พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดในหนี้สิน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบหนี้ห้างหุ้นส่วน: โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ล้มละลายจากหนี้ของห้างหุ้นส่วนได้ แม้ไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากร โจทก์จึงนำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ได้ การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ย่อมอุทธรณ์เฉพาะคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่ 1ด้วย เพียงแต่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 ตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 บัญญัติไว้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 89 ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยที่ 2ล้มละลายแต่ลำพังไม่ได้และไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิการอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยที่ 1เป็นหนี้ภาษีอากร โจทก์จึงนำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยที่ 2แต่เพียงผู้เดียวขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9ได้ การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ย่อมอุทธรณ์เฉพาะคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ด้วย เพียงแต่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 บัญญัติไว้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 89 ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแต่ลำพังไม่ได้และไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ร่วมของห้างหุ้นส่วน และการจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องรับผิดในหนี้สินร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. เป็นหนี้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น 190,000 บาทเศษ โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ทั้งหมดดังกล่าวได้
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่1ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับกรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามการที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2528ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์และจำเลยที่1มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาและการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรจากหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว แต่ส่งไม่ได้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับ กรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม การที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไป จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะทางการเงินในคดีล้มละลาย
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนแม้หลังเลิกไป ทรัพย์มรดกถูกบังคับชำระหนี้ภาษี
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.