คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีต่อมา สิทธิการแสดงอำนาจพิเศษไม่ใช่ข้อจำกัดตายตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นข้อต่อสู้คำฟ้องและคำให้การของผู้ร้อง จึงมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องให้การต่อสู้ในคดีก่อนโดยมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของทนายความ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะอ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า ทนายความจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของคำพยานและเอกสารในสำนวน รวมทั้งต้องทำคำฟ้องอุทธรณ์และฎีกาในคดีอื่นอีกหลายสำนวน จึงไม่อาจจัดทำคำฟ้องฎีกาได้ทัน ทั้ง ๆ ที่คดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อน กรณีนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายความจำเลยที่ 1 เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเชื่อโดยสุจริตจากข้อมูลผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นเหตุขยายเวลาอุทธรณ์ได้ แม้ยื่นเกินกำหนด
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 ซึ่งตามกฎหมายถือว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว แต่ทนายจำเลยมิได้รอฟังคำสั่ง และได้มาขอทราบคำสั่ง ซึ่งตามทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นการแจ้งคำสั่งให้คู่ความที่มาขอทราบคำสั่งทำโดยวิธีเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศาลลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ผิดเป็นว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเจ้าหน้าที่ศาลอีกคนหนึ่งแจ้งข้อมูลที่ผิดดังกล่าว โดยเขียนข้อความว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 ในใบมอบฉันทะด้วย เช่นนี้แม้ทนายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 2 วัน ก็น่าเชื่อว่าทนายจำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเนื่องจากวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 เป็นวันหยุดราชการ ทนายจำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 ครบกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ร่วมจะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพื่อไปดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โจทก์ร่วมได้ยื่นอุทธรณ์ซึ่งอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 อันเป็นระยะเวลาภายในกำหนดที่ขอขยาย การที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า เหตุการณ์ตามคำร้องของโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม เป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในกรณีพิเศษ: ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาต และคำสั่งศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความ
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์ร่วม เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าเหตุการณ์ตามคำร้องดังกล่าวมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาที่ในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับไว้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีในการขยายเวลาฟ้องคดี และการหักค่าใช้จ่ายทางภาษีตามหลักเกณฑ์สิทธิ
ระยะเวลา 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าคำร้องของโจทก์ที่ขอขยายระยะเวลามีพฤติการณ์พิเศษ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจที่จะอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องจำเลยออกไปได้
โจทก์สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1220 เมื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนแล้ว โจทก์ยังอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเพิ่มทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1228 ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนเป็นวันที่โจทก์เพิ่มทุนและรับชำระเต็มมูลค่าหุ้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยมิได้หักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินไม่ชอบ ไม่นำค่าใช้จ่ายมารวมเป็นต้นทุนขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ส่งหลักฐานรายจ่ายในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่างมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารนั้น จึงเชื่อได้ว่าเอกสารดังกล่าวแสดงรายจ่ายอันแท้จริงของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่นำค่าใช้จ่ายตามรายการดังกล่าวไปหักให้ย่อมเป็นการไม่ชอบ การประเมินภาษีเงินได้และคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำร้องขยายเวลาไม่ชอบ และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายกำหนดยื่นฎีกา โดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยแต่ละคน จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามที่ขอก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ขยายกำหนดยื่นฎีกาตามคำร้อง เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาล่วงเลยกำหนดยื่นฎีกาแล้วก็ไม่มีผลย้อนไปทำให้คำร้องขอขยายกำหนดยื่นฎีกาที่ไม่ชอบดังกล่าว ให้เป็นคำร้องที่ชอบ
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีการแก้ไขกฎหมายบทความผิดและบทกำหนดโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพียงแต่ปรับใช้บทกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 และแก้ไขโทษให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายใหม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองแต่ละคนไม่เกินกระทงละห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาโดยมิได้ร้องขอหรือดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาได้ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันที่คำสั่งศาลผิดพลาด ผลต่อการยื่นอุทธรณ์ และการขาดอำนาจพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยลงวันที่ก่อนวันที่จำเลยยื่นคำร้อง 1 วัน เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นลงวันที่ผิดพลาด เพราะเป็นไปไม่ได้ว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งก่อนวันที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นคำร้องนั้นเอง เมื่อมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า จำเลยรอฟังอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พร้อมลงลายมือชื่อทนายจำเลย ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์, การวางค่าขึ้นศาลเกิน, ศาลชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวางเงินครบถ้วน
แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากทุนทรัพย์ 235,350 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ 412,500 บาท โจทก์ที่ 1 ทยอยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย ซึ่งเป็นการวางเงินเกินกว่าที่ต้องเสียเป็นเงิน 1,115 บาท แต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ จึงได้ขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ ตั้งแต่วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากที่โจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วน การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างเหตุรวบรวมเอกสารไม่เพียงพอ
การที่จำเลยอ้างว่ากำลังรวบรวมเอกสารอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะมีเอกสารจำนวนมากนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่าครบระยะเวลายื่นฎีกาวันที่ 29 ธันวาคม 2544 จำเลยยื่นคำแถลงขอให้เร่งรัดการคัดถ่ายสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544 ศาลมีคำสั่งในคำแถลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ให้จำเลยรับเอกสารที่ขอถ่ายสำเนาได้ตามขอ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาลได้ถ่ายเอกสารแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2544 ดังนั้น หากจำเลยขวนขวายที่จะดำเนินการจำเลยย่อมมีเวลาอีกกว่า 20 วัน เพียงพอที่จะเรียบเรียงราวในการยื่นฎีกาได้ ทั้งคดีนี้ก็มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายหรือยุ่งยากซับซ้อนจนไม่อาจรวบรวมหรือทำคำฟ้องฎีกามายื่นได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้
of 70