คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียม และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
คำร้องของจำเลยขอให้กำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ เป็นเรื่องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของจำเลย หากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินก็จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงิน จำเลยชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, การพิจารณาใหม่, ขยายระยะเวลาอุทธรณ์, และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีของโจทก์เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 แต่โจทก์ได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งศาลล่างที่ไม่ขยายเวลาให้โจทก์เนื่องจากเหตุพิเศษ
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีของโจทก์เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่โจทก์ได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายหากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย กรณีเหตุพิเศษและคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีอันเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5), 246
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า ลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลย ล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่ คำสั่งในระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารรวมทั้งคำเบิกความพยาน เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขออุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ชอบที่จะรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อแทนจำเลยในการอุทธรณ์/ฎีกา และเหตุขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท. เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท. จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อยื่นอุทธรณ์/ฎีกาแทนโจทก์ร่วม และการขยายระยะเวลา
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท.เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท.จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และการขยายระยะเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วัน เพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการดำเนินการตามมาตรา 221 หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลจะไม่รับฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งหากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามเงื่อนไขในมาตรา 221จำเลยก็ต้องดำเนินการใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลย ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิ่มเติมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาศาลชั้นต้นกำหนดว่าประสงค์จะให้ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดก็ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาเท่ากับเป็นการมีคำสั่งขยายระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งคำสั่งเช่นนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ในเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 จนล่วงพ้นกำหนดยื่นฎีกาและกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การดำเนินการตามมาตรา 221 และผลของการไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนด
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามเงื่อนไขในมาตรา 221 จำเลยก็ต้องดำเนินการใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลย ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิ่มเติมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาศาลชั้นต้นกำหนด ว่าประสงค์จะให้ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดก็ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา เท่ากับเป็นการมีคำสั่งขยายระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งคำสั่งเช่นนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ในเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 จนล่วงพ้นกำหนดยื่นฎีกาและกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 70