พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360-361/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่เห็นชอบแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ เหตุเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์น้อยกว่าล้มละลาย สั่งกลับไปผูกพันแผนเดิม
ผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ทั้งยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์หลักประกัน
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้จำนองเป็นประกัน และมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ในกรณีบังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ หรือในกรณีผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิและราคาทรัพย์ที่จำนองต่ำกว่าจำนวนหนี้อยู่เท่าใด ลูกหนี้ผู้จำนองยอมชำระหนี้ที่ขาดนั้นจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ผู้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และหากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) หรือ (4) ซึ่งหมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันเหล่านี้จะต้องได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หนี้ส่วนที่เหลือจึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 130 (7) และการที่แผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เป็นเจ้าหนี้มีประกันในกลุ่มที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 ทวิ (2) ก็ย่อมแสดงว่าในจำนวนหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกันนั้น นอกจากนี้เจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการก็ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/28 และแม้ว่าในระหว่างลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีประกันจะถูกจำกัดสิทธิมิให้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ แต่การจำกัดสิทธินั้นจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (6) และมาตรา 90/13 แผนฟื้นฟูกิจการจึงต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันโดยเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผนจะต้องได้รับชำระหนี้เมื่อดำเนินการสำเร็จตามแผนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3)
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ทำแผนจัดทำโดยไม่สุจริต เอื้อประโยชน์เจ้าหนี้กลุ่มหนึ่ง
การที่กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตรา 90/58 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม และเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย อันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้ เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจโดยใช้อำนาจตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้เสียงข้างน้อยด้วย และเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บรรดาเจ้าหนี้ทุกรายอย่างเป็นธรรม ศาลจึงมีอำนาจในการตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผน ตลอดจนความสุจริตในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการด้วย
เมื่อลูกหนี้ผู้ทำแผนทราบอยู่ก่อนจัดทำแผนแล้วว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 ลูกหนี้จึงไม่มีภาระผูกพันใดๆ ในอันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 แต่ลูกหนี้กลับจัดทำแผนโดยกำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งเจ็ดรายดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในอัตราร้อยละ 100 อันเป็นการขัดแย้งกับคำสั่งซึ่งถึงที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่งผลให้ลูกหนี้มีภาระผูกพันตามแผนที่จะต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงรายที่ 12 ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้และบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมการของลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/32 โดยชัดแจ้ง ทั้งมิใช่การจัดทำแผนที่รับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/61 (1) พฤติการณ์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ส่อไปในทางไม่สุจริต เมื่อลูกหนี้จัดทำและเสนอแผนโดยไม่สุจริต แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อลูกหนี้ผู้ทำแผนทราบอยู่ก่อนจัดทำแผนแล้วว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 ลูกหนี้จึงไม่มีภาระผูกพันใดๆ ในอันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 แต่ลูกหนี้กลับจัดทำแผนโดยกำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งเจ็ดรายดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในอัตราร้อยละ 100 อันเป็นการขัดแย้งกับคำสั่งซึ่งถึงที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่งผลให้ลูกหนี้มีภาระผูกพันตามแผนที่จะต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงรายที่ 12 ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้และบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมการของลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/32 โดยชัดแจ้ง ทั้งมิใช่การจัดทำแผนที่รับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/61 (1) พฤติการณ์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ส่อไปในทางไม่สุจริต เมื่อลูกหนี้จัดทำและเสนอแผนโดยไม่สุจริต แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องแสดงมูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริง การปรับลดมูลค่าโดยไม่สมเหตุผลทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์
การพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ในชั้นพิจารณาแผนว่าการลงรายการในแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนสินทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ถูกต้อง ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่นำสืบว่าแผนนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ต่ำเกินจริงในแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้เท่ากรณีล้มละลาย ศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วย
