พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้รับการยอมรับ
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรง โจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แก่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์จึงนำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่พ้นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวของอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันพ้นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจขยายได้หากมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 26 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้ เมื่อมาตรา 26 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีแรงงานตามมาตรา 54จะต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือมีพฤติการณ์พิเศษ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่อาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำให้การพยานเพื่อประกอบในการเขียนอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษ-การไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา-การไต่สวน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาอุทธรณ์และโต้แย้งในคำฟ้องฎีกาว่า นับแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาโจทก์ติดต่อขอคัดสำเนาคำพิพากษามาตลอดแต่ไม่สามารถคัดได้โดยเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนยังไม่มาโจทก์เพิ่งได้รับก่อนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เพียง 3 วันเท่านั้น ซึ่งหากทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นเป็นความจริงตามที่โจทก์อ้างในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และในคำฟ้องฎีกาดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้การที่ศาลชั้นต้นเพียงพิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วมีคำสั่งว่าตามคำร้องไม่มีพฤติการณ์พิเศษโดยมิได้ทำการไต่สวนจึงเป็นการด่วนวินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1),247 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงจากทุนทรัพย์ต่ำกว่า 200,000 บาท และการขยายเวลาอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, การขออนุญาตยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ต่อเมื่อโจทก์มีคำขอ แต่การที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) แล้วผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ก็เป็นผลทำให้ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เหตุนี้การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การต่อเมื่อโจทก์มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งนั้นหากโจทก์ไม่มีคำขอดังกล่าว แต่การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การเพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) ผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดก็เป็นผลให้ศาลชั้นต้นอาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้ มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด ดังนั้น การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน เพราะการที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, ประเด็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว, การรุกล้ำที่ดิน, และการพิจารณาคำฟ้องตามหน้าที่
ศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหากโจทก์ไม่มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเช่นว่านั้น ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) แล้วผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีผลเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาดังว่านั้น ก็เป็นผลทำให้ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกเสียจากสารบบความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด เหตุนี้การขออนุญาตยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 (เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน ข้อเท็จจริงในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่เท่านั้น หากจำเลยทั้งสองมิได้ขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรได้แต่ถ้าการขาดนัดนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม)
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจะถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กรณีนี้เป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่ปรากฏตามคำร้องขอของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น หาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด ไม่ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให็ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว โดยอาจอ้างเหตุที่หลงลืมเพราะจำเลยที่ 2 มีธุระส่วนตัวต้องรีบเดินทางไปประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษ ไปดูแลพี่ชายซึ่งป่วยหนัก และติดต่อหาสถานที่ศึกษาให้แก่บุตรจึงไม่อาจยื่นคำให้การทันภายในกำหนดว่ามีเหตุผลอันสมควรได้ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งนี้อยู่แล้วซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาในใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
แม้ปัญหาตามข้อฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จะมิใช่ประเด็นพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การเช่นคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเอง และถามค้านพยานโจทก์ได้ ตามมาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยทั้งสองได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 / 2545)
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจะถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กรณีนี้เป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่ปรากฏตามคำร้องขอของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น หาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด ไม่ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให็ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว โดยอาจอ้างเหตุที่หลงลืมเพราะจำเลยที่ 2 มีธุระส่วนตัวต้องรีบเดินทางไปประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษ ไปดูแลพี่ชายซึ่งป่วยหนัก และติดต่อหาสถานที่ศึกษาให้แก่บุตรจึงไม่อาจยื่นคำให้การทันภายในกำหนดว่ามีเหตุผลอันสมควรได้ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งนี้อยู่แล้วซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาในใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
แม้ปัญหาตามข้อฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จะมิใช่ประเด็นพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การเช่นคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเอง และถามค้านพยานโจทก์ได้ ตามมาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยทั้งสองได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 / 2545)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาไว้ล่วงหน้าวันก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และเพิ่งมาทราบผลคำพิพากษาโดยย่อหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 1 เดือน ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่อ้างเพื่อขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้เท่านั้น แต่มิใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แม้ฎีกาของจำเลยจะเป็นสาระแก่คดีแต่ก็ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม แม้โจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ศาลควรพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นให้นัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์วันเดียวกัน ครั้นถึงวันนัดฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยจนเสร็จ และถือว่าโจทก์ที่ไม่มาศาลไม่ติดใจสืบพยาน และมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงบ่ายโจทก์ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์เนื่องจากจดเวลานัดผิดพลาด ซึ่งขณะนั้นศาลชั้นต้นก็ยังมิได้พิพากษา ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์ได้มาศาลก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาคำร้องของโจทก์ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า คดีต้องมีการสืบพยานจำเลยรวม 13 นัด โดยสืบพยานในช่วงเช้า 4 นัด และช่วงบ่าย 9 นัด แต่สืบพยานจำเลยได้เพียง 4 นัด นอกจากนี้อีก 9 นัด ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเอง 1 นัด และฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดี 8 นัด ซึ่งทุกนัดฝ่ายโจทก์มาศาล แสดงว่าฝ่ายโจทก์เอาใจใส่คดีมาตลอด การที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์ในช่วงเช้า แต่ไปศาลในช่วงบ่าย จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าทนายความโจทก์จดเวลานัดผิดพลาดจริง ชอบที่จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม