พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มสุราในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากลักษณะงานไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักรโดยตรง
ว. ทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่สโตร์ ฝ่ายวิศวกรรม มีหน้าที่เบิกจ่ายอะไหล่เครื่องจักรกลและทำบัญชีเบิกจ่ายอะไหล่ ลักษณะงานในหน้าที่ดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการควบคุมหรือดูแลการทำงานของเครื่องจักรโดยตรง แม้ ว. จะดื่มสุราไปบ้างก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องจักรของโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าในการดื่มสุราดังกล่าว ว. มีอาการมึนเมาสุราอย่างมาก หรือได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์จะกำหนดห้ามลูกจ้างดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่า ว. ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ในกรณีร้ายแรง ดังนั้น เมื่อโจทก์เลิกจ้าง ว. โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ ว. ตามที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: เหตุผลเพียงพอ, การพักงาน, ค่าชดเชย, และสิทธิลูกจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
โจทก์ทำสัญญาจ้างกับจำเลยหลายฉบับ และโจทก์ลาออกเพื่อรับบรรจุเป็นพนักงาน แต่โจทก์ก็ทำงานกับจำเลยต่อเนื่องมาตลอดโดยมิได้เว้นช่วงระยะเวลาใดตั้งแต่วันที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในวันแรกของสัญญาจ้างฉบับแรก จนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีขึ้นไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ
การพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้นโดยทั่วไปต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ระหว่างทดลองงาน แต่ก็ระบุถึงเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ด้วยว่า โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฯ ซึ่งจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในคำให้การด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างและตามคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบเหตุการณ์ที่ ธ. ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานร่วมกันรื้อค้นกระเป๋าของผู้โดยสารแล้วกลับนิ่งเสียไม่รายงานผู้บังคับบัญชา นับว่าเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างมีเหตุผลเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทำสัญญาจ้างกับจำเลยหลายฉบับ และโจทก์ลาออกเพื่อรับบรรจุเป็นพนักงาน แต่โจทก์ก็ทำงานกับจำเลยต่อเนื่องมาตลอดโดยมิได้เว้นช่วงระยะเวลาใดตั้งแต่วันที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในวันแรกของสัญญาจ้างฉบับแรก จนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีขึ้นไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ
การพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้นโดยทั่วไปต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ระหว่างทดลองงาน แต่ก็ระบุถึงเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ด้วยว่า โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฯ ซึ่งจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในคำให้การด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างและตามคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบเหตุการณ์ที่ ธ. ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานร่วมกันรื้อค้นกระเป๋าของผู้โดยสารแล้วกลับนิ่งเสียไม่รายงานผู้บังคับบัญชา นับว่าเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างมีเหตุผลเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662-5663/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรอการบังคับคดีเพื่อรอผลคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
ในระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยจะยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ให้รอการบังคับคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าหากคดีอาญาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากคดีนี้ไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด และกรณีตามคำขอของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อบังคับตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: กรณีลูกจ้างถูกกล่าวหาทุจริต แต่ศาลพิพากษาว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เข้าข่ายทุจริต
โจทก์ได้รับมอบหมายให้เปลี่ยนอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์รถยนต์ที่ลูกค้าซื้อจากบริษัทจำเลยที่ 2 โจทก์จึงเบิกอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์ทั้งชุดซึ่งมีกล่องเก๊ะรวมอยู่ด้วยโจทก์ถอดคอนโซลหน้าปัทม์ที่ชำรุดออกจากรถยนต์ลูกค้าแล้วใส่คอนโซลหน้าปัทม์อันใหม่แทน แต่ไม่ได้เปลี่ยนกล่องเก๊ะอันใหม่ให้ โดยไม่ได้แจ้งให้หัวหน้างานทราบกล่องเก๊ะอันใหม่ที่เบิกมาแล้วไม่ได้ใช้ โจทก์มิได้นำไปคืนศูนย์อะไหล่เพราะเป็นเวลาเลิกงานประกอบกับโจทก์หลงลืมด้วย พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างแต่ก็เป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการใดหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นเจตนาที่จะเอากล่องเก๊ะไปเป็นของตน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 และมาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงาน ความรับผิดชอบค่าจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแรงงาน
เจ้าของตึกที่ตั้งสำนักงานจำเลยได้ตัดน้ำ ตัดไฟ และปิดสำนักงาน ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ การนับวันเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อกรรมการของจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2543 และสำนักงานของจำเลยถูกปิด ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ไม่สามารถเข้าไปทำงานในสำนักงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีจ้างงานเกิน 2 ปี และสิทธิค่าชดเชย
สหกรณ์จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ด้วยกัน โดยสมาชิกในฐานะผู้ถือหุ้นร่วมลงหุ้นและรับฝากเงินจากสมาชิกแล้วนำมาให้สมาชิกกู้โดยคิดดอกเบี้ย หากมีเงินทุนเหลือก็จะนำไปให้สหกรณ์อื่นกู้ จำเลยมีรายได้เป็นค่าธรรมเนียมจากการเข้าเป็นสมาชิกและดอกเบี้ยจากการให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืม เมื่อมีกำไรก็จัดสรรเป็นเงินทุนสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์และจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับจ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจจำเลยจึงมิใช่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตามข้อ (3) แห่งกฎกระทรวงฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯจึงต้องนำมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่องานที่จำเลยจ้างโจทก์มิใช่การจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่ปกติทางธุรกิจ มิใช่งานตามฤดูกาล แต่เป็นการทำงานตามปกติธุรกิจของจำเลย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นโจทก์ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งทำงานมาแล้ว 2 ปี จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันตามมาตรา 118(2) พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงานตามสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา และเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่เข้าหลักเกณฑ์
การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง นอกจากเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วยังต้องเป็นงานโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างและนายจ้างต้องเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย จำเลยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติ จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานก่อสร้างอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยและจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามระยะเวลาการจ้างที่กำหนด กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสุดท้าย ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยไม่ยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 , 119 มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัย และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชยพิจารณาจากระยะเวลาทำงานรวม
เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างถึงวันที่ครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานที่มีการแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ถือว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20
สัญญาจ้างแรงงานที่มีการแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ถือว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20