คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 31 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงการรับหมายศาลไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล หากยังเซ็นรับหมายได้
ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(3) จะต้องเป็นการหลีกเลี่ยงไม่รับหมายของศาล (อ้างฎีกาที่ 102/2507)
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าพนักงานที่ไปส่งหมายเรียกของศาลได้พบจำเลยและแจ้งให้จำเลยทราบว่าจะส่งหมายให้แล้ว จำเลยกลับกินข้าวเสียและแกล้งพูดโยกโย้ อันเป็นการแสดงว่าจำเลยแกล้งถ่วงเวลา แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้หลบหลีกไปเสียให้พ้น คงอยู่บนเรือนของจำเลยและได้เซ็นรับหมายเรียกของศาลไว้ เช่นนี้คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้หลีกเลี่ยงไม่รับหมายของศาล จึงไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงการรับหมายศาลไม่ถึงขั้นละเมิดอำนาจศาล หากยังเซ็นรับหมายได้
ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(3) จะต้องเป็นการหลีกเลี่ยง ไม่รับหมายของศาล (อ้างฎีกาที่ 102/2507)
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าพนักงานที่ไปส่งหมายเรียกของศาลได้พบจำเลยและแจ้งให้จำเลยทราบว่าจะส่งหมายให้แล้ว จำเลยกลับกินข้าวเสียและแกล้งพูดโยกโย้ อันเป็นการแสดงว่าจำเลยแกล้งถ่วงเวลา แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้หลบหลีกไปเสียให้พ้น คงอยู่บนเรือนของจำเลยและได้เซ็นรับหมายเรียกของศาลไว้ เช่นนี้คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้หลีกเลี่ยงไม่รับหมายของศาล จึงไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ทนายยุยงให้ตัวความหลีกเลี่ยงหมายศาล ศาลฎีกาพิพากษายืนโทษ
ทนายจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แนะนำไม่ให้จำเลยมาศาลเพื่อฟังคำสั่งศาลและเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้จำเลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับหมายต่างๆ ของศาลศาลชั้นต้นจึงได้ทำการไต่สวนในข้อหาว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และได้มีคำสั่งให้ทนายจำเลยมาศาลด้วยตนเองทุกนัดที่มีการนัดไต่สวนกรณีเช่นนี้ ทนายจำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยไม่มาศาลตามคำสั่งศาล จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา31(5)และ มาตรา 19
เมื่อปรากฏต่อศาลว่า ผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาล หรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใดศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่า ทนายจำเลยกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลยศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาลครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาลดังนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่า ทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมาการกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา31(3)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2507)
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพนักงานอัยการฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน และสิทธิของเจ้าหนี้อายัติสิทธิเรียกร้อง
โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่กันโอนสิทธิ เรียกร้องนั้นจะเกิด ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้ ชนะคดีดังนี้ สัญญา สิทธิเรียกร้อง เช่นนี้เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เจ้าหนี้(ตามคำพิพากษา) ขอให้ศาลอายัติสิทธิเรียกร้องของผู้โอนไว้ก่อนเงื่อนไขสำเร็จ เจ้าหนี้ผู้อายัติกรรมสิทธิดีกว่าผู้รับโอน