คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 205

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดนอกคำขอฟ้อง: ข้อจำกัดในการลงโทษนอกประเด็นที่โจทก์บรรยาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาทจาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ.ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฎว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการลงโทษนอกคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่าจำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ. ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้เพราะเกินคำขอ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 204,205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเจ้าพนักงานตำรวจสิบเวร แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย ยังคงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้คุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไปการที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นนายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม (อ้างนัยฎีกา 105/2506)แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไปเช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลังๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใดเพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีกเมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของคำสั่งที่ขาดตอนและการกลับมาควบคุมโดยชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้ควบคุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไป การที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว หากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น นายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม(อ้างนัยฎีกา 105/2506) แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไป เช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลัง ๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใด เพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของเจ้าพนักงานคุมขัง ทำให้นักโทษหลบหนี การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
จำเลยที่ 1 เป็นเวรควบคุมนักโทษในแดน 1 ตั้งแต่ 12.00 - 18.00 นาฬิกา ก่อนจะออกเวรพ้นหน้าที่จะต้องมอบหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในแดน 1 มอบหน้าที่ยามภายนอกและลูกกุญแจตึกขังให้นายสุดใจผู้จะมารับหน้าที่ต่อ แต่เมื่อใกล้ 18.00 นาฬิกา จำเลยที่ 2 มารับหน้าที่คนเดียว จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในห้องขังใส่กุญแจตึกขังแล้ว ฝากลูกกุญแจตึกขังไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วละทิ้งหน้าที่ไป เป็นช่องทางให้นักโทษใช้อุบายออกจากห้องขังแล้วจับหรือบังคับจำเลยที่ 2 ให้มอบลูกกุญแจไขตึกขังหลบหนีการควบคุมไปได้ ดังนี้ เป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ผิดตามมาตรา 205
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอก ในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 วรรคท้ายเป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการควบคุมนักโทษ ทำให้เกิดเหตุหลบหนีและเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นเวรควบคุมนักโทษในแดน 1 ตั้งแต่ 12.00-18.00 นาฬิกา ก่อนจะออกเวรพ้นหน้าที่จะต้องมอบหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในแดน1 มอบหน้าที่ยามภายนอกและลูกกุญแจตึกขังให้นายสุดใจผู้จะมารับหน้าที่ต่อ แต่เมื่อใกล้ 18.00 นาฬิกา จำเลยที่ 2 มารับหน้าที่คนเดียว จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในห้องขังใส่กุญแจตึกขังแล้ว ฝากลูกกุญแจตึกขังไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วละทิ้งหน้าที่ไป เป็นช่องทางให้นักโทษใช้อุบายออกจากห้องขังแล้วจับหรือบังคับจำเลยที่ 2 ให้มอบลูกกุญแจไขตึกขังหลบหนีการควบคุมไปได้ ดังนี้ เป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ผิดตามมาตรา 205
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขังตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้ เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอกในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 วรรคท้าย เป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเงินตราด้วยโลหะเลวกว่าเงิน ลดหย่อนโทษตามกฎหมาย
มีเครื่องมือทำสตางค์ 5 ปลอมผิดตามมาตรา 205 ประกอบด้วยมาตรา 208 เพราะโลหะที่ใช้ทำสตางค์ปลอมเป็นโลหะที่เลวกว่าเงิน จำเลยมิได้ยกเรื่องสอบสวนขึ้นคัดค้านในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นคัดค้านในชั้นศาลฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยกฟ้อง - ไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย
ยกฟ้อง