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ กำหนดให้ผู้ทำแผนส่งแผนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการนั้นหรือไม่ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแล้วก็ให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่งว่าแผนที่ผู้ทำแผนเสนอมานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้และมีโอกาสสำเร็จ
เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตามมาตรา 90/56 กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจในอันที่จะควบคุมดูแลให้กระบวนฟื้นฟูกิจการดำเนินการไปด้วยความเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยรวมและหากแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะครบถ้วนตามมาตรา 90/58 กำหนด ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำอันจะต้องมีก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจให้ความเห็นด้วยแผนได้ในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาในรายละเอียดเนื้อหาของแผนตลอดจนความสุจริตในการทำแผนนั้นด้วย
การศึกษาและวิเคราะห์ธุรกิจของลูกหนี้จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จ เหตุที่แผนกำหนดให้ลูกหนี้ออกหุ้นสามัญจำนวน29,623,672 หุ้น ในราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทพ. ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้นนั้น เนื่องจากเป็นราคาที่ใช้ในการตกลงรวมกิจการระหว่างลูกหนี้และบริษัท พ. โดยถือว่าธุรกิจของบริษัท พ. มีมูลค่าที่ในอัตราร้อยละ 80 และธุรกิจของลูกหนี้เดิมมีมูลค่าที่ร้อยละ 20 ของธุรกิจโดยรวมภายหลังรวมกิจการ ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการลดทุนลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้ฐานะของลูกหนี้เหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป ถ้าไม่มีการรวมกิจการลูกหนี้จะไม่มีรายได้ จะทำให้มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะทยอยหมดลงในที่สุดมูลค่ากิจการของลูกหนี้ก่อนการรวมกิจการจึงต่ำมากสำหรับธุรกิจปัจจุบันของบริษัท พ. เป็นธุรกิจที่มีกำไร การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เข้ามาถือหุ้นในกิจการลูกหนี้ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 80:20 เป็นข้อตกลงที่เป็นธรรมและให้ประโยชน์ต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ไม่ทำให้กลุ่มเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้จะต้องถูกแปลงเป็นทุนเสียเปรียบแต่อย่างใด
ในกระบวนพิจารณาแผนไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการมาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่า กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอแก้ไขแผนนั้น เจ้าหนี้จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/45 และการที่ศาลจะพิจารณาแผนที่มีการแก้ไขแล้วได้นั้นจะต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้มาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46แต่การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลในการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เมื่อได้คำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการดำเนินการต่อไปได้ ทั้งกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้รับคำขอแก้ไขแผนที่ยื่นล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งชอบด้วยแผนหรือไม่ ได้ เมื่อเจ้าหนี้ได้ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการล่วงเลยระยะเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/45 และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรที่จะให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาข้อเสนอในการขอแก้ไขแผนของเจ้าหนี้อีก
การศึกษาและวิเคราะห์ธุรกิจของลูกหนี้จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จ เหตุที่แผนกำหนดให้ลูกหนี้ออกหุ้นสามัญจำนวน29,623,672 หุ้น ในราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทพ. ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้นนั้น เนื่องจากเป็นราคาที่ใช้ในการตกลงรวมกิจการระหว่างลูกหนี้และบริษัท พ. โดยถือว่าธุรกิจของบริษัท พ. มีมูลค่าที่ในอัตราร้อยละ 80 และธุรกิจของลูกหนี้เดิมมีมูลค่าที่ร้อยละ 20 ของธุรกิจโดยรวมภายหลังรวมกิจการ ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการลดทุนลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้ฐานะของลูกหนี้เหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป ถ้าไม่มีการรวมกิจการลูกหนี้จะไม่มีรายได้ จะทำให้มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะทยอยหมดลงในที่สุดมูลค่ากิจการของลูกหนี้ก่อนการรวมกิจการจึงต่ำมากสำหรับธุรกิจปัจจุบันของบริษัท พ. เป็นธุรกิจที่มีกำไร การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เข้ามาถือหุ้นในกิจการลูกหนี้ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 80:20 เป็นข้อตกลงที่เป็นธรรมและให้ประโยชน์ต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ไม่ทำให้กลุ่มเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้จะต้องถูกแปลงเป็นทุนเสียเปรียบแต่อย่างใด
ในกระบวนพิจารณาแผนไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการมาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่า กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอแก้ไขแผนนั้น เจ้าหนี้จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/45 และการที่ศาลจะพิจารณาแผนที่มีการแก้ไขแล้วได้นั้นจะต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้มาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46แต่การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลในการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เมื่อได้คำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการดำเนินการต่อไปได้ ทั้งกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้รับคำขอแก้ไขแผนที่ยื่นล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งชอบด้วยแผนหรือไม่ ได้ เมื่อเจ้าหนี้ได้ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการล่วงเลยระยะเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/45 และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรที่จะให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาข้อเสนอในการขอแก้ไขแผนของเจ้าหนี้อีก