คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 745

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาตามยอมของศาลที่ถึงสุดแล้ว จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ จึงขาดอายุความแล้ว
การที่ลูกหนี้ที่ 1 เคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 สามารถไถ่ถอนทรัพย์จำนอง เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยมีการยึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว มิใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ทั้งมิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้ในคดีแพ่ง และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) แล้ว แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความเจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพย์สิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพญ์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ศาลฎีกาชี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อายุความที่จำเลยผู้รับโอนยกขึ้นมีผลถึงจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้ร้บจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การแต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่าผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น หาใช่บังคับจำนองได้แต่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระไม่เกิน 5 ปี ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อผู้กู้และผู้รับโอนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินโดยจำนองติดไปซึ่งผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัญชีเดินสะพัด, เจตนาเลิกสัญญา, การบังคับจำนอง, และขอบเขตการบังคับชำระหนี้
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรวมทั้งสัญญาเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ โดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภ. ได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2526 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกเลย นับถึงวันที่ ภ. สิ้นพระชนม์เป็นเวลานานเกือบ 12 ปี แสดงว่า ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่า ภ. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่ 14 มีนาคม 2526 อันเป็นวันที่ ภ. เดินสะพัดทางบัญชีเป็นครั้งสุดท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่า ภ. ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ดังกล่าวในวงเงิน 5,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีข้อตกลงว่าหากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ ดังนี้ แม้หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 กล่าวคือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้ และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ ภ. จำนองไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่ ถึงแม้ว่าตามสัญญาจำนองจะกำหนดให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7976/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระ ศาลมีอำนาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วมาหักออกจากยอดหนี้ตามคำฟ้องได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองจำเลยในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนองจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 8 ปีเศษ โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวจำเลยได้ชำระให้แก่โจทก์บางส่วนและนำมาหักจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าครบกำหนดชำระดอกเบี้ยจำเลยไม่ชำระ จึงต้องถือว่าตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยเต็มจำนวนตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองจนถึงวันฟ้อง แม้ในตอนท้ายของคำฟ้อง โจทก์จะมีคำขอบังคับให้ชำระดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นจำนวน 225,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ยอมรับว่า จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์บางส่วนแล้ว จำนวน 150,000 บาท ซึ่งทำให้ยอดหนี้ค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องลดลง ศาลจึงมีอำนาจที่จะนำเงินที่จำเลยชำระมาหักออกจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระที่โจทก์ขอมาก่อนวันฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อหักค่าดอกเบี้ยที่จำเลยชำระมาแล้วจำนวน 150,000 บาท จึงคงเหลือจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวน 75,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: สิทธิการบังคับคดีขาดอายุความ แต่สิทธิการรับชำระหนี้จำนองยังคงอยู่ และการชำระหนี้โดยวางทรัพย์
การที่จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินพิพาทได้ระงับสิ้นไป จำเลยยังคงมีสิทธิจะบังคับจำนอง แม้หนี้ที่ประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 เมื่อโจทก์เสนอขอชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยเป็นเวลา 5 ปี แต่จำเลยไม่ยอมรับชำระหนี้ การที่โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้จำนองแก่จำเลยจึงเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนถอนจำเลยที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองที่ดิน แต่คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนถอนจำนองที่ดินดังกล่าวหลังจากระยะเวลาในการบังคับคดีเดิมได้ล่วงหน้าพ้นไปแล้ว หาเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีจำนอง แต่ยังเรียกหนี้จำนองได้ภายใน 5 ปี
จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยย่อม สิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาอีกต่อไป แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินได้ระงับสิ้นไป การจำนองที่ดิน จึงยังคงมีอยู่ แม้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแต่หนี้จำนองตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลา 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองข้ามมรณะ: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความตามบทเว้นวรรคในประมวลกฎหมายแพ่ง
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จะห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 และมาตรา 745 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับชำระหนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่ผู้ร้องรู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของเจ้าของมรดก ผู้ร้องก็ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองที่ระบุจำนวนเงินคลาดเคลื่อน และการคิดดอกเบี้ยเมื่อหนี้ขาดอายุความ
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระคลาดเคลื่อนไป แต่จำเลยก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งจำนวนเงินดังกล่าวได้ จึงไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบ
จำเลยจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่น การที่หนี้ดังกล่าวขาดอายุความ และจำเลยสละประโยชน์แห่งอายุความเป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนฟ้องย้อนหลังไปมีกำหนด 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, อายุความดอกเบี้ย, การบอกกล่าวบังคับจำนองคลาดเคลื่อน, การสละประโยชน์แห่งอายุความ
การที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระคลาดเคลื่อนไป จำเลยก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งจำนวนเงินดังกล่าวได้ หาเป็นเหตุให้การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบไม่
จำเลยจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งหนี้ดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนฟ้องย้อนหลังไปมีกำหนด 5 ปี
of 6