พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากหนังสือมอบอำนาจ: 'ดำเนินคดีอาญา' ครอบคลุมถึงการฟ้องต่อศาล
โจทก์ฟ้องคดีอาญาโดยมอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยให้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ เช่นนี้ คำว่า ให้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา ย่อมหมายความว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั่นเอง หาได้มีแต่อำนาจในการร้องทุกข์เพียงเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากหนังสือมอบอำนาจ: 'ดำเนินคดีอาญา' หมายถึงอำนาจฟ้องได้
โจทก์ฟ้องคดีอาญาโดยมอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยให้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ เช่นนี้ คำว่า ให้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา ย่อมหมายความว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั่นเอง หาได้มีแต่อำนาจในการร้องทุกข์เพียงเท่านั้นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลย: ความจำเป็นในการเรียกแพทย์ผู้ตรวจ
การที่ศาลจะเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำหรือให้การถึงผลการตรวจในกรณีที่มีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ก็ต่อเมื่อพนักงานแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จและสามารถวินิจฉัยโรคได้. แต่เมื่อพนักงานแพทย์ได้ตรวจร่างกายของจำเลยหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยโรคได้ จึงไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ศาลจะต้องเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำอีก ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริง ต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงคำถาม ไม่มีกิริยาหรืออาการแสดงว่าจำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลย: ศาลไม่ต้องเรียกแพทย์หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
การที่ศาลจะเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำหรือให้การถึง ผลการตรวจในกรณีที่มีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ก็ต่อเมื่อพนักงานแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จและสามารถวินิจฉัยโรคได้. แต่เมื่อพนักงานแพทย์ได้ตรวจร่างกายของจำเลยหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยโรคได้จึงไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ศาลจะต้องเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำอีก ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริง ต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงคำถาม ไม่มีกิริยาหรืออาการแสดงว่าจำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงชอบด้วย กระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวหลังจำเลยรับสารภาพและขอเลื่อนฟังคำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งได้เพื่อป้องกันคดีค้าง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาเพราะจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้นถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อมิให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีค้างพิจารณาเมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวหลังจำเลยรับสารภาพและขอเลื่อนอ่านคำพิพากษา ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้เพื่อความต่อเนื่อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาเพราะจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้น ถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีต่างพิจารณา เมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้ดูความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้น ถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีต่างพิจารณา เมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้ดูความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น การอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว - ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อจำเลยไม่มาศาล - การไต่สวนโรคประสาท
กรณีที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันต่อศาล เพราะไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ผู้ประกันจะอ้างว่าจำเลยเป็นโรคประสาทอย่างแรงจนไม่สามารถรู้สึกผิดชอบ ขอให้งดการพิจารณาคดีและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ดังนี้ หาชอบ ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวนี้เป็นบทบัญญัติใช้สำหรับกรณีที่ได้ตัวจำเลยมาศาลแล้วและศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีเกี่ยวแก่ตัวจำเลยโดยตรง แต่กรณีที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันต่อศาลนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ร้องที่ไม่นำจำเลยมาส่งศาลตามนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ศาลไม่ต้องไต่สวนอาการป่วยจำเลย หากผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยมาศาล
กรณีที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันต่อศาล เพราะไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ผู้ประกันจะอ้างว่าจำเลยเป็นโรคประสาทอย่างแรงจนไม่สามารถรู้สึกผิดชอบ ขอให้งดการพิจารณาคดีและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ดังนี้ หาชอบ ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวนี้เป็นบทบัญญัติใช้สำหรับกรณีที่ได้ตัวจำเลยมาศาลแล้วและศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีเกี่ยวแก่ตัวจำเลยโดยตรง แต่กรณีที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันต่อศาลนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ร้องที่ไม่นำจำเลยมาส่งศาลตามนัด