คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำเลยในคดีเสพยาเสพติด โดยคำนึงถึงกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และสิทธิในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 19 ผู้ติดยาเสพติดที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะต้องเป็นเพียงผู้ต้องหา มิใช่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่า โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการรับปากช่วยฝากเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก ศาลฎีกายืนยันผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยตกลงกับ ร.ว่าถ้าให้เงิน60,000บาทบุตรของร.จะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ร. ได้ต่อรองเหลือ 50,000 บาทและ ร.ได้มอบเงินแก่จำเลยจนครบถ้วนแล้วแต่ต่อมาบุตรของร.สอบเข้าเรียนไม่ได้ เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ก็เป็นการหลอกลวง ร.ทั้งไม่ปรากฏว่าร. ได้ให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการสอบคัดเลือกให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรของ ร.จึงเป็นการหลอกลวงร. เพื่อต้องการได้เงินจาก ร.เท่านั้นไม่ถือว่าร. ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดร. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงและได้รับเงินไปจากผู้เสียหายหรือไม่ เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การกับพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา: คำให้การใหม่ย่อมใช้ได้ โจทก์ไม่อาจอ้างคำรับเดิม
เมื่อจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว จำเลยจะให้การเท็จจริงอย่างไรหรือไม่ให้การอะไรก็ได้ ไม่มีกฎหมายใดบังคับดังนั้น โจทก์จะอ้างคำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยได้ปฏิเสธ ให้เห็นว่าคำเบิกความชั้นศาลของจำเลยเป็นความจริงมาใช้ประกอบเพื่อให้ฟังว่าข้อความที่จำเลยให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนหมายเรียกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หากมีเหตุผลอันควรหรือมีการใช้สิทธิไม่ให้การ
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆไม่ได้และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (2)แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใด ๆ ไม่ได้ และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จของผู้ต้องหา: การกล่าวแก้ข้อหาไม่ใช่ความเท็จ
ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหา หรือ เสมือนผู้ต้องหา จำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จในฐานะผู้ต้องหา: การให้ข้อมูลเท็จระหว่างถูกสอบสวนไม่ใช่ความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหาหรือเสมือนผู้ต้องหาจำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแทนกันไม่ได้ในความผิดอาญา แม้จะได้รับมอบหมายจากเจ้าของกระบือ
ในความผิดทางอาญานั้นบุคคลจะเป็นจำเลยแทนกันไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแทนกันไม่ได้ในความผิดอาญา แม้จะทำหน้าที่แทนเจ้าของกระบือ
ในความผิดทางอาญานั้นบุคคลจะเป็นจำเลยแทนกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: ผู้ต้องหาร่วมในคดีอาญา - การตีความ 'ผู้ต้องหา' ตามประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด
คำว่า "ผู้ต้องหา" ในประกาศผู้บัญชาการทหารสูงสุดเรื่องอำนาจศาลทหารนั้นหมายถึงผู้ต้องหาในคดีที่ขึ้นมาสู่ศาลแล้ว คือจำเลยนั้นเอง คดีที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทำผิดร่วมกับพลตำรวจอีก 2 นาย (พลตำรวจอยู่ในอำนาจศาลทหาร)แต่โจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียว มิได้ฟ้องพลตำรวจด้วย คดีเช่นนี้อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน หาได้อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2486)
of 2