พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8904/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด และการฟ้องร้องที่ไม่ชัดเจนในประเด็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วด้วยเหตุผลว่า ป. โจทก์ร่วมคนเดิมป่วยและถึงแก่ความตายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นการสั่งรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยซ้ำ
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและการมีสำนวนค้างจำนวนมาก
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัด ศาลสั่งปรับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับ ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีสิบปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ในขณะที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการบังคับคดี ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 34 โดยให้เพิ่มเติมความเป็นวรรคสองของมาตรา 119 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 กำหนดให้อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนับแต่วันดังกล่าว เมื่อปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องต้องตรวจสอบสำนวนที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีทั้งหมด และปรากฏว่ามีสำนวนที่ค้างการพิจารณาที่กรมบังคับคดีจำนวนมาก ประกอบกับคดีนี้ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 2 เดือนเศษ นับแต่ผู้ร้องมีอำนาจและหน้าที่ในการบังคับคดี แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีเมื่อสิ้นระยะเวลาบังคับคดีแล้วเป็นเวลานาน 4 ปีเศษ ก็เป็นเพราะมีสำนวนค้างการบังคับคดีเป็นจำนวนมาก ผู้ร้องจึงไม่อาจตรวจสอบได้ด้วยความรวดเร็ว ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประกอบกับเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาบังคับคดีประกัน: ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุพิเศษได้ แม้มีข้อจำกัดทางกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาล ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดี เนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้จะครบกำหนดแล้ว รายงานดังกล่าวถือว่าเป็นเพียงรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ศาลที่เสนอต่อศาลว่า คดีนี้ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ภายในสำนวนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่จะปรากฏให้เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องขยายระยะเวลาการบังคับคดีออกไป หากมีข้อเท็จจริงที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นก็สามารถอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปได้ ไม่จำเป็นต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย การไม่มาฟังคำพิพากษาและไม่ตรวจสอบสำนวนถือเป็นความบกพร่องของผู้ร้อง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
การที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วไม่มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเหตุตามคำร้องถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์ร่วมที่ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาไปได้และถือว่าโจทก์ร่วมได้ฟังคำพิพากษานั้นแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม และที่ทนายโจทก์ร่วมสอบถามผลคดีจากเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นโดยไม่ตรวจผลคดีจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยตนเอง เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วม กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์ร่วมจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้
การที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วไม่มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเหตุตามคำร้องถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์ร่วมที่ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาไปได้และถือว่าโจทก์ร่วมได้ฟังคำพิพากษานั้นแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม และที่ทนายโจทก์ร่วมสอบถามผลคดีจากเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นโดยไม่ตรวจผลคดีจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยตนเอง เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วม กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์ร่วมจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การใช้ดุลพินิจของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการครั้งแรกต่อศาลแพ่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง และเป็นการยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แล้ว ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดอีกครั้งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งยังไม่ล่วงเลยระยะเวลา 3 ปี ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แต่ล่วงเลยระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 40 วรรคสอง ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขออีกครั้งเพราะเหตุที่การยื่นครั้งแรกมีข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจศาลถือว่าข้อบกพร่องในการยื่นคำร้องขอแต่แรกต่อศาลหนึ่งแต่ในที่สุดศาลนั้นไม่รับคำร้องขอ เพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นจนต้องยื่นคำร้องขออีกครั้งหนึ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องขอต้องเสื่อมเสียสิทธิ นอกจากนี้กำหนดระยะเวลาเช่นนี้ก็เป็นกำหนดระยะเวลาที่ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ขยายได้ตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ภายหลังศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฉบับแรกเพียง 60 วัน แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องยังประสงค์จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาตามคำร้องขอของผู้ร้องอยู่ และจำเป็นต้องทำคำร้องขอยื่นใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาภายในเวลาพอสมควร อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามความจำเป็นโดยสุจริต จึงมีเหตุสมควรอย่างยิ่งที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จะใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 23 สั่งให้ขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกวันที่ 24 มีนาคม 2552 โดยผ่านทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 โดยไม่ได้มีคำสั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ต่อมาผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล มีหนังสือลงวันที่ 8 เมษายน 2552 ถึงผู้อำนวยการสำนักทัณฑสถานหญิงกลาง ให้แจ้งคำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีหนังสือของผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลางแจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลทราบว่าได้แจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ทราบตั้งแต่เมื่อใด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ได้ กรณีดังกล่าวถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การขยายระยะเวลาของโจทก์มิผูกพันโจทก์ร่วม เหตุผลความบกพร่องของทนายไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
สิทธิในการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพื่อใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 นั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นเรื่องเฉพาะของตัวโจทก์เท่านั้น ไม่มีผลถึงโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามพฤติการณ์พิเศษ แม้ไม่ครบตามที่ขอ
การสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดเพียงใดก็ได้ตามที่ศาลจะเห็นสมควร ทั้งกฎหมายมิได้บังคับว่า ศาลต้องอนุญาตเท่ากับจำนวนวันที่คู่ความร้องขอเสมอไปและไม่จำต้องให้เหตุผลของการอนุญาตหรือไม่อนุญาตอีกด้วย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ซึ่งครบวันที่ 29 ธันวาคม 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายได้ถึงวันที่ 12 มกราคม 2546 เป็นเวลาเพียง 14 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ แม้ไม่ครบ 30 วัน ตามที่โจทก์ขอและศาลชั้นต้นไม่ได้ให้เหตุผลที่อนุญาตไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์ขอไว้ก็ตามแต่ก็เป็นการสั่งภายในขอบเขตและหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 23 ดังกล่าว หาเป็นการขัดหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอย่างใดไม่ แต่เจ้าพนักงานศาลกลับแจ้งแก่โจทก์ว่า ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่โจทก์ขอและนัดโจทก์มารับเอกสารที่ขอคัดถ่ายในวันที่ 14 มกราคม 2546 โจทก์จึงทำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 28 มกราคม 2546 กรณีจึงมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีก 16 วัน ตามที่โจทก์มีคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและดำเนินการภายในกรอบเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ศาลไม่รับวินิจฉัย
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เมื่อคดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ร่วมประสงค์จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมชอบที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ทันที แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด เมื่อใกล้วันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ภายหลังเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่า เพื่อจะดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความบกพร่องของโจทก์ร่วมเอง ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้