คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 67

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง ทำให้นายจ้างเสียหาย มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. นายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแต่ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้างและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทโจทก์ดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทโจทก์ได้ย่อมเป็นการกระทบถึงรายได้ของนายจ้างและทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทโจทก์ได้แย่งลูกค้านายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(2)และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้าง และ จ. ผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวเอาโทษแก่บุคคลทั้งสองเอง หามีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้บริษัท อ. เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์นั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของนายจ้าง ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกการใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมจะต้องกระทบถึงรายได้ของนายจ้าง และทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทที่โจทก์ตั้งแล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการที่โจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9450/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกโดยสมัครใจของลูกจ้าง แม้ถูกตำหนิและสอบถามเรื่องพฤติกรรมส่วนตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่ อ. และ ล. ซึ่งมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ทราบเรื่องที่โจทก์ออกไปเที่ยวเตร่กับลูกค้าชาวต่างประเทศและยืมเงินจากลูกค้า แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือทำให้จำเลยเสียหาย แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ชอบที่บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์ที่มีพฤติการณ์ดังกล่าวในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งจะต้องปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความประพฤติที่เหมาะสมได้ แม้บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์รุนแรงไปบ้างและกล่าวให้โจทก์พิจารณาตัวเองก็หาเป็นการข่มขู่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่ อ. และ ล. หลอกโจทก์ว่าลูกค้าแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ยืมเงินจากลูกค้าก็เป็นวิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงจากโจทก์ว่า โจทก์ได้ยืมเงินจากลูกค้าจริงตามที่บุคคลทั้งสองรับทราบเรื่องหรือไม่ จึงหาเป็นการหลอกลวงให้โจทก์ลาออกไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์เลือกที่จะลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นการลาออกโดยความสมัครใจของโจทก์เอง หาใช่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาออก และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนในกรณีเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนดังกล่าวจะพึงมีได้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง และลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119เท่านั้น หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องชดใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการลาออกโดยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกตามส่วนตามมาตรา 67
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาออก นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดที่ใช้ไปแล้วตามตกลง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จ. ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีก่อนยื่นใบลาออก ขณะยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปี จ. อาจจะยังไม่คิดลาออกก็ได้ จึงเป็นการใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีโดยสุจริต จำเลยอุทธรณ์ว่า ในขณะยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปี จ. ประสงค์จะลาออก จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างและลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามบทบัญญัติในมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างเพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ
การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนในปีที่เลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 และมาตรา 56
ในปีที่ จ. ลูกจ้างลาออก นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออก นายจ้างอนุญาต จ. ให้ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวเป็นการหยุดตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันโดยสุจริตจึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วัน ให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824-1825/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย และสิทธิการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากกรรมการของจำเลยสืบเนื่องมาจากจำเลยมีฐานะการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน อีกทั้งจำเลยไม่อาจจะแก้ปัญหาได้แม้ทางการจะได้ให้โอกาสจำเลยเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 24 ตรี วรรคสี่ และถือว่าเป็นการออกคำสั่งโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยด้วย ผลของคำสั่งดังกล่าวทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยอีกต่อไป จึงต้องถือว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 10 วัน ในปี 2541 โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเมื่อคำนวณถึงวันที่ถูกจำเลยเลิกจ้างจะมีสิทธิ 6 วัน โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีและสะสมเฉพาะกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออกเองนายจ้างไม่ต้องจ่าย
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันที่ 22ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ให้แก่โจทก์อีก
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งจะอนุมัติให้ลาออกในวันที่ 21 มกราคม 2542 ก็เป็นการยื่นคำขอและการอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเอง อันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้ไม่มีข้อความที่แสดงว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิการเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและ วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามที่โจทก์มีสิทธิอยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ ลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มี ความผิดตามมาตรา 119 ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเอง จำเลย จึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และการคำนวณค่าต่างๆ
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 และ 103 และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท. มิได้บังคับว่ามติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานที่ให้ยื่นข้อเรียกร้องจะต้องมีรายละเอียดว่าให้เรียกร้องสิ่งใดเช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นจำนวนเท่าไร และตั้งใครเป็นผู้แทนในการเจรจา ตามที่จำเลยอ้าง ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. ที่เพียงแต่ระบุให้สหภาพแรงงาน ท. ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งเป็นกิจการอันมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของสมาชิกไว้ลอย ๆ โดยไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จึงเป็นมติที่ชอบตาม มาตรา 103 (2) และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท.
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง
of 36