พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท การสะดุดหยุดของอายุความ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับข้อ6กำหนดไว้ว่าจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ18ต่อปีในจำนวนเงินที่คำนวณแล้วว่าต้องชำระแก่โจทก์โดยเริ่มนับจากวันทำสัญญานี้จนถึงวันที่โจทก์ได้รับเงินครบถ้วนจากจำเลยที่1ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้ระบุเวลาให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยและจะอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยได้โดยพลันนับแต่วันทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203วรรคหนึ่งอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาทรัสต์รีซีทเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)อายุความดอกเบี้ยค้างส่งเริ่มนับจากวันถัดจากวันดังกล่าวไปจนกว่าจะครบ5ปีการที่จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยสำหรับสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับบางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172(เดิม)โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด5ปีจึงไม่ขาดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ย จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้นย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา692ซึ่งเป็นข้อยกเว้นมาตรา295จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 จำเลยที่3ผู้จำนองแม้หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าให้รับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่1รับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่3เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295วรรคสองจำเลยที่3ผู้จำนองจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังไป5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา189(เดิม)และมาตรา745 จำเลยทั้งสามฎีกาว่าในการผ่อนชำระหนี้จำเลยทั้งสามมิได้กำหนดชำระหนี้รายใดไว้โดยเฉพาะโจทก์ชอบที่จะเอาชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อนแต่โจทก์เลือกการชำระหนี้เอาเองตามใจชอบจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามนั้นประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองจากผู้จำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานของลูกหนี้ แม้หนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ผู้จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับจำนองจากการกระทำของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยในศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคือมีสิทธิบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแต่ก็หาตัดสิทธิโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่จะบังคับชำระหนี้อันเกิดจากความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม) และมาตรา 745ไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยแก่จำเลยที่ 2ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินตามฟ้องของจำเลยที่ 2 มาจำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ก่อความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทจำเลยที่ 2 จึงมิใช่มีฐานะเป็นเพียงผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เท่านั้นแต่เป็นผู้จำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 อาจก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้นั้นจากทรัพย์สินที่จำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม)(มาตรา 193/27 ใหม่)และมาตรา 745 ได้ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกันนั้นจะขาดอายุความหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1ด้วยการทำสัญญารับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ทั้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แปลงหนี้ใหม่ โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็นหรือยินยอมด้วยจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นความรับผิด ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา นายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นอันสิ้นสุด
จำเลยตกลง ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "...มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้...ถ้า พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" ดังนี้เห็นได้ ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้อง จด ทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่ อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อ ที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่ เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตาม สัญญาโจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือ ว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ทั้งลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกัน แม้ขาดอายุความค้ำประกัน แต่บังคับจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมี อ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และ อ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ.ด้วย อ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปี นับแต่อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ตามมาตรา 189 และมาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ลูกหนี้ร่วมและหนี้ค้ำประกัน แม้คดีขาดอายุความแต่บังคับชำระจากที่ดินจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมีอ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และ อ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ. ด้วย อ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปีนับแต่ อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ ตามมาตรา 189 และมาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีค้ำประกันขาดอายุความ ผู้รับจำนองยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมีอ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและอ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ.ด้วยอ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปีนับแต่ อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ ตามมาตรา 189 และมาตรา 745.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจำนอง-ฟ้องเคลือบคลุม-ผิดนัดชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 189 และผลของการผิดนัด
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ โดยฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ต. ผู้ตาย เพื่อให้จำเลยไถ่ถอนที่ดินที่ ต. จำนองประกันหนี้เงินกู้ไว้ แม้จะฟ้องหลังจาก ต. ตายไปแล้วเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามแล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นมิให้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
