พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีโทษหนัก
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2554 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับอุทธรณ์จำเลย และส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เพราะเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยและพิพากษาให้ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ข้อที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13854/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่าเช่าที่ดินโรงเรียนเอกชน และการคืนค่าขึ้นศาล
จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 709,532.42 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยปรับลดลง 1,704,192.58 บาท คำชี้ขาดจึงเป็นไปตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์บางส่วนแล้ว แต่สำหรับในส่วนที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดเห็นด้วยกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นั้น หากโจทก์ไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลได้ เมื่อในส่วนที่จำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้มีคำชี้ขาดแล้วว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามการประเมินของจำเลยที่ 1 เพราะฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำชี้ขาดในส่วนนี้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการขอขยายระยะเวลาไว้ว่าให้คู่ความขอขยายระยะเวลาได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โดยให้มีคำขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยก็ให้ขอได้แม้สิ้นระยะเวลานั้น สำหรับกรณีของจำเลย การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในกำหนด แต่กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลือกที่จะใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในทางอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น และเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โอกาสจำเลยแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในกำหนด การที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนโดยเห็นพ้องตามคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วจำเลยจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่แล้วนั้นไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่จำเลยได้ เพราะไม่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ตามกฎหมายของจำเลยต้องสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไประหว่างอุทธรณ์ไม่นับหักจากระยะเวลาตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะสะดุดหยุดลงได้ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ดังที่จำเลยอ้าง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตฎีกา และหน้าที่ทนายจำเลยในการดำเนินการขอรับรองฎีกาต่ออัยการสูงสุด
คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกามีตรายางประทับข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งทุก 7 วัน ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว โดยทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว ทั้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นคำสั่งของผู้พิพากษา ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบอีก และข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นเรื่องขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ขยายให้ฎีกาแต่อย่างใดไม่ การที่ทนายจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาฎีกา ย่อมเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15518/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำคู่ความทางโทรสารต้องเป็นไปตามประกาศศาล และเหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจดำเนินการได้ก่อนสิ้นระยะเวลา
การส่งคำคู่ความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลทางโทรสารตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2550 จะกระทำได้ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีความพร้อมที่จะรับคำคู่ความที่ส่งโดยทางโทรสาร และได้ออกประกาศแจ้งหมายเลขโทรสารของศาลชั้นต้นให้ทราบทั่วกัน มิใช่ว่าเมื่อข้อบังคับของประธานศาลฎีกาใช้บังคับแล้ว คู่ความจะส่งคำคู่ความไปยังหมายเลขโทรสารของศาลชั้นต้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ดำเนินการออกประกาศดังกล่าว จึงยังไม่อาจนำเรื่องการส่งคำคู่ความทางโทรสารมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
เมื่อโจทก์นำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลชั้นต้นหลังจากสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วโจทก์จะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าขอคัดถ่ายคำพิพากษาแต่ได้รับแจ้งว่ายังอยู่ที่งานหน้าบัลลังก์นั้น เมื่อตรวจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เมื่อนับจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเกินกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจากจำเลยได้อีกต่อไป โจทก์ย่อมสามารถคัดลอกผลตามคำพิพากษาดังกล่าวไปจัดทำอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องรอการคัดถ่ายอีก กรณีจึงเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัย
เมื่อโจทก์นำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลชั้นต้นหลังจากสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วโจทก์จะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าขอคัดถ่ายคำพิพากษาแต่ได้รับแจ้งว่ายังอยู่ที่งานหน้าบัลลังก์นั้น เมื่อตรวจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เมื่อนับจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเกินกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจากจำเลยได้อีกต่อไป โจทก์ย่อมสามารถคัดลอกผลตามคำพิพากษาดังกล่าวไปจัดทำอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องรอการคัดถ่ายอีก กรณีจึงเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14980/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ล่าช้า: ความผิดพลาดของทนายไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เช่นนี้จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเหตุที่ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดระยะเวลาว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับประทานยาแก้ไข้หวัดทำให้ง่วงซึมและจำวันที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คลาดเคลื่อนไป โดยสำคัญผิดว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 นั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 เอง ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 24 กันยายน 2550 ตามที่ขอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำอุทธรณ์เสร็จและนำมายื่นต่อศาลชั้นต้นภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 แล้ว กรณีพอฟังได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขัดต่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2550 และขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพราะการสำคัญผิดในเรื่องวันเวลานัดศาลของคู่ความย่อมไม่เป็นเหตุสุดวิสัย อันเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วพิพากษายืน และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาล้วนเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 24 กันยายน 2550 ตามที่ขอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำอุทธรณ์เสร็จและนำมายื่นต่อศาลชั้นต้นภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 แล้ว กรณีพอฟังได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขัดต่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2550 และขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพราะการสำคัญผิดในเรื่องวันเวลานัดศาลของคู่ความย่อมไม่เป็นเหตุสุดวิสัย อันเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วพิพากษายืน และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาล้วนเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13930/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินต้นทุนซื้อทอง, การลดเบี้ยปรับ, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี แม้ไม่เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลย่อมมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
บันทึกคำให้การที่โจทก์ขอคัดถ่ายสำเนาปรากฏรายละเอียดและเหตุผลในการตรวจสอบ รวมทั้งข้อมูลที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมิน ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าเหตุผลแห่งการประเมินเป็นที่รู้กันอยู่แล้วแก่โจทก์ จึงไม่จำต้องระบุในหนังสือแจ้งการประเมินถึงรายละเอียดและเหตุผลอีก ต้องด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รับซื้อทองคำเก่าโดยใช้ราคาตลาดโลก แต่โจทก์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของราคาตลาดโลกตามที่โจทก์อ้างซึ่งมีหลายราคา ทั้งโจทก์ไม่สามารถนำสืบอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้อ้างอิงในการรับซื้อ ตลอดจนไม่สามารถชี้แจงถึงค่าความเสี่ยงที่โจทก์อ้างคืออะไร และเป็นจำนวนเท่าใด การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ราคาประกาศของสมาคมค้าทองคำในการคำนวณต้นทุนจึงมีเหตุผลและเป็นธรรม
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 27 ทวิ ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดได้เองในกรณีมีเหตุสมควรอีกด้วย
บันทึกคำให้การที่โจทก์ขอคัดถ่ายสำเนาปรากฏรายละเอียดและเหตุผลในการตรวจสอบ รวมทั้งข้อมูลที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมิน ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าเหตุผลแห่งการประเมินเป็นที่รู้กันอยู่แล้วแก่โจทก์ จึงไม่จำต้องระบุในหนังสือแจ้งการประเมินถึงรายละเอียดและเหตุผลอีก ต้องด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รับซื้อทองคำเก่าโดยใช้ราคาตลาดโลก แต่โจทก์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของราคาตลาดโลกตามที่โจทก์อ้างซึ่งมีหลายราคา ทั้งโจทก์ไม่สามารถนำสืบอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้อ้างอิงในการรับซื้อ ตลอดจนไม่สามารถชี้แจงถึงค่าความเสี่ยงที่โจทก์อ้างคืออะไร และเป็นจำนวนเท่าใด การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ราคาประกาศของสมาคมค้าทองคำในการคำนวณต้นทุนจึงมีเหตุผลและเป็นธรรม
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 27 ทวิ ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดได้เองในกรณีมีเหตุสมควรอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12993/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์เนื่องจากคำพิพากษาไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกามีคำสั่งให้ขยายเวลาได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพิ่งส่งคำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนไปให้ศาลจังหวัดฝางหลังจากวันที่ศาลจังหวัดฝางอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแทน แสดงว่าในวันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ห้านั้น ศาลจังหวัดฝางยังไม่มีคำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนรวมอยู่ในสำนวนความที่ศาลจังหวัดฝาง อันจะทำให้คู่ความขอคัดถ่ายสำเนาได้ คำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้โอกาสแก่ผู้อุทธรณ์ได้ตรวจดูข้อความทั้งหมดเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นการเรียงคำฟ้องอุทธรณ์อาจมีข้อบกพร่องไม่ครบถ้วนตามกฎหมายได้ ดังนั้น ขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ห้านั้น ถือได้ว่ามีข้อขัดข้องทางฝ่ายศาลอันเป็นเรื่องอยู่นอกเหนือการบังคับของโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10399/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ทอดตลาด: สัญญาผูกพัน, เหตุสุดวิสัย, เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจำกัด
ตามสัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ร้อง ข้อ 2.3 กำหนดว่า ผู้ร้องจะนำเงินค่าซื้อทรัพย์ที่ค้างชำระมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ร้องไม่สามารถชำระเงินส่วนที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยระบุเหตุผลและความจำเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้อีกตามที่เห็นสมควรทั้งนี้ไม่เกิน 3 เดือน และไม่ว่ากรณีใดๆ จะไม่มีการขยายระยะเวลาวางเงินให้อีก แสดงว่าหากผู้ร้องไม่สามารถชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน ผู้ร้องสามารถขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้ได้ไม่เกิน 3 เดือน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไป 3 เดือน แล้วตามสัญญา เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจจะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปได้อีก จึงเป็นคำสั่งที่เป็นไปตามสัญญาซื้อขายและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์โดยยื่นคำร้องเมื่อเลยกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์มีราคาสูง ผู้ร้องอยู่ระหว่างขอสินเชื่อธนาคาร จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ได้
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์โดยยื่นคำร้องเมื่อเลยกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์มีราคาสูง ผู้ร้องอยู่ระหว่างขอสินเชื่อธนาคาร จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10279/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้เกิดจากความผิดพลาดของทนาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 อ้างว่าทนายจำเลยหลงผิดว่าได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลก่อนวันที่ 30 กันยายน 2552 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ และเข้าใจผิดว่าวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2552 คำร้องดังกล่าวนั้นมิใช่เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย จึงเป็นดุลพินิจที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยและอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว