คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษที่ขัดขวางการจัดทำอุทธรณ์ การเจรจาประนอมหนี้ไม่ใช่เหตุขยายเวลา
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ว่า โจทก์และจำเลยได้เจรจาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันเฉพาะในส่วนสาระสำคัญได้ผ่านการอนุมัติแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินหลักทรัพย์ที่จำเลยตีใช้หนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ตีใช้หนี้ได้ ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการประเมินราคาหลักทรัพย์ตีใช้หนี้โจทก์นั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะดำเนินการเพื่อชำระหนี้โจทก์ด้วยความสมัครใจของจำเลยเองมิได้เกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และมิใช่เหตุอันเป็นอุปสรรคขัดขวางในการจัดทำอุทธรณ์หรือนำอุทธรณ์มาเสนอต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งหาใช่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ ข้ออ้างดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายเวลาฟ้องคดีภาษี และการพิจารณาเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาการฟ้องคดีถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ฉะนั้น แม้เป็นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุขยายเวลาต้องยื่นก่อนครบกำหนด เหตุผลที่อ้างไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุสุดวิสัยในการขอขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้นต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์นั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือนกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา มิใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน มิได้กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการตรวจสอบข้อมูลของทนาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาและพิพากษาใหม่
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีศาลลบแก้ไขคำสั่ง และจำเลยไม่ทราบคำสั่งที่แก้ไข
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ของจำเลยลงวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ปรากฏมีรอยลบด้วยหมึกสีขาวในตอนท้าย แล้วมีข้อความเขียนทับลงบนรอยลบดังกล่าวใหม่เป็นที่ประจักษ์ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง อันเป็นการขูดลบโดยศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ และตามสำนวนที่ปรากฏต่อมาว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 อ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลได้ทันตามกำหนด อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดแย้งกับคำสั่งของศาลชั้นต้นบนรอยลบด้วยหมึกสีขาวที่มีข้อความสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว และเมื่อตามรูปคดีประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ในส่วนไม่มีรอยลบด้วยหมึกสีขาวตอนแรกที่ว่า การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั้นเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งอาจมีผลให้จำเลยชนะคดีโจทก์ได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว ข้อความเดิมต่อจากข้อความดังกล่าวนี้ก็ไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นข้อความที่สั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ภายหลังวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์เพียง 5 วัน พฤติการณ์แห่งคดีตามสำนวนที่ปรากฏแก่ศาลเช่นนี้ จึงมีเหตุอันควรแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวดังที่กล่าวอ้างมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง มิฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาวางต่อศาลได้ทันตามกำหนด
เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยหาจำต้องให้จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนเสียก่อนอีกไม่ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย โดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด: เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของทนาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ในวันครบกำหนดอุทธรณ์จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม 2547 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมยื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าเป็นความผิดของทนายความที่ไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นควรอนุญาตให้ตามขอ และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย กรณีของจำเลยดังกล่าวเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งจำเลยจะขอขยายระยะเวลาได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ทนายจำเลยไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลยเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 22 มีนาคม 2547 จึงเกินกำหนดระยะเวลาขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาที่มิชอบ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ทำให้การอุทธรณ์และฎีกาเป็นอันไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์แต่ทำคำแก้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีกลับเป็นฝ่ายชนะคดี จำเลยที่ 1 ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์พร้อมกับนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จะมาขอในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเพิกถอนการไม่รับฎีกาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นเหตุพิเศษ
วันที่ 25 ตุลาคม 2545 จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง วันที่ 31 ตุลาคม 2545 จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ว่าจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2545 จึงไม่รับ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อมาวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ว่าเพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือกรณีการสั่งตามคำร้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 เป็นไปโดยหลงผิด จึงให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 และสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ว่า เพื่อมิให้การดำเนินคดีล่าช้าเป็นผลเสียแก่คู่ความ จึงถือว่ากรณีเป็นการสั่งโดยผิดหลง อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกา สั่งใหม่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่า เนื่องจากศาลรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุตามอุทธรณ์อีก อุทธรณ์ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่รับ การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังแทนที่จะส่งอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตามมาตรา 252 และเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงไม่ต้องด้วยมาตรา 27 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 236 และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
of 70