พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว โดยอ้างเหตุผลว่าเพิ่งจะขอยืมเงินจากผู้อื่นได้ เมื่อพ้นเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด
โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้นำเงินค่าขึ้นศาลที่จะต้องชำระเพิ่มไปมอบให้แก่ทนายโจทก์ ทนายโจทก์ยืนยันว่าจะนำไปชำระต่อศาลภายในกำหนด แต่ทนายโจทก์กลับฉ้อฉลไม่นำเงินดังกล่าวไปชำระต่อศาลชั้นต้นโดยโจทก์ไม่ทราบข้ออ้างของโจทก์ แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับทนายโจทก์ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันในลักษณะของตัวการตัวแทน การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลของทนายโจทก์ย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะตัวการ หากมีข้อผิดพลาดประการใดชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวแก่ทนายโจทก์กันเอง กรณีหาเป็นเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่อาจขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เมื่อโจทก์ไม่วางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในกำหนด ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามดุลพินิจ และต้องมีพฤติการณ์พิเศษ
ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21(4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน เนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายและศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกัน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน เนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายและศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกัน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายเวลาโดยไม่ต้องไต่สวน เหตุผลไม่พิเศษไม่อนุญาตได้
ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 (4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายเวลาวางเงินของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่20 ตุลาคม 2540 ของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาวันเดียวกันก็เพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ อันเป็นเงื่อนไขที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินให้แก่โจทก์นั่นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 253 วรรคสาม โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องและคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 บัญญัติว่า การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ว่าตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้งครั้งสุดท้ายที่ติดต่อกันตัวโจทก์แจ้งว่ายังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป หากแต่เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้ออ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 บัญญัติว่า การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ว่าตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้งครั้งสุดท้ายที่ติดต่อกันตัวโจทก์แจ้งว่ายังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป หากแต่เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้ออ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาดอยู่ในอำนาจศาล ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาเอง
ในคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ นอกจาก อ. และ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เขียนเกษียนสั่งแล้ว ยังปรากฏว่า ส. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีได้ลงลายมือชื่อรับทราบพร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงว่าอธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของ อ. และ ก. แล้ว คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน2540 จึงสมบูรณ์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่มีคำสั่งว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำและประกาศขายทอดตลาดใหม่จึงชอบแล้ว
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาได้ ต้องเป็นอำนาจศาล
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายฎีกา: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ขอขยายเวลาแล้ว ศาลไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไป ก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือ เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาต จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องนับต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม ไม่ใช่วันที่ยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย