พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการกำหนดค่าทนายความเกินอัตรา
จำเลยที่ 1 กับ ย. เข้าหุ้นกันซื้อที่ดินแล้วนำมาจัดสรรขาย ในการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวได้เว้นที่ดินพิพาทเป็นถนนซอยสำหรับให้ที่ดินที่อยู่ด้านหลังเป็นทางเข้าออก เพื่อให้เห็นว่าที่ดินที่อยู่ด้านหน้า 9 แปลง กับที่ดินที่อยู่ด้านหลัง 3 แปลง ไม่ติดต่อกันโดยมีที่ดินพิพาทของบุคคลอื่นคั่นอยู่ และให้ ย. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตจัดสรรที่ดินขายต่อทางราชการในที่ดินเกินกว่า 10 แปลงขึ้นไป การตกลงแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ย. จึงหาใช่เจตนาอันแท้จริงของบุคคลทั้งสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเว้นที่ดินพิพาทไว้เพื่อเป็นทางเข้าสู่ถนนสาธารณะสำหรับที่ดินพิพาทที่อยู่ด้านหลังมาตั้งแต่แรก แม้ พ. ผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เพียงแต่ใช้รถยนต์ผ่านที่ดินพิพาทเข้าไป ก็ถือได้ว่าใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกแล้ว และนับแต่ พ. ซื้อที่ดินดังกล่าวถึงวันที่ขายให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 แม้ พ. จะไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิภาระจำยอมก็ตาม
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าทนายความโจทก์เกินไปกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงที่ตาราง 6 กำหนด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาโดยไม่แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าทนายความโจทก์เกินไปกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงที่ตาราง 6 กำหนด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาโดยไม่แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จากการส่งมอบการครอบครองต่อเนื่อง
ป.ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ ช. ด.จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป.ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล.และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของ ป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่าง ป.กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ ป. แสดงว่า ด.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป.แล้ว การครอบครองของ ด.ย่อมสิ้นสุดลง ป.จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 ครั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การโอนสิทธิไม่เป็นหนังสือ แต่มีเจตนาสละการครอบครอง
ป. ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ช.ด. จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป. ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล. และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้นป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่างป. กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ป. แสดงว่า ด. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป. แล้ว การครอบครองของ ด. ย่อมสิ้นสุดลงป. จึงมีสิทธิครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ครั้ง ป. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385 ป. ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป. ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่อง: การนับระยะเวลาจากผู้ขายที่ครอบครองก่อนหน้า
แม้ข. ครอบครองที่ดินโดยมิได้มีการยื้อแย่งจากผู้อื่นหากป. ครอบครัวปรปักษ์ที่ดินพิพาทก่อนขายให้ผู้ร้องผู้ร้องก็สามารถนับระยะเวลาการครอบครองติดต่อกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ระยะเวลาต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิม
แม้ บ.ครอบครองที่ดินโดยมิได้มีการยื้อแย่งจากผู้อื่น หาก ป.ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก่อนขายให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็สามารถนับระยะเวลาการครอบครองติดต่อกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการใช้ทางร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายช่วง
แม้โจทก์ที่1และที่2ซึ่งได้รับโอนที่ดินจากม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า10ปีอันมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจากม.ได้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่1และที่2กับทางสาธารณะก็ตามแต่โจทก์ที่1และที่2นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจากม. ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อพ.ศ.2528ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่1และที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา6ปีเศษและโจทก์ที่3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ศ.2534นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง1ปีเศษดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่1ถึงที่3ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง10ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่ เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่4ถึงที่7ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วครั้นโจทก์ที่4ถึงที่7ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมาแม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ10ปีก็ตามแต่เมื่อนับระยะเวลาที่ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่4ถึงที่7ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ10ปีแล้วที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภารจำยอมในการที่โจทก์ที่4ถึงที่7จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่4ถึงที่7ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง ทั้งเจ้าของเดิมและผู้รับโอน
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับโอนที่ดินจาก ม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี อันมีผลทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจาก ม.ได้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับทางสาธารณะก็ตาม แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจาก ม.ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อ พ.ศ.2528 ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 ปีเศษ และโจทก์ที่ 3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2534 นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 1 ปีเศษ ดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน, การรุกล้ำ, การใช้สิทธิในที่ดินของผู้อื่น, การสร้างสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจากส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่14373ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมาดังนั้นแม้ส. จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทการที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตามแต่ขณะนั้นที่ดินของถ. ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อถ. ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2จำเลยที่2ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่2เองมิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์การกระทำของจำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่2กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่2เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่2โดยตรงมิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้จำเลยที่2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาทหากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา1312วรรคแรกคือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่2เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้นกรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่1ทำให้จำเลยที่1ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้นเป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน การรุกล้ำ และสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจาก ส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของ ส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 14373 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ดังนั้นแม้ ส.จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท การที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตาม แต่ขณะนั้นที่ดินของ ถ.ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดิน เมื่อ ถ.ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่ 2 เอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่ 2 เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่ 2โดยตรง มิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในทีดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือ โจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 2 เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้น กรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นพับ จึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้น เป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน การรุกล้ำ และสิทธิใช้ประโยชน์เหนือที่ดินของผู้อื่น
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจากส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่14373ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมาดังนั้นแม้ส.จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง10ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทการที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตามแต่ขณะนั้นที่ดินของถ.ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อถ.ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2จำเลยที่2ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่2เองมิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์การกระทำของจำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่2กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่2เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่2โดยตรงมิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้จำเลยที่2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาทหากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในทีดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา1312วรรคแรกคือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่2เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้นกรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่1ทำให้จำเลยที่1ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้นเป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย