คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 310

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากการอายัดเงินชั่วคราว: ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเกี่ยวกับเงินค่าก่อสร้างที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยโดยชอบก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกผู้จะต้องเสียหายเพราะคำสั่งอายัดนั้น ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องในปัญหาที่ว่าจะอายัดเงินดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองประโยชน์โจทก์ก่อนบังคับคดี: การไม่อนุญาตคืนเงินจำเลย
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วันเจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้องจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ไม่บริบูรณ์ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำให้ใช้ยันต่อ จ.พ.ท. ไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงการรับจ่ายเงินแล้วเสร็จ และได้โอนเงินของจำเลยที่เหลือ ตามที่โจทก์ในคดีนี้ขออายัดมาไว้ในคดีนี้เมื่อภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดและเพิ่งมีการส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้เมื่อเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2แล้ว ดังนี้ เมื่อการบังคับคดีแพ่งเรื่องนี้ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 จึงใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 จ.พ.ท.จึงมีอำนาจจัดการเงินที่เหลือดังกล่าวรวมเข้าไปไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ โจทก์คดีนี้จะขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้โอนเงินที่ส่งมาตามที่อายัดไปไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ในคดีล้มละลายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อคดีบังคับคดียังไม่บริบูรณ์
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงการรับจ่ายเงินแล้วเสร็จ และได้โอนเงินของจำเลยที่เหลือ ตามที่โจทก์ในคดีนี้ขออายัดมาไว้ในคดีนี้เมื่อภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดและเพิ่งมีการส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้เมื่อเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 แล้ว ดังนี้ เมื่อการบังคับคดีแพ่งเรื่องนี้ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2จึงใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 จ.พ.ท.จึงมีอำนาจจัดการเงินที่เหลือดังกล่าวรวมเข้าไปไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ โจทก์คดีนี้จะขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้โอนเงินที่ส่งมาตามที่อายัดไปไว้ในกองทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 2 ในคดีล้มละลายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของกองทุนป้องกันปราบปรามยาเสพติดเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และผลกระทบต่อการบังคับคดี
บัตรกำนัล มีดอกเบี้ย ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 16(4) และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้ และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัล ดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่มีการริบ ดังนี้ แม้บัตรกำนัล ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าศาลสั่งริบบัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัล ดังกล่าวนี้ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่น ๆ ตามมาตรา 287 โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัล ดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ลำดับความสำคัญระหว่างเจ้าหนี้และกองทุนปราบปรามยาเสพติด
บัตรกำนัลมีดอกเบี้ยที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 16 (4) และ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้ และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัลดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่มีการริบ ดังนี้ แม้บัตรกำนัลดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าศาลสั่งริบ บัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัลดังกล่าวนี้ กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 287 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่น ๆ ตามมาตรา 287 โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัลดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด: ลำดับความสำคัญระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและกองทุนป้องกันปราบปรามยาเสพติด
บัตรกำนัลมีดอกเบี้ยที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา16(4)และมาตรา22แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัลดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการริบดังนี้แม้บัตรกำนัลดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตามแต่ถ้าศาลสั่งริบบัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัลดังกล่าวนี้กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่นๆตามมาตรา287โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัลดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว
of 4