เมื่อฟ้องไม่ยืนยันว่า ต. ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลย หรือผิดนัดชำระแต่เมื่อใด จึงไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้
โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 15 วัน จำเลยอ่านข้อความแล้วไม่ยอมเซ็นรับหนังสือ ดังนี้ เมื่อครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งหนังสือแก่จำเลย จำเลยมิได้ชำระหนี้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ต. ผู้ตาย เพื่อให้จำเลยไถ่ถอนที่ดินที่ ต. จำนองประกันหนี้เงินกู้ไว้ แม้จะฟ้องหลังจาก ต. ตายไปแล้วเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามแล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นมิให้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
เมื่อฟ้องไม่ยืนยันว่า ต. ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลย หรือผิดนัดชำระแต่เมื่อใด จึงไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้
โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 15 วัน จำเลยอ่านข้อความแล้วไม่ยอมเซ็นรับหนังสือ ดังนี้ เมื่อครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งหนังสือแก่จำเลย จำเลยมิได้ชำระหนี้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบที่นาให้ผู้รับจำนองทำต่างดอกเบี้ย และสิทธิเรียกดอกเบี้ยซ้ำ
มอบที่นาไห้ทำต่างดอกเบี้ยจำต้องมีหลักถานเปนหนังสือ. อ้างดีกาที่ 708/2484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มอบที่นาทำต่างดอกเบี้ยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
มอบที่นาให้ทำต่างดอกเบี้ยจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ.อ้างฎีกาที่ 708/2484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591-592/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองก่อนประมวลแพ่งฯ ฟ้องบังคับจำนองไม่ขาดอายุความ, การพิสูจน์เอกสารรับสภาพหนี้หลังอายุความ
การจำนองที่ทำขึ้นก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ ต้องนำประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 มาใช้บังคับ กรณีเช่นนี้ ผู้รับจำนองหาจำต้องมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ม.728 แห่งประมวลแพ่ง ฯไม่
การที่ผู้รับจำนองฟ้องเรียกหนี้รายจำนองพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบังคับจำนอง อ้างฎีกาที่ 201/2479, 1282/2462
ตามประกาศปี ร.ศ.118 แม้ถึงว่าผู้จำนองจะขาดส่งดอกเบี้ยเกิน 3 ปีแล้วก็ตามผู้รับจำนองจะฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยโดยไม่ฟ้องขอให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิก็ได้ และการฟ้องเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบังคับจำนองคดีไม่มีอายุความ อ้างฎีกาที่ 753/2457
จำนองที่ดินกันก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ และค้างดอกเบี้ยคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายเก่าและใหม่ อายุความเรียกดอกเบี้ยในระหว่างกฎหมายเก่าก็ต้องใช้กฎหมายเก่าบังคับ คือเรียกดอกเบี้ยได้ถึงต้นชนดอก ส่วนแต่วันใช้กฎหมายแพ่งฯ ก็ต้องใช้ประมวลแพ่งฯ บังคับแต่เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกินต้นชนดอก อ้างฎีกาที่ 948/2474
ลูกหนี้จำนองขาดส่งดอกเบี้ยมากกว่า 10 ปีแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตอนใช้ประมวลแพ่งฯ แล้วเพียง 5 ปี ไม่มีสิทธิจะได้ดอกเบี้ยจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย เมื่อหนี้ขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ถ้าหากลูกหนี้ได้รับสภาพความรับผิดโดดยสัญญาหรือให้ประกันแก่หนี้นั้น ตามประมวลแพ่งฯ ม.188
ม.172 แห่งประมวลแพ่งฯ เป็นเรื่องหนี้ยังไม่ขาดอายุความ ส่วน ม.188 เป็นเรื่องขาดอายุความแล้ว
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.86,93(3),100,122,142,183,185 พะยานเอกสารที่นำยื่นต่อศาล เมื่ออีกฝ่าย 1 ปฏิเสธ หากไม่มีพะยานบุคคลสืบประกอบศาลไม่รับฟัง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปกว่า 10 ปีแล้ว แต่จำเลยทำเอกสารรับสารภาพหนี้ให้ไว้รวม 3 ฉะบับ ซึ่งจำเลยปฏิเสธ ไม่รับรองเอกสาร 3 ฉะบับ นั้น ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยก็แต่ฉะเพาะเอกสาร 3 ฉะบับนี้เท่านั้นโจทก์จะนำหลักฐานการรับสภาพหนี้อย่างอื่นมาพิสูจน์ต่อศาลในภายหลังมิได้เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลไม่รับฟัง, ค่าธรรมเนียม
การที่ผู้รับจำนองฟ้องเรียกหนี้รายจำนองพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบังคับจำนอง อ้างฎีกาที่ 201/2479, 1282/2462
ตามประกาศปี ร.ศ.118 แม้ถึงว่าผู้จำนองจะขาดส่งดอกเบี้ยเกิน 3 ปีแล้วก็ตามผู้รับจำนองจะฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยโดยไม่ฟ้องขอให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิก็ได้ และการฟ้องเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบังคับจำนองคดีไม่มีอายุความ อ้างฎีกาที่ 753/2457
จำนองที่ดินกันก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ และค้างดอกเบี้ยคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายเก่าและใหม่ อายุความเรียกดอกเบี้ยในระหว่างกฎหมายเก่าก็ต้องใช้กฎหมายเก่าบังคับ คือเรียกดอกเบี้ยได้ถึงต้นชนดอก ส่วนแต่วันใช้กฎหมายแพ่งฯ ก็ต้องใช้ประมวลแพ่งฯ บังคับแต่เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกินต้นชนดอก อ้างฎีกาที่ 948/2474
ลูกหนี้จำนองขาดส่งดอกเบี้ยมากกว่า 10 ปีแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตอนใช้ประมวลแพ่งฯ แล้วเพียง 5 ปี ไม่มีสิทธิจะได้ดอกเบี้ยจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย เมื่อหนี้ขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ถ้าหากลูกหนี้ได้รับสภาพความรับผิดโดดยสัญญาหรือให้ประกันแก่หนี้นั้น ตามประมวลแพ่งฯ ม.188
ม.172 แห่งประมวลแพ่งฯ เป็นเรื่องหนี้ยังไม่ขาดอายุความ ส่วน ม.188 เป็นเรื่องขาดอายุความแล้ว
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.86,93(3),100,122,142,183,185 พะยานเอกสารที่นำยื่นต่อศาล เมื่ออีกฝ่าย 1 ปฏิเสธ หากไม่มีพะยานบุคคลสืบประกอบศาลไม่รับฟัง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปกว่า 10 ปีแล้ว แต่จำเลยทำเอกสารรับสารภาพหนี้ให้ไว้รวม 3 ฉะบับ ซึ่งจำเลยปฏิเสธ ไม่รับรองเอกสาร 3 ฉะบับ นั้น ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยก็แต่ฉะเพาะเอกสาร 3 ฉะบับนี้เท่านั้นโจทก์จะนำหลักฐานการรับสภาพหนี้อย่างอื่นมาพิสูจน์ต่อศาลในภายหลังมิได้เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลไม่รับฟัง, ค่าธรรมเนียม