พบผลลัพธ์ทั้งหมด 698 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีอาญา: พฤติการณ์พิเศษและการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 โดยอ้างเหตุเดียวกันว่า ขอถ่ายสำเนาคำพิพากษารวมทั้งบรรดาสรรพเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและสั่งสำนวนในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสาร และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพราะเหตุดังกล่าวทั้งสี่ครั้งเป็นเวลานานถึง 5 เดือนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ ครั้งที่ 4 ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2552 ว่า คำพิพากษาจัดพิมพ์เสร็จแล้ว แสดงว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจัดพิมพ์เสร็จก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 แม้โจทก์จะมีระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ก็ตาม แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง หากโจทก์ในฐานะพนักงานอัยการจะไม่ยื่นอุทธรณ์ต้องส่งสำนวนและคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นแย้งให้ส่งสำนวนและความเห็นไปให้อัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 ของโจทก์ที่ว่า เสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา แต่ยังไม่ทราบผลการพิจารณา ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 โดยเพิ่งอ้างเหตุดังกล่าว แสดงว่า เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสารในสำนวนแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับอุทธรณ์คดีนี้ตามกฎหมายทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย การป่วยของผู้ร้องที่ไม่แจ้งก่อนกำหนดไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์เจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยทนายโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ป่วยด้วยโรคไต ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเป็นประจำเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่เหตุที่ทำให้ทนายโจทก์ไม่อาจมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ดังกล่าวได้ ส่วนที่ทนายโจทก์อ้างอีกว่า หากโจทก์ต้องการจะยื่นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จะต้องกระทำด้วยตนเอง จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาดำเนินการดังกล่าว ก็เป็นการคาดคะเนของทนายโจทก์ทั้งสิ้น จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และเหตุผลการขยายที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ระบุให้คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่า ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 มกราคม 2552 ก็เป็นความเข้าใจผิดของจำเลยที่ 1 เอง ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยมิได้กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปกรณีดังกล่าวจึงต้องนับกำหนดระยะเวลาเดิมกับระยะเวลาที่ขยายออกไปติดต่อกันซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สามเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุเพียงว่าประเด็นที่จำเลยที่ 1 จะเสนอต่อศาลอุทธรณ์มีหลายประเด็นซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และการไม่อุทธรณ์เนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์
จำเลยฎีกาว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยพยายามหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่สามารถจะหาเงินดังกล่าวได้ซึ่งหากศาลไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จะทำให้จำเลยเสียสิทธิในการดำเนินคดี เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่เมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13056/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุพิเศษก่อนสิ้นกำหนด มิเช่นนั้นฎีกาไม่รับพิจารณา
การขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องดังกล่าวจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยมิได้ร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และทางศาลแจ้งให้ทนายจำเลยทราบภายหลัง ประกอบกับทนายจำเลยต้องการเวลาในการจัดทำข้อมูลเพื่อให้แพทย์ประจำเรือนจำจังหวัดราชบุรีตรวจสอบว่าจำเลยเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งตัวและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจริงหรือไม่ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดฎีกาได้ คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 ตามคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 16 ตุลาคม 2552 จึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งล่วงเลยกำหนดฎีกาดังกล่าวแล้วจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11712/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขาดอายุ การตรวจสอบวันยื่นฎีกาเป็นหน้าที่ทนาย การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 มีตรายางประทับข้อความว่าถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุกๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยทนายผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาและคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาภายหลังสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย เป็นการไม่ชอบฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะจากอสังหาริมทรัพย์: อำนาจประเมินของเจ้าพนักงานสรรพากรและข้อยกเว้น
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น เมื่อการย่นหรือขยายระยะเวลาได้มีบทบัญญัติมาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่งป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว เห็นว่าจำเลยเป็นกรมในรัฐบาล จำเลยต้องเสนอเอกสารตามลำดับชั้นตามระเบียบราชการไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแก้ต่างคดีให้ ซึ่งจำเลยต้องใช้เวลาในการรวบรวมเอกสารพร้อมสรุปข้อเท็จจริง และพึ่งพยานบุคคลไปชี้แจงข้อเท็จจริงแก่พนักงานเพื่อทำคำให้การแก้คดี เป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่อาจทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ อันเป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นคำให้การและจำเลยก็ได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ย่อมเป็นการยื่นคำให้การโดยชอบ ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่อย่างใด
ตาม มาตรา 91 แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน ดังนั้น การที่จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะต้องมีการประเมินตนเองของผู้มีเงินได้โดยยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี หรือเป็นการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์หรือไม่ยื่นรายการ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี เจ้าพนักงานจึงมีหนังสือเตือนให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าหนังสือเตือนให้ไปยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ย่อมไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาแผนกภาษีอากร จึงไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯลฯ มาตรา 29
เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะฉบับพิพาทมีข้อความ ประเภทการประกอบการ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้าหรือหากำไร ประเภทรายรับ รายรับหรือพึงได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ รวมรายรับทั้งสิ้น อัตราภาษีร้อยละ 3 ภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่น รวมภาษีที่ต้องชำระ ระบุสถานที่ให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ระบุเหตุผลที่ประเมินและการงดเบี้ยปรับ ดังนี้ ถือเป็นกรณีจัดให้มีเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและเหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิงรวมทั้งเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ หนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวจึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 แล้ว
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ให้นิยามคำว่า ขาย หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารให้แก่บริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด ผู้ขายเดิม ไม่ว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์เพราะการเลิกสัญญาและกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หรือการทำนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาลวง เพราะโจทก์กับบริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด มิได้มีเจตนาให้เกิดผลในทางกฎหมายจากนิติกรรมจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารนั้นก็ตาม กรณีก็ต้องด้วยนิยามคำว่า ขาย ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 26 เมษายน 2526 ข้อ 2 แต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่ง ป.รัษฎากรสำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์ขายที่ดิน และประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่ง ป.รัษฎากร เฉพาะกรณีรับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและแบบแสดงรายการของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2 (6) นั้นเป็นเพียงการกระทำในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) พร้อมออกใบเสร็จรับเงินให้เท่านั้น มิใช่กระทำในฐานะเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้น เจ้าพนักงานสรรพากรจึงยังคงเป็นเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีของโจทก์ได้
การที่เทศบาลออกเทศบัญญัติเพื่อเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 มาตรา 12, 14 หรือองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ออกข้อบังคับตำบลเพื่อเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 76 เมื่อที่ดินและอาคารที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ในเขตตามกฎหมายที่เรียกเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นดังกล่าวให้ถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินซึ่งมีอำนาจตาม ป.รัษฎากรย่อมมีอำนาจประเมินภาษีส่วนท้องถิ่นได้ เมื่อกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นแล้วก็จะส่งมอบให้แก่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดสรรตาม พ.ร.บ.รายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2534 ต่อไป
ตาม มาตรา 91 แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน ดังนั้น การที่จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะต้องมีการประเมินตนเองของผู้มีเงินได้โดยยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี หรือเป็นการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์หรือไม่ยื่นรายการ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี เจ้าพนักงานจึงมีหนังสือเตือนให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าหนังสือเตือนให้ไปยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ย่อมไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาแผนกภาษีอากร จึงไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯลฯ มาตรา 29
เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะฉบับพิพาทมีข้อความ ประเภทการประกอบการ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้าหรือหากำไร ประเภทรายรับ รายรับหรือพึงได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ รวมรายรับทั้งสิ้น อัตราภาษีร้อยละ 3 ภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่น รวมภาษีที่ต้องชำระ ระบุสถานที่ให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ระบุเหตุผลที่ประเมินและการงดเบี้ยปรับ ดังนี้ ถือเป็นกรณีจัดให้มีเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและเหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิงรวมทั้งเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ หนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวจึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 แล้ว
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ให้นิยามคำว่า ขาย หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารให้แก่บริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด ผู้ขายเดิม ไม่ว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์เพราะการเลิกสัญญาและกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หรือการทำนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาลวง เพราะโจทก์กับบริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด มิได้มีเจตนาให้เกิดผลในทางกฎหมายจากนิติกรรมจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารนั้นก็ตาม กรณีก็ต้องด้วยนิยามคำว่า ขาย ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 26 เมษายน 2526 ข้อ 2 แต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่ง ป.รัษฎากรสำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์ขายที่ดิน และประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 16 แห่ง ป.รัษฎากร เฉพาะกรณีรับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและแบบแสดงรายการของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2 (6) นั้นเป็นเพียงการกระทำในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) พร้อมออกใบเสร็จรับเงินให้เท่านั้น มิใช่กระทำในฐานะเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้น เจ้าพนักงานสรรพากรจึงยังคงเป็นเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีของโจทก์ได้
การที่เทศบาลออกเทศบัญญัติเพื่อเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 มาตรา 12, 14 หรือองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ออกข้อบังคับตำบลเพื่อเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 76 เมื่อที่ดินและอาคารที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทภูเก็ตโกลเด้นแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ในเขตตามกฎหมายที่เรียกเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นดังกล่าวให้ถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินซึ่งมีอำนาจตาม ป.รัษฎากรย่อมมีอำนาจประเมินภาษีส่วนท้องถิ่นได้ เมื่อกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นแล้วก็จะส่งมอบให้แก่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดสรรตาม พ.ร.บ.รายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2534 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความเจ็บป่วยและเหตุผลอื่นต้องเป็นเหตุที่เกินกว่าจะแก้ไขได้
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบ และด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น ปรากฏว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยจึงไม่มีถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ข้ออ้างของทนายจำเลยมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย
ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบ และด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น ปรากฏว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยจึงไม่มีถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ข้ออ้างของทนายจำเลยมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย อาการป่วยทนายความที่ไม่ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถดำเนินการยื่นคำร้องได้ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยจะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบและด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น แต่ปรากฏว่า วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ทนายจำเลยไปรับยาที่โรงพยาบาล แสดงว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยดังที่กล่าวอ้างจึงไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ทั้งทนายจำเลยยังรับในคำร้องว่าเป็นความพลั้งเผลอของทนายจำเลยจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนด อันนับเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยอีกด้วย ข้ออ้างของทนายจำเลยจึงมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัยตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนฎีกาจำเลยที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยนั้นอันเป็นฎีกาที่ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย แต่ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของทนายจำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยและความพลั้งเผลอของทนายจำเลย มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนฎีกาจำเลยที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยนั้นอันเป็นฎีกาที่ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย แต่ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของทนายจำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยและความพลั้งเผลอของทนายจำเลย มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรข้ามกำหนดระยะเวลา แม้จะยื่นฟ้องผิดศาลก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้รับไว้ และมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้โจทก์ต่อมาโจทก์กลับนำคดีมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยศาลภาษีอากรกลางจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อเกินกำหนดระยะเวลายื่นคำฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลางขยายให้ ซึ่งถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เองและกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ถือเป็นระยะเวลาให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ถือเป็นอายุความ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้ นอกจากนี้แม้ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่การที่โจทก์เข้าใจผิดในข้อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นฟ้องผิดศาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะใช้ดุลพินิจขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง