พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนแม้หลังเลิกไป ทรัพย์มรดกถูกบังคับชำระหนี้ภาษี
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากกองมรดก
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.มีส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียว ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. มีหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งจะต้องชำระแก่จำเลยแต่ห้างฯ ไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 บัญญัติให้เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกให้ชำระเอาแต่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ เมื่อห้างฯ ดังกล่าวเป็นอันเลิกไปโดยผลของกฎหมายเพราะ ส.ตายส. จึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นอย่างไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077(2) ซึ่งย่อมรวมถึงหนี้ภาษีอากรค้างด้วย ทรัพย์สินกองมรดกของ ส. จึงตก เป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยจึงชอบที่จะยึดทรัพย์สินดังกล่าวของ ส. เพื่อบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วน: ผลกระทบต่อความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วและหุ้นส่วนที่ยังคงเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยในคดีล้มละลาย: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้ว vs. หุ้นส่วนที่ยังคงเป็นอยู่
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แม้ไม่ได้ครอบครองรถ
เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจำเลยที่4ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกก็แต่เฉพาะในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้นแต่กำหนดไว้เพียงว่าเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยดังนั้นแม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่3ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ครอบครองและใช้รถยนต์เพราะได้ให้จำเลยที่2เช่าซื้อไปแต่จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2ตามป.พ.พ.มาตรา1070,1077(2)ประกอบด้วยมาตรา1080เมื่อจำเลยที่3ยังต้องรับผิดดังกล่าวจำเลยที่4จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วย ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้นฉะนั้นเมื่อจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์จำเลยที่4ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามกรมธรรม์ แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ครอบครองรถ แต่เกิดละเมิดจากการใช้งาน
เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกก็แต่เฉพาะในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จะไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ครอบครองและใช้รถยนต์เพราะได้ให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไป แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดดังกล่าว จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วย.
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2529)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยเช่าซื้อรถยนต์ และความคุ้มครองค่าเช่ารถ/ขาดประโยชน์
เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจำเลยที่4ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกก็แต่เฉพาะในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้นดังนั้นแม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่3ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ครอบครองและใช้รถยนต์เพราะได้ให้จำเลยที่2เช่าซื้อไปแต่จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่3ยังต้องรับผิดดังกล่าวจำเลยที่4จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วย. ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้นฉะนั้นเมื่อจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์จำเลยที่4ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย. (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2529).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชน ต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลน ตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาด ของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหาย แก่จำเลยที่ 1เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญา กับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดิน ของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา จ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษา รุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้น จะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย