้เช่าซื้อ ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายให้เหมาะสม
โจทก์บรรยายคำฟ้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย และโจทก์เรียกให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 ตามคำฟ้องของโจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจากความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อในกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยเป็นความผิดของจำเลย แต่ได้ความจากทางพิจารณาว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของจำเลย เป็นเรื่องของการรับฟังข้อเท็จจริงซึ่งศาลจะนำมาวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 ดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของจำเลยและกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำฟ้องของโจทก์ มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากภริยาไม่ยินยอม และการแก้ไขคำพิพากษาเกินฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ แต่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ตรงประเด็นที่พิพาทในคดีว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทสินสมรสส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 และฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรส จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรสและการโอนขายที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตรงประเด็นข้อพิพาทแล้ว และไม่ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 ในราคาเท่าใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ปัญหาว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องและจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ แต่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ตรงประเด็นที่พิพาทในคดีว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทสินสมรสส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 และฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรส จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรสและการโอนขายที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตรงประเด็นข้อพิพาทแล้ว และไม่ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 ในราคาเท่าใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ปัญหาว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องและจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงได้โดยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สิน (ป.พ.พ. ม.1336) ไม่ขาดอายุความ แม้มีนิติกรรมสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกินคำฟ้องคดีแบ่งเงินกองกลาง เพราะที่ดินเป็นทรัพย์มรดก ไม่ใช่เงินกองกลางครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งเงินกองกลางของครอบครัวที่โจทก์ร่วมกับพี่น้องหามาได้ร่วมกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นมรดกของบิดาในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว นำไปซื้อฝากที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์ ถือว่าจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแทนพี่น้อง รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งส่วนที่ดินได้ จึงเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม: นิติบุคคล/เจ้าของร่วมเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่มิได้กล่าวถึงการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญจึงต้องเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวคือ ป.พ.พ. มาตรา 1195 ที่บัญญัติว่า "การประชุมใหญ่นั้น ถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันหรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทก็ดี เมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้ว ให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย ..." ซึ่งในกรณีของนิติบุคคลอาคารชุดได้แก่กรรมการหรือเจ้าของร่วม อันเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การจัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความประสงค์ของเจ้าของร่วมทั้งหลาย ดังนั้น ผู้มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญย่อมได้แก่กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดหรือเจ้าของร่วมเท่านั้น ทั้งนิติบุคคลอาคารชุดต้องปฏิบัติตามมติของเจ้าของร่วม โจทก์ที่ 1 (นิติบุคคลอาคารชุด) จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมเองไม่ได้
แม้การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมอาคารชุดไม่ชอบด้วยกฎหมายและฝ่าฝืนข้อบังคับก็ตาม แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมดังกล่าวเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมอันผิดระเบียบนั้นเสียก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 และที่ 3 อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อย่างไรก็ตามไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ยื่นฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อาจฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของตนเพื่อให้บังคับตามสิทธินั้นเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้ แต่คดีนี้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองเรียกประชุม ได้ประชุมกัน และจัดให้มีการลงมติโดยฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด แต่ในคำขอบังคับตามฟ้องขอเพียงให้เพิกถอนการประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ซึ่งมีผลทำให้คณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดและ พ. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดขณะนั้นพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคล แม้หากฟังได้ตามฟ้องให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองก็ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เพราะจะต้องบังคับเอาแก่นิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเท่านั้น แต่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ฟ้องนิติบุคคลอาคารชุดมาด้วย กรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มาในฟ้อง ทั้งไม่อาจแปลคำฟ้องว่าเป็นการร้องขอให้บังคับนิติบุคคลอาคารชุดด้วย เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 นอกจากนั้นโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ฐานกระทำละเมิด ฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
แม้การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมอาคารชุดไม่ชอบด้วยกฎหมายและฝ่าฝืนข้อบังคับก็ตาม แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมดังกล่าวเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมอันผิดระเบียบนั้นเสียก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 และที่ 3 อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อย่างไรก็ตามไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ยื่นฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อาจฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของตนเพื่อให้บังคับตามสิทธินั้นเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้ แต่คดีนี้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองเรียกประชุม ได้ประชุมกัน และจัดให้มีการลงมติโดยฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด แต่ในคำขอบังคับตามฟ้องขอเพียงให้เพิกถอนการประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ซึ่งมีผลทำให้คณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดและ พ. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดขณะนั้นพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคล แม้หากฟังได้ตามฟ้องให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองก็ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เพราะจะต้องบังคับเอาแก่นิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเท่านั้น แต่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ฟ้องนิติบุคคลอาคารชุดมาด้วย กรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มาในฟ้อง ทั้งไม่อาจแปลคำฟ้องว่าเป็นการร้องขอให้บังคับนิติบุคคลอาคารชุดด้วย เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 นอกจากนั้นโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ฐานกระทำละเมิด ฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง