คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: คำร้องของจำเลยเฉพาะราย ไม่ถือเป็นคำร้องแทนกันทั้งหมด
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องและลงชื่อท้ายคำร้องเพียงผู้เดียวเท่านั้น คำร้องดังกล่าวจึงเป็นคำร้องของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ จะแปลความว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วยหาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าใจผิดคิดว่าการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หมายถึงจำเลยทุกคนนั้น ก็มิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และเหตุที่อ้างก็มิใช่เหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 กรณีจึงไม่มีเหตุจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนทนายและผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การไม่ยื่นอุทธรณ์ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 3 ในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ก่อนยื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอน ร. ออกจากการเป็นทนายความของตนและขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ร. จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ต่อมา ร. ยื่นอุทธรณ์ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 3 โดยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ ซึ่งเป็นการเรียงและยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 3 และทนายความคนใหม่มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลขยายให้ ส่วนโจทก์ยื่นอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นให้ส่งสำนวนส่วนของจำเลยที่ 3 ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง จึงชอบแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิยื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียมศาล: พฤติการณ์พิเศษต้องมีเหตุผลที่สมควรและนอกเหนือจากความยากลำบากทางการเงินทั่วไป
การที่จำเลยอ้างว่า เงินค่าธรรมเนียมศาลมีจำนวนสูงมาก ไม่สามารถหาเงินได้ทันได้ติดต่อขอกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นไว้แล้ว แต่มีเหตุขัดข้องผู้ให้กู้ไม่สามารถนำเงินมาให้แก่จำเลยในขณะนี้ได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'แต่งทนายช้า' ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ คดีของโจทก์ไม่มีข้อยุ่งยาก หากจำเลยหาทนายความและยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ก็อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่จำเลยเพิ่งแต่ทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยเพิ่งแต่งทนายความเพื่อว่าความในชั้นอุทธรณ์ ทนายจำเลยไม่อาจเรียกฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปสามสิบวัน ซึ่งข้ออ้างและเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลาที่ถูกต้องและการยื่นเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำการใหม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 30 วัน จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกในวันที่ 30 สิงหาคม 2543 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วและเมื่อไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นหรือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนกระทั่งจำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ไม่ชอบที่จะรับอุทธรณ์ดังกล่าวไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ หรือเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอได้ทันเวลา
การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เป็นกรณีที่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ให้พึงกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ส่วนข้อความในบทบัญญัติดังกล่าวที่ว่า "เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย" นั้น ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้คู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นและได้มีคำขอภายหลังเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นไปแล้ว ซึ่งกรณีเช่นว่านี้การขอขยายระยะเวลานอกจากจะพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษแล้วยังจะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ยังสามารถนำเงินมาชำระได้ คำร้องดังกล่าวจึงพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นไม่อยู่ในบังคับว่าต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยไปถึงว่าคำร้องของจำเลยที่ 2 มีเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุสุดวิสัย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 นำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย จำเลยที่ 4นำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่ายังติดใจสืบอีกเพียง 1 ปาก ขอเลื่อนคดีไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในวันที่ 19ธันวาคม 2540 เวลา 8.30 นาฬิกา แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลยที่ 4 คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา นับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบแล้วต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 วางหลักไว้ว่า ศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษา และในวันดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นเสร็จการพิจารณาถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษาตั้งแต่วันนั้น จำเลยที่ 4 จึงชอบที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541 หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หากยื่นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4เพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2541 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 4 จะยื่นอุทธรณ์ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 4 เอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 4 อ้างว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็ถึงเดือนมีนาคม2541 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 4 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุผลความล่าช้าที่ไม่เข้าข่ายเหตุสุดวิสัย
วันนัดสืบพยาน จำเลยซึ่งต้องนำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้ายไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ สั่งงดสืบพยานให้คดีเสร็จการพิจารณา รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วในวันนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลา โดยอ้างว่าเพิ่งทราบคำพิพากษาเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาอุทธรณ์ไปแล้ว ถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ส่วนที่อ้างว่าเมื่อทราบแล้วจึงไปติดต่อคัดสำนวนใช้เวลาร่วมเดือนเศษก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ที่จะทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้อง ภายในกำหนดเวลาได้เช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและเหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และ 133 วางหลักไว้ว่าศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณานั่นเอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษาวันนี้ และในวันนั้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดี ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรงโจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แต่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์นำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวเหตุอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้
หมายเหตุ ในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้แก่คู่ความได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534(ประชุมใหญ่) ระหว่าง นายสนิท วัฒนากรในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจรูญวัฒนากร โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย
of 70