คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิติธรรมประกรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 548 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องคัดค้านการยึดและการเพิกถอนสัญญายอมความต้องดำเนินการโดยการฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
โจทก์นำยึดนามีโฉนดของจำเลย ขอให้ศาลประกาศขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาท้ายยอม ปรากฎว่านารายนี้จำเลยได้ทำสัญญาขายให้ผู้ร้องไปครอบครองปีกว่าแล้ว แต่ยังติดขัดโอนโฉนดกันยังไม่ได้ เมื่อเกิดมีคดีระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น ผู้ร้องจึงยื่นฟ้องจำเลยบ้างขอให้นาพิพาทแก่ผู้ร้อง และเมื่อนาพิพาทถูกโจทก์ยึดดังกล่าว ผู้ร้องจึงร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมความระหว่างโจทก์จำเลยตามคำพิพากษาท้ายยอม และให้ถอนการยึด ดังนี้ วินิจฉัยว่า ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิจะมาร้องขอให้ถอนการยึดได้ และการขอให้จำเลยทำลายสัญญายอมความและคำพิพากษาท้ายยอม ก็ต้องทำเป็นฟ้องไม่ใช่ทำเป็นคำร้อง แม้ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนนาพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลจะได้พิพากษาในภายหลังให้จำเลยโอนนาพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายก็ดี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการบังคับคดีนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงค้าใหม่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 เท่านั้น
ภาษีโรงค้านั้นเมื่อทางอำเภอได้ประเมินและผู้เสียภาษีได้ชำระไปแล้ว เจ้าพนักงานจะประเมินใหม่ได้ ก็แต่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 กล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและเมื่อได้จัดการเช่นว่านี้ และทราบข้อความแล้ว ก็มีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินค่าภาษีโรงค้าใหม่โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 ประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไปจึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงค้าใหม่ต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้อง การประเมินใหม่จึงเป็นการกระทำที่มิชอบ
ภาษีโรงค้านั้นเมื่อทางอำเภอได้ประเมินและผู้เสียภาษีได้ชำระไปแล้ว เจ้าพนักงานจะประเมินใหม่ได้ ก็แต่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 20 กล่าวคือ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้อื่นรายการนั้นมาไต่สวนและเมื่อได้จัดการเช่นว่านี้ และทราบข้อความแล้ว ก็มีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฎได้ เจ้าพนักงานประเมินาจะประเมินค่าภาษีโรงค้าใหม่โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19, 20 ประมวลรัษฎากร ย่อมเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์ เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไป จึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้ จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพินัยกรรมปลอมและการแบ่งมรดก กรณีทรัพย์สินจากการสมรสเดิม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดา ต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดาโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่โต้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ภรรยาน้อยและการอ้างสิทธิในทรัพย์สินเดิมของภริยาหลวง
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดาต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดกโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่ได้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สิบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการดำเนินคดีอาญาเมื่อข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินยังไม่สิ้นสุด และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินในทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ดดจำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีอาญา: การโต้แย้งสถานะที่ดินในคดีขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการส่งมอบที่ดิน และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ซื้อรายหลังรู้ถึงข้อเสียเปรียบ
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรมบุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินนั้นไปขายแก่ญาติของตน โดยไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฏว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของผู้ทำสัญญาเดิม และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผู้ซื้อไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรม บุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลแก้ไขข้อบกพร่องได้ตามมาตรา 56
ป้าเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแทนหลาน ซึ่งเป็นผู้เยาว์โดยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย จนศาลสืบพยานโจทก์ไปหมดแล้วจึงปรากฏว่าป้าไม่มีสิทธิฟ้อง ดังนี้ พึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติบกพร่องในเรื่องความสามารถ ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อเป็นความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คือสั่งตั้งผู้แทนโดยชอบธรรมเฉพาะคดีให้แก่ผู้เยาว์โดยมีผู้ขอเข้ามาหรือศาลจะพิจารณาตั้งเองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสี่แล้วพิจารณาคดีในข้อหาของโจทก์ต่อไปก็ได้
of 55