คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามกฎหมายและการพิจารณาวันหยุดทำการ
คดีครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม 2541 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์และศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ จึงต้องนับต่อจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่ 5 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6 , 7 และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่ เพราะวันเวลาดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฟ้องคดีแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการวางเงินค่าชดเชยต้องรวมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลาอันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และอำนาจฟ้องเมื่อวางเงินไม่ครบตามคำสั่งศาล
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แม้เป็นกฎหมายที่มีความมุ่งหมายคุ้มครองการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรมและมีบทบัญญัติในการคุ้มครองแรงงานไว้โดยเฉพาะ แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลา อันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
การที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้าง และโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อให้ชี้ขาดนั้น โจทก์ต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยตามจำนวนที่คำนวณได้ถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยดังกล่าว ทั้งการวินิจฉัยในส่วนค่าชดเชยก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยตามคำสั่งจำเลยด้วย โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์ติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะค่าชดเชย ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ย เมื่อโจทก์เพียงแต่นำเงินค่าชดเชยมาวางต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยมาวางด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์วางเงินไม่ครบถ้วนตามคำสั่งของจำเลย เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาการยื่นคำให้การและการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายวันที่ 15 มีนาคม 2540 ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำให้การในวันจันทร์ที่14 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ แต่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 19)พ.ศ. 2540 ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ จากวันที่ 12,13และ 14 เมษายน เป็นวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบถึงประกาศดังกล่าวโดยในส่วนของวันหยุดชดเชยให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2538 เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการว่าในกรณีวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์วันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนไปหยุดในวันทำงานถัดไปด้วย เมื่อวันที่ 13 เมษายน2540 ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันที่ 14 และ15 ตรงกับวันจันทร์และวันอังคารเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันที่ 16 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันทำงานถัดไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการได้ และข้อเท็จจริงว่าวันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2รับผิดชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกันหากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2จะขาดนัดยื่นคำให้การ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จะชอบก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดแทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือไม่เพียงใด ต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบให้ปรากฏก่อนเพราะจำเลยที่ 2อาจมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยผิดหลง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบจึงไม่ปรากฏไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยที่ 2 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเพียงจำเลยที่ 1 เห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความละเมิด: วันหยุดราชการและวันเริ่มทำการของศาล
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการ จึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การนับอายุความเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตัว: กำหนดเวลาอุทธรณ์นับจากคำสั่งล่าสุดที่บังคับใช้จริง
แม้ผู้ประกันจะผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้วแต่ในวันนัดพร้อมต่อมาผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยและศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาต ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาดังกล่าวศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันและเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดต่อตามจำเลยมาส่งศาลได้ ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นนัดสุดท้าย ผู้ประกันก็ยังมิได้ชำระค่าปรับแต่มาแถลงต่อศาลขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีกซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน คำสั่งดังกล่าวมีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง ดังนั้น การอุทธรณ์ของผู้ประกันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์และการนับระยะเวลา - วันหยุดราชการ
ป.พ.พ.มาตรา 193/8 บัญญัติว่า "ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการ จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดวันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/8 มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 6