คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุผลด้านการเงินและการเตรียมการไม่เพียงพอ
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง 200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับฟังเหตุขยายเวลายื่นฎีกา แม้มีปัญหาทางการเงิน เพราะมีเวลาเตรียมการเพียงพอ
จำเลยทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2542 ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นเพราะความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินจำเลยที่ 1 ย่อมคาดหมายได้ว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งไม่อนุญาตก็ได้ จำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องแสดงความประมาทเลล่าของตนเอง มิใช่ความล่าช้าของศาล
จำเลยปล่อยเวลาล่วงเลยไปถึง 25 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วจึงไปขอถ่ายสำเนาคำพิพากษา แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เวลา 15.35 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปตามระบบงานที่เป็นอยู่ แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในแต่ละวันมีคู่ความหรือประชาชนไปติดต่อกับเจ้าพนักงานศาลเป็นจำนวนมากไม่ได้มีเฉพาะจำเลยเพียงคนเดียว ซึ่งทนายจำเลยก็น่าจะรู้ดี ฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลนำคำร้องดังกล่าวเสนอต่อศาลและศาลมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดระบุว่าศาลต้องมีคำสั่งคำร้องในวันที่คู่ความยื่นคำร้องแต่อย่างใดด้วยสาเหตุที่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์มาจากจำเลยและทนายจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ได้เอาใจใส่รีบยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารเสียแต่เนิ่น และเมื่อยื่นแล้วก็ไม่ได้เอาใจใส่ประการใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันถัดจากวันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9714/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลพิจารณาความเหมาะสมตามระยะเวลาที่ได้รับและเหตุผลประกอบ
นับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ และขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น รวมเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ นับว่าจำเลยมีเวลาเตรียมเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนานเพียงพอแล้ว ตามคำร้องของจำเลยก็ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ กรณียังไม่อาจถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาวางเงินตามคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9140/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุผลความประมาทเลินเล่อและเจ็บป่วยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 คำสั่งศาลชั้นต้นได้เขียน วันที่ไว้ชัดเจนแล้ว การที่ทนายจำเลยไม่มาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และการที่ทนายจำเลยเจ็บป่วยเป็นลมหน้ามืดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นอุทธรณ์ ก็ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยเพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2544 ทนายจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ย่อมมีเวลาพอที่จะทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ทันตามกำหนดเวลา แม้ทนายจำเลยป่วยจำเลยก็สามารถตั้งทนายความคนใหม่เรียงอุทธรณ์ให้ได้ กรณีจึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตาม คำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งนี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องคำนวณตามปีปฏิทิน หากไม่มีวันตรงกันให้ถือวันสุดท้ายของเดือน
กำหนดระยะเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ต้องคำนวณตามปีปฏิทิน และถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ฟังเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 และเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีเพียง 28 วัน จำเลยที่ 3 ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 หากจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ทัน จำเลยที่ 3 ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปได้ เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 โดยไม่มีเหตุสุดวิสัย จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตให้ขยายเวลาแล้ว การยื่นหลังกำหนดถือเป็นเหตุไม่รับอุทธรณ์
วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ และยังมีข้อความอีกว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้เช่นกัน ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้น หากแต่ได้มีคำสั่งในวันที่ 13 มีนาคมก็ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ว่าอย่างไร เพราะสำนวนความเสนอศาลอยู่และยังคัดถ่ายสำเนาคำสั่งศาลไม่ได้ก็มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ถึงวันที่ 22 มีนาคม การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในวันที่ 23 มีนาคม จึงเกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายไว้ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7066/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องมีจริง ผู้ถูกกล่าวหาต้องขวนขวายติดตามคดีด้วยตนเอง
ที่จำเลยอ้างว่า ได้มอบคดีและค่าทนายความให้ อ.ทนายความดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้แล้ว แต่ อ.มิได้ ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้านคดี แต่จำเลยจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีวุฒิภาวะพอที่จะเข้าใจได้ว่าผลของการคำพิพากษากระทบต่อเสรีภาพของตน จำเลยน่าจะต้องขวนขวายติดตามคดีเพื่อรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนแต่กลับมิได้ใส่ใจหรือขวนขวาย ทั้งข้ออ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้านคดีความ ก็มิใช่เหตุที่ยกขึ้นอ้างได้ และการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดก็เป็นข้อผิดพลาดบกพร่องของทนายความ มิใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตามกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงิน ค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด 20 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาล ที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้ว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว มิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุดอยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อน จึงไม่ถูกต้อง
of 70