พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้รับจำนองเหนือทรัพย์จำนอง แม้มีการยึดทรัพย์โดยเจ้าหนี้รายอื่น สิทธิยังคงอยู่และบังคับคดีได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นยึดทรัพย์จำนองไว้แล้วหรือไม่ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับคดีเหนือทรัพย์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการไม่บังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 271 ก็ไม่เป็นเหตุให้หนี้จำนองระงับสิ้นไป ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์ที่จำนอง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะขยายระยะเวลาบังคับคดีให้ตามคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่คาดหมายไม่ได้
ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 3 มิถุนายน 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ จำเลยมีทนายความและรูปคดีไม่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่จำเลยหาได้ยื่นอุทธรณ์ไม่ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 3 วัน โดยอ้างว่า ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้นแต่ระหว่างทางการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ทนายจำเลยเดินทางไปถึงศาลชั้นต้นเลยเวลาทำการไปเกือบ 30 นาที และไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันกำหนดนั้น ล้วนเป็นเหตุที่สามารถป้องกันและคาดหมายได้ล่วงหน้า กรณีมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันแพงทำให้แหล่งเงินที่จำเลยขอกู้และหยิบยืมไม่มีเงินให้จำเลย จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาวางเป็นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาการค้าระหว่าประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: ศาลไม่อำนาจขยายหากมีเพียงเหตุผลทางการเงินและภาวะเศรษฐกิจ
จำเลยที่ 1 และที่ 6 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี ซึ่งผลของการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย อันมิใช่เป็นกรณีที่จะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 อ้างว่า เงินค่าธรรมเนียมมีจำนวนสูง จำเลยที่ 1 และที่ 6 ได้พยายามติดต่อขอยืมเงินจากบุคคลภายนอกไว้แล้ว แต่บุคคลภายนอกซึ่งรับปากจะให้ยืมเงินประสบปัญหาธุรกิจไม่สามารถให้ยืมเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้ได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 อ้างว่า เงินค่าธรรมเนียมมีจำนวนสูง จำเลยที่ 1 และที่ 6 ได้พยายามติดต่อขอยืมเงินจากบุคคลภายนอกไว้แล้ว แต่บุคคลภายนอกซึ่งรับปากจะให้ยืมเงินประสบปัญหาธุรกิจไม่สามารถให้ยืมเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8969/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: พิจารณาพฤติการณ์พิเศษและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี แต่เป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลย ซึ่งผลการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย จึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5 ) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอยืดเวลาฎีกาคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินประกัน ศาลไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยไม่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล อ้างว่าจำเลยเป็นคนอนาถาไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะวางประกันต่อศาล คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องชำระต่อศาลในการยื่นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการขอดำเนินคดีอย่างอนาถาตามมาตรา 155, 156 และเป็นคำขอที่ขัดต่อมาตรา 234 ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้อยู่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยดำเนินสืบเนื่องมาจากคำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลยเพราะหากได้รับการขยายระยะเวลาศาลก็ไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้ จึงไม่มีเหตุสมควรขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด และการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยื่นเกินเวลาตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุแต่เพียงว่า ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่าย และใบเสร็จที่เจ้าหน้าที่ออกให้ยึดถือเป็นหลักฐานสูญหายไป ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ก็ตาม ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลาไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับไว้พิจารณาพิพากษา และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: เจ้าของต้องพิสูจน์ตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนของกลางไม่ได้
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ การไม่แจ้งถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่ง
แม้ท้ายคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยจะมีหมายเหตุข้อความว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้จำเลยทราบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้เป็นความผิดของจำเลย ทำให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเสียสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมจะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และ 142 (5) กรณีมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุผลเลื่อนลอยและการประวิงเวลาไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 หลายครั้งเป็นเวลา 2 เดือนเศษแล้ว โดยครั้งสุดท้ายได้กำชับจำเลยที่ 1 ให้เร่งดำเนินการตามคำร้อง ศาลจะไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพราะเหตุใด ๆ อีก ถือได้ว่าศาลได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 มากแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เลื่อนการเดินทางกลับจากต่างประเทศอย่างกะทันหัน ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ได้อีก ซึ่งเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้าง จึงเป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของจำเลยที่ 1 อ้าง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23