คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 298

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง สามารถส่งต่อให้ทายาทได้ตามกฎหมาย
จำเลยจ้างบิดาโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ ต่อมาจำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุ แต่ไม่จ่ายค่าชดเชยให้ บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรม ทายาททั้งหลายย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยซึ่งจำเลยมิได้จ่ายให้โจทก์ได้ เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามมาตรา 298 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีผู้ตาย สัญญาซื้อขายไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ได้
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วม โจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตาย ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้ว สัญญานั้นก็บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีเจ้าหนี้ร่วมเสียชีวิต สัญญาซื้อขายไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้ และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วมโจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตายศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้วสัญญานั้นก็บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474-1475/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าทนายความ: เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้เลือกชำระได้
หนี้เงินค่าทนายที่ศาลสั่งไว้ในคำพิพากษาให้ผู้แพ้คดีชำระให้แก่ผู้ชนะคดีนั้น เป็นหนี้ร่วม ลูกหนี้จะเลือกชำระให้แก่เจ้าหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีที่มีโจทก์ร่วม: สิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้ร่วม
โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ร่วม หากปรากฎว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ก็เป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมได้ และตาม ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 290 บัญญัติว่า ถ้าการชำระหนี้อันอาจแบ่งชำระได้ เมื่อเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้จะต้องรับผิดหรือชอบที่จะได้รับชำระหนี้เป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ฉะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะขอเงินซึ่งอาจแบ่งแยกให้แก่โจทก์ ซึ่งมีอยู่หลายคนแต่เพียงคนเดียวโดยสิ้นเชิง โดยอ้าง ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 298 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีที่มีโจทก์ร่วม: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะเจ้าหนี้ร่วมที่แท้จริง
โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ร่วม หากปรากฏว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ก็เป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมได้ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 290 บัญญัติว่า ถ้าการชำระหนี้อันอาจแบ่งชำระได้ เมื่อเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้เจ้าหนี้จะต้องรับผิดหรือชอบที่จะได้รับชำระหนี้เป็นส่วนๆ เท่าๆ กัน ฉะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะขอชำระหนี้เงินซึ่งอาจแบ่งแยกได้แก่โจทก์ ซึ่งมีอยู่หลายคนแต่เพียงคนเดียวโดยสิ้นเชิง โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิร่วมกัน แม้ทำสัญญาในนามฝ่ายเดียว ก่อนหย่าขาด เมื่อยังอยู่ร่วมกันและไม่ได้ตกลงเรื่องสิทธิเช่า
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัสญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญาเช่านี้ จึงเป็นสิทธิร่วมกันระหว่างสามีภรรยา เมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่า ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมกันในสัญญาเช่าหลังหย่า: สัญญาทำก่อนหย่า สิทธิยังคงเป็นของทั้งสองฝ่ายหากไม่มีข้อตกลงแยก
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากกัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญญาเช่านี้จึงเป็นสิทธิรวมกันระหว่างสามีภรรยาเมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการใดแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่ายังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขาย, การชำระหนี้, และผลของการละเลยหนี้ตามสัญญา
ทำสัญญาจะขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาไปขอทำการโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินในเรื่องนี้ตลอดมาไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการโอน เหตุที่ทางอำเภอยังไม่โอนให้ ก็เพราะรอฟังคำสั่งกรมที่ดินอยู่เท่านั้น ซึ่งในระหว่างนั้นทางการก็ยังดำเนินการพิจารณาเรื่องราวที่ขอโอนอยู่ ดังนี้ ไม่ถือว่าการโอนหรือการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยอันจะทำให้ผู้ขายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามมาตรา 219และถือว่าสัญญาจะซื้อขายคงมีผูกพันต่อกันอยู่ ผู้ขายจะถือเอาการที่เจ้าพนักงานยังมิได้ทำสัญญาให้ดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาไม่ได้
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน
ทำสัญญาจะขายทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อซึ่งร่วมกันหลายคน ถือว่าผู้ซื้อแต่ละคนเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันตามมาตรา 298 เจ้าหนี้ร่วมเพียงคนเดียวก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมอบอำนาจให้ผู้แทนฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้
โจทก์ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้คนหนึ่งให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่าใบมอบอำนาจฟ้องร้องไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายในวันชี้สองสถาน จำเลยแถลงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเจ้าหนี้ร่วมอีก 2 คน มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้อง มิได้โต้แย้งในเรื่องความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจนั้นแต่ประการใด จนเมื่อศาลสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงยกเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจดังนี้ถือว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ และถือได้ว่าจำเลยยอมรับในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจนั้นแล้ว
of 5