พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา การฟ้องคดีเดิมซ้ำต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยในข้อหาว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่1ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์และโจทก์ได้สั่งให้จำเลยที่1ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1จึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1เท่าใดศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่1เพราะจำเลยที่1ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้วจึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไปแต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม จำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่1จึงมีผลถึงจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, การรับช่วงสิทธิ, และการฟ้องล้มละลายจากหนี้ส่วนตัวและหนี้ของห้างหุ้นส่วน
หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2ให้ล้มละลายในคดีก่อนนั้น เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลหนี้ส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ แม้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกฟ้องด้วย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เจ้าหนี้โดยตรงของจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ที่อาจใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดคนใดคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070,1080 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้ร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วไม่ชำระโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการขอให้ล้มละลายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วมกับหนี้ห้างหุ้นส่วน: การขอให้ล้มละลายแม้การถอนตัวยังไม่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ของห้างฯ แม้เจ้าหนี้ยังไม่ทวงถาม หรือห้างฯ ไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหน้าที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตาม มาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วน จำกัด ท. เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่า เจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างฯ แม้ยังไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.94
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตามมาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้นซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตามฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้, เบี้ยปรับ, การแปลงหนี้, การบังคับจำนอง, และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
ธนาคารให้กู้เงินคิดดอกเบี้ยร้อยละ 9 ต่อปี มีข้อสัญญาว่าถ้าผิดนัดให้เรียกเบี้ยปรับร้อยละ 6 ต่อปี ดังนี้ ไม่ขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯไม่เป็นโมฆะ ศาลลดลงเป็นให้ชำระร้อยละ 3 ได้
หนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระ และเจ้าหนี้อนุมัติ ไม่มีการเปลี่ยนสารสำคัญแห่งหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ จำนองไม่ระงับ
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ที่ห้างกู้เงินผู้จำนองประกันหนี้ของห้างไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างต้องบังคับชำระหนี้เงินกู้ก่อน จึงจะบังคับหนี้จำนองอันเป็นอุปกรณ์
บรรยายฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ตอนท้ายอ้างบันทึกรับสภาพหนี้ เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงให้ชัดขึ้นไม่ขัดแย้งไม่เคลือบคลุม
หนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระ และเจ้าหนี้อนุมัติ ไม่มีการเปลี่ยนสารสำคัญแห่งหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ จำนองไม่ระงับ
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ที่ห้างกู้เงินผู้จำนองประกันหนี้ของห้างไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างต้องบังคับชำระหนี้เงินกู้ก่อน จึงจะบังคับหนี้จำนองอันเป็นอุปกรณ์
บรรยายฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ตอนท้ายอ้างบันทึกรับสภาพหนี้ เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงให้ชัดขึ้นไม่ขัดแย้งไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การฟ้องไม่ระบุความผิดนัดของนิติบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวปรากฏว่า เป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ซื้อ คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนอันเป็นนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ว่า ได้ผิดนัดแล้วหรือกล่าวว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลยนั้น คำฟ้องคดีนี้บังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดเป็นส่วนตัวในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 / 2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การฟ้องคดีโดยไม่ระบุความรับผิดของนิติบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวปรากฏว่าเป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ซื้อ คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนอันเป็นนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ว่า ได้ผิดนัดแล้วหรือกล่าวว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลยนั้นคำฟ้องคดีนี้บังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดเป็นส่วนตัวในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)