พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขาดอายุความเนื่องจากยื่นเกินกำหนด แม้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5984/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันคดีถึงที่สุดและการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด ศาลยืนตามวันคดีถึงที่สุดเดิม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 จำเลยฎีกาพร้อมยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาแล้วไม่อนุญาต ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ว่า ไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับฎีกาของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 และไม่ใช่กรณีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตามกฎหมายจะฎีกาไม่ได้อันจะให้ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะคดีไม่ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย และคู่ความอาจฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้โดยปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ดังนี้ คดีของจำเลยจึงถึงที่สุดนับแต่สิ้นระยะเวลายื่นฎีกาโดยคู่ความไม่ได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ วันที่ 26 เมษายน 2563 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ อันเป็นวันหยุดราชการ ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 27 เมษายน 2563 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย การได้รับสำเนาคำพิพากษาช้าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ในวันที่ 1 มกราคม 2560 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์และเป็นวันขึ้นปีใหม่อันเป็นวันหยุดราชการ วันที่ 2 และ 3 มกราคม 2560 ซึ่งตรงกับวันจันทร์และวันอังคารก็เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาในวันที่ 4 มกราคม 2560ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา การที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่จำเลยได้ จำเลยจะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่ตามคำร้องจำเลยอ้างเพียงว่า จำเลยเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ขอคัดถ่ายไว้ ทำให้ไม่อาจทำฎีกายื่นได้ทันภายในกำหนด อันเป็นการอ้างถึงพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น มิใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ก่อนสิ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วไม่ จึงไม่อาจขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ตามคำร้องของจำเลยที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดคดีถึงที่สุดหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: โจทก์มีสิทธิฎีกาภายใน 1 เดือน ทำให้คดีถึงที่สุดเมื่อพ้นกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยที่ 2 ฟังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2542 หลังจากนั้น วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้โจทก์ฟัง โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดที่โจทก์สามารถยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ฉะนั้น จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดว่าคำพิพากษาได้ถึงที่สุดแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10398/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: เริ่มนับจากวันส่งมอบสินค้า และวันหยุดราชการมีผลต่อการสิ้นสุดอายุความ
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยลงชื่อรับสินค้าตามใบส่งของ การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินค้านับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจึงมีกำหนดอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ครบกำหนดสองปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาและเป็นวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา และอายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหมายบังคับคดีเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการนำเงินเข้าบัญชีหลังวันหยุดทำการ
แม้ภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีแล้ว จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวอายัดซ้ำกับคดีของโจทก์ เป็นการดำเนินการในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของตนเองในฐานะที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมิใช่การดำเนินการในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไม่ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
จำเลยนำเงินเข้าบัญชีโจทก์ในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 อันเป็นวันเปิดทำการวันแรกทันที ซึ่งการนับระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 บัญญัติว่า ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ดังนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอ้างว่าธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้ และแม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ในงวดที่สามและที่สี่จำเลยยังคงนำเงินเข้าบัญชีโจทก์เกินกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในภายหลัง ไม่ทำให้การออกหมายบังคับคดีที่ไม่ชอบกลับกลายเป็นหมายบังคับคดีที่ถูกต้องตามกฎหมายไปได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีได้
จำเลยนำเงินเข้าบัญชีโจทก์ในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 อันเป็นวันเปิดทำการวันแรกทันที ซึ่งการนับระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 บัญญัติว่า ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ดังนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอ้างว่าธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้ และแม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ในงวดที่สามและที่สี่จำเลยยังคงนำเงินเข้าบัญชีโจทก์เกินกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในภายหลัง ไม่ทำให้การออกหมายบังคับคดีที่ไม่ชอบกลับกลายเป็นหมายบังคับคดีที่ถูกต้องตามกฎหมายไปได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหมายบังคับคดีจากข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมยอมความ และการชำระหนี้ตรงตามกำหนด แม้เป็นวันหยุดทำการ
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในอีกคดีหนึ่งที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่า ทรัพย์สินของจำเลยถูกเจ้าหนี้หลายรายรวมทั้งโจทก์อายัดไว้แล้ว การอายัดทรัพย์สินในคดีดังกล่าวจึงเป็นการอายัดซ้ำ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการอายัดและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการอายัดแล้วเป็นการดำเนินการในคดีอื่นมิใช่ในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร: วันหยุดราชการและเหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 โจทก์ต้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์และเป็นวันเข้าพรรษาอันเป็นวันหยุดราชการ และวันที่ 2 สิงหาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันจันทร์ก็เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันเข้าพรรษา โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10984/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดระยะเวลายื่นฎีกาและการพิจารณาคดีถึงที่สุด แม้มีการถอนอุทธรณ์คำสั่ง
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งไม่รับฎีกา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาก็ตามแต่ในที่สุดศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์คำสั่งได้ จึงไม่มีการรับฎีกาของจำเลย ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10984/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดคดีอาญาเนื่องจากพ้นกำหนดฎีกาและการถอนอุทธรณ์คำสั่ง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีถึงที่สุด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งไม่รับฎีกา และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์คำสั่งได้ จึงไม่มีการรับฎีกาของจำเลย ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คดีนี้ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548