พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาขัดกำหนดระยะเวลาและขาดเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกามีอำนาจยกเรื่องขึ้นพิจารณา
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาแต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2เมื่อภายหลังจากระยะเวลายื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),242(1),246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดและคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อภายหลังจากระยะเวลาการยื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆ ไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามป.วิ.พ.มาตรา 247 และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),242 (1), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดี, เหตุผลล้มละลาย, และการปล่อยปละละเลยเจ้าหนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การบังคับคดีหมดอายุ & เหตุไม่ควรล้มละลาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหมดอายุและผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
ป.วิ.พ.มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาลาไปศึกษา การชดใช้เบี้ยปรับ การปฏิบัติหน้าที่ และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี และจำเลยที่ 1 ได้สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ไปรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ตามที่ระบุในหนังสือส่งตัวเพราะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งปกติผู้บริหารของโรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ไปปฏิบัติราชการหากจำเลยที่ 1 ไปโรงพยาบาลตำรวจในวันนั้นก็คงจะไม่สามารถรายงานตัวได้เพราะไม่มีผู้บริหารของโรงพยาบาลคือผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจไปปฏิบัติราชการ ทั้งไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวในวันที่3 มิถุนายน 2534 อันเป็นวันเริ่มเปิดทำการและเป็นโอกาสแรกที่จำเลยที่ 1สามารถไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1ได้ไปรายงานตัวตามหนังสือส่งตัวแล้ว โจทก์จะนับวันที่ 1 และวันที่ 2 มิถุนายน2534 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 รอไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาไม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง 3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้ จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้ จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือน และในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้ การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน 393,879.50 บาทภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษจึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง 3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้ จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้ จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือน และในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้ การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน 393,879.50 บาทภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษจึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลาศึกษา: เบี้ยปรับ, การคืนเงิน, และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี และจำเลยที่ 1ได้สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1ไม่ไปรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ตามที่ระบุในหนังสือส่งตัวเพราะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งปกติผู้บริหารของโรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ไปปฏิบัติราชการหากจำเลยที่ 1 ไปโรงพยาบาลตำรวจในวันนั้นก็คงจะไม่สามารถรายงานตัวได้เพราะไม่มีผู้บริการของโรงพยาบาลคือผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจไปปฏิบัติราชการ ทั้งไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวในวันที่3 มิถุนายน 2534 อันเป็นวันเริ่มเปิดทำการและเป็นโอกาสแรกที่จำเลยที่ 1 สามารถไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปรายงานตัวตามหนังสือส่งตัวแล้วโจทก์จะนับวันที่ 1 และวันที่ 2 มิถุนายน 2534 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 รอไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือนและในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตาม หนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้ การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่า จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน393,879.50 บาท ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษ จึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1 ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาที่ถูกต้องและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่19สิงหาคม2537ขอขยายระยะเวลามีกำหนด15วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้องจึงครบกำหนดเวลาที่ได้อนุญาตวันที่3กันยายน2537ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่5กันยายน2537อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตามแต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ1ตั้งแต่วันที่4กันยายน2537เมื่อขอขยายเวลาอีก15วันจึงครบกำหนดในวันที่18กันยายน2537ซึ่งเป็นวันอาทิตย์หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่19กันยายน2537ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่20กันยายน2537จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าวกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 ขอขยายระยะเวลามีกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง จึงครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตวันที่ 3 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 4กันยายน 2537 เมื่อขอขยายเวลาอีก 15 วัน จึงครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน2537 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก