พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจ พิจารณาจากเหตุพิเศษ การอนุญาตขยายบางส่วนไม่ถือเป็นเหตุอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลา แม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอไป 2 วัน ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและข้อจำกัดในการขอขยายซ้ำ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอ ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฟ้องเครื่องหมายการค้าเกินเวลาทำการ ศาลต้องรับฟ้องได้หากมีสิทธิฟ้องคดีอยู่
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ และไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันใดวันหนึ่งหลังวันที่ 12 กันยายน 2544 โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลขยายระยะเวลาในการยื่นคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: กรอบเวลาการยื่นคำร้องต่อศาล และผลของการไม่ยื่นภายในกำหนด
ผู้ทำแผนจัดให้เจ้าหนี้อยู่ทั้งกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มที่ 3 โดยแบ่งเป็นหนี้ที่มีประกัน 7,025,000 บาท และเป็นหนี้ที่ไม่มีประกัน 10,862,024.74 บาท แต่เจ้าหนี้เห็นว่าผู้ทำแผนควรจัดให้เจ้าหนี้อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันเพียงกลุ่มเดียว จึงไม่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 และยื่นคำคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2544 โดยคัดค้านว่า เจ้าหนี้ไม่ยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้เพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิดังนี้ คำคัดค้านของเจ้าหนี้จึงเป็นการยื่นคำร้องขอต่อล้มละลายกลางเพื่อให้มีคำสั่งจัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้พร้อมแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับลงวันที่ 4 มกราคม 2544 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้แล้ว การที่เจ้าหนี้ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการย่อมแสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการจัดกลุ่มตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว หากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะคัดค้านเพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ก็ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็อาจขอขยายเวลาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอต่อศาลในวันที่ 22 มกราคม 2544 จึงพ้นกำหนดเวลาที่อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
ศาลล้มละลายกลางมิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเป็นการไม่ชอบด้วยข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542ข้อ 24
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้พร้อมแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับลงวันที่ 4 มกราคม 2544 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้แล้ว การที่เจ้าหนี้ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการย่อมแสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการจัดกลุ่มตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว หากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะคัดค้านเพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ก็ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็อาจขอขยายเวลาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอต่อศาลในวันที่ 22 มกราคม 2544 จึงพ้นกำหนดเวลาที่อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
ศาลล้มละลายกลางมิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเป็นการไม่ชอบด้วยข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542ข้อ 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีบริษัทมหาชนดำเนินการตามมติที่ประชุม และเกิดเหตุสุดวิสัยในการค้นหาสำนวน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 20 วัน เนื่องจากที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่กระชั้นชิดไม่สามารถทำอุทธรณ์ได้ทัน นับว่ามีเหตุอันสมควรและเป็นพฤติการณ์พิเศษเพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) การดำเนินการใด ๆในเรื่องสำคัญย่อมต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งอาจไม่คล่องตัวหรือต้องล่าช้าไปบ้าง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับแรกก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2 วัน และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่สองโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนหาสำนวนไม่พบ โจทก์จึงยังไม่ทราบคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและยังมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์เอาใจใส่และติดตามคดีของตนตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลเพราะหาสำนวนไม่พบ โจทก์ก็ดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่งทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามกฎหมายและการพิจารณาวันหยุดทำการ
คดีครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม 2541 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์และศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ จึงต้องนับต่อจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่ 5 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6 , 7 และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่ เพราะวันเวลาดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์หลังขยายเวลา: ศาลพิพากษายกคำสั่งรับอุทธรณ์เมื่อยื่นเกินกำหนด
ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 5 ธันวาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงต้องนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่5 โดยเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6,7และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่เพราะวันดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 เมื่อเริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ที่ขอขยายครั้งแรกคือวันที่ 6 ธันวาคม 2541 จะครบกำหนด 20 วัน ในวันที่ 25 ธันวาคม2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ 10วัน นับถัดจากวันครบกำหนดที่อนุญาตครั้งแรก การนับระยะเวลาที่ขยายออกไปในครั้งหลังจึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 4 มกราคม 2542 จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มกราคม 2542 จึงเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายให้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความเจ็บป่วยของทนายความมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจำเลยสามารถดำเนินการได้เอง
คำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายถึง เหตุซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ แม้ทนายจำเลยที่ 1 เจ็บป่วยกะทันหัน แต่ยังมีจำเลยที่ 1 ที่สามารถยื่นคำร้อง ขอขยายระยะเวลาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยกับการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การจัดการระมัดระวังและการพิสูจน์เหตุจำเป็น
จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2544 จำเลยจึงมีเวลาถึง 16 วัน ที่จะติดต่อกับทนายความเพื่อทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลก่อนครบกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยติดตามหาทนายความของจำเลยไม่พบ จำเลยก็ควรติดต่อทนายความคนใหม่เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อทนายความคนใหม่จะได้มีเวลายื่นอุทธรณ์ได้ทันภายในกำหนด การที่จำเลยเพิ่งจะไปติดต่อทนายความคนใหม่เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544 อันเป็นวันสุดท้ายของกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้จัดการระมัดระวังตามสมควรเช่นบุคคลซึ่งอยู่ในฐานะและสภาวะเช่นนั้นพึงกระทำเพื่อป้องกันมิให้จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนด การที่รถจักรยานยนต์ที่จำเลยนั่งมาประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถไปพบกับทนายความคนใหม่ และไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นเวลาราชการในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ได้ จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยอันเป็นเหตุให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายหลังที่สิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปแล้วได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์และการชำระค่าธรรมเนียมศาล ส่งผลให้คดีถึงที่สุด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยทั้งสองไปแล้วทางแก้คือจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์และนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดระยะเวลา คดีย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยทั้งสองไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ได้อีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยเรื่องการขอขยายระยะเวลาให้จึงเป็นการไม่ชอบ