พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและต้องยื่นก่อนครบกำหนด ศาลไม่อนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมเหตุสมผล
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 วันที่ครบกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง คือ วันที่ 9 ตุลาคม2537 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ ดังนั้น วันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ คือ วันที่ 10 ตุลาคม 2537 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3 วัน อ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อน จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษและเหตุผลที่รับฟังได้
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่9กันยายน2537วันที่ครบกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟ้องคือวันที่9ตุลาคม2537เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการดังนั้นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คือวันที่10ตุลาคม2537โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3วันอ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อนจำเลยก็ให้การรับสารภาพข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3205/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน - ผู้ผิดนัด - วันหยุดราชการ - การจดทะเบียน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏว่า วันที่ 31ธันวาคม 2533 เป็นวันหยุดราชการ ก่อนถึงวันนัดโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 โดยจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2533 จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความในวันหยุดราชการและการยอมรับวิธีการชำระหนี้
วันสุดท้ายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้นตรงกับวันเสาร์และวันถัดมาเป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการตามปกติทั้งสองวันจำเลยจึงขอปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ในวันแรกที่ทางราชการเปิดทำการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การรับผิดส่วนตัวจากการจ้าง, และการชำระหนี้บางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยที่2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ได้ว่าจ้างให้โจทก์ทำงานตกแต่งห้องชุดมิได้ให้การว่าโจทก์มิได้ทำงานให้ตามรายการหนึ่งรายการใดคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทำงานครบถ้วนตามรายการหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว จำเลยที่2มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1ในขณะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2จ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่1จึงผูกพันจำเลยที่2เป็นส่วนตัวดังนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดเป็นส่วนตัวจึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็นเพราะฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างโจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างอายุความ2ปีโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานในกำหนดการที่จำเลยที่2ชำระค่าจ้างบางส่วนให้แก่โจทก์ภายในกำหนดอายุความจึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงและ เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเมื่อวันครบกำหนดอายุความเป็น วันหยุดราชการ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีในวันที่เริ่มทำงานใหม่ดังนั้นคดีจึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเจ้าหน้าที่ศาลจะทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและหามีผลให้รายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นรายงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่20พฤศจิกายน2534โจทก์จะต้องมีคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดในวันที่5ธันวาคม2534แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอได้ในวันที่6ธันวาคม2534แม้ในวันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศาลจะรายงานต่อศาลว่าครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองจะต้องยื่นคำให้การมานานแล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งไม่ถูกต้องแต่เมื่อช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มีคำขอข้างต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในวันที่9ธันวาคม2534ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันครบกำหนดให้โจทก์มีคำขอจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม