คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 298

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาต้องรับผิดชำระหนี้ แม้ผู้ซื้อมารับโอนเพียงผู้เดียว
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และส. เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์และส. เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียวซึ่งโจทก์และส. มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดยส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วยไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ3ขึ้นให้การต่อสู้การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังนั้นที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไปโจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้นโจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247บัญญัติไว้โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลฎีกา
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และ ส.เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันจำเลย ต้องชำระหนี้แก่โจทก์และ ส.เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียว ซึ่งโจทก์และ ส.มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนอง ซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดย ส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วย ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ 3 ขึ้นให้การต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ดังนั้น ที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไป โจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้น โจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 247บัญญัติไว้ โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของตาย มีฐานะทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายได้โดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 โจทก์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากการประสบอันตราย/เจ็บป่วยเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง ในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้วยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน เพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรง มิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้วในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนการผิดนัดของจำเลย ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากการประสบอันตรายในการทำงานเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้ว ยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างโดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานเพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรงมิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้ว ในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือน การผิดนัดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยทั้งหมดจากนายจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นมรดก ย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยนี้ทายาททุกคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยทั้งหมดจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิเรียกค่าชดเชยทั้งหมดจากนายจ้างได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่า เป็นมรดก ย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยนี้ทายาททุกคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยทั้งหมดจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดของผู้ขับขี่รถแทรกเตอร์และรถโดยสาร กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
โจทก์ที่ 1 สามีผู้ตายขับรถแทรกเตอร์มีกระบะพ่วงท้ายผู้ตายนั่งมาด้วยในรถกระบะโดยมิได้ติดโคมไฟท้ายรถกระบะให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล จำเลยขับรถโดยสารแล่นตามหลังไม่อาจมองเห็นรถที่โจทก์ขับในระยะไกล จึงไม่อาจหยุดรถหรือหลบหลีกได้ทันเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1มีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 แต่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุตรของผู้ตาย หนึ่งในสามส่วน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 676/2524)
การที่จำเลยชดใช้ค่าทำศพให้ ส. ซึ่งมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นการชำระให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำศพ ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 จำเลยจึงยังต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายที่มีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมีเงื่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อหุ้นของผู้ขายทั้งหมดในบริษัท รวมทั้งสิทธิในรถยนต์โดยสารรวม 20 คัน โดยจำเลย ชำระเงินสดในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท และผ่อนชำระราคาในส่วนที่เหลือ สัญญานี้จึงเป็น สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยมีเงื่อนเวลาที่ผู้ขายให้โอกาสผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้หนี้ค่าซื้อรถยนต์และหุ้นรายนี้เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 เมื่อผู้ซื้อ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด
ฝ่ายผู้ขายมีสองคนและเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298
of 5