คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 133

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน ทำให้การโอนเป็นโมฆะ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การโอนขายห้องพิพาทโดยผู้รับโอนจะใช้เป็นที่ค้าขาย มิใช่เพื่อรื้อเอาไป ห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อการโอนขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่กระทบ
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดามารดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตามการสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่อาจแก้ไขได้
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตาม การสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมจำนองที่ดินมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของนาง บ. ได้ซื้อที่ดินพิพาทในคดีนี้มาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับนาง บ. เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีหนังสือสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับนาง บ. ที่ทำไว้เป็นพิเศษก่อนสมรสอันจะให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 มาแสดงจึงต้องสันนิษฐานว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับนาง บ. เมื่อนาง บ. ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทแบ่งส่วนสินสมรสของจำเลยที่ 1 ออกแล้ว ส่วนของนาง บ. ย่อมเป็นกองมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของนาง บ. กำลังฟ้องจำเลยที่ 1 ขอแบ่งทรัพย์มรดกของนาง บ. ซึ่งมีที่ดิน พิพาทแปลงนี้รวมอยู่ด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทดังกล่าวไปจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 ในขณะที่กำลังพิพาทเป็นความเรื่องมรดกกับโจทก์อยู่โดยการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยที่ 2 อันเป็นโมฆะกรรม เช่นนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133 โดยฟ้องขอให้เพิกถอนโมฆะกรรมนี้เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมจำนองที่ดินมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของนาง บ. ได้ซื้อที่ดินพิพาทในคดีนี้มาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับนาง บ. เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหนังสือสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับนาง บ. ที่ทำไว้เป็นพิเศษก่อนสมรสอันจะให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 มาแสดงจึงต้องสันนิษฐานว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับนาง บ. เมื่อนาง บ. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทแบ่งส่วนสินสมรสของจำเลยที่ 1 ออกแล้ว ส่วนของนาง บ. ย่อมเป็นกองมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของนาง บ. กำลังฟ้องจำเลยที่ 1 ขอแบ่งทรัพย์มรดกของนาง บ. ซึ่งมีที่ดินพิพาทแปลงนี้รวมอยู่ด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทดังกล่าวไปจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 ในขณะที่กำลังพิพาทเป็นความเรื่องมรดกกับโจทก์อยู่โดยการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยที่ 2 อันเป็นโมฆะกรรม เช่นนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133 โดยฟ้องขอให้เพิกถอนโมฆะกรรมนี้เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้รับมรดก และผลของการครอบครองทรัพย์สินของผู้เช่า
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาทและเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้วย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า: สิทธิครอบครองของผู้ให้เช่าแม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาทและเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครอง ตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133 เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้จากสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่า จำเลยที่ 2 มีสามีเป็นคนต่างด้าวรับซื้อที่ดินของโจทก์ไปเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะนั้นมีผลเป็นการฟ้องเรียกเอาคืน ซึ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า หนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะซึ่งมีผลเป็นการเรียกที่ดินคืน และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ทั้งตามฎีกาของโจทก์ยังขอให้พิพากษาให้โจทก์ได้กลับคืนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามเดิมด้วย กรณีจึงเป็นการเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้
การฟ้องเรียกที่ดินคืนฐานลาภมิควรได้เนื่องแต่โมฆะกรรม โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ โจทก์รู้ถึงสิทธิเรียกคืนหรือภายในสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมอันเป็นโมฆะซึ่งสิทธิเรียกคืนได้มีขึ้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดิน และจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีสามีเป็นคนต่างด้าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 มาแต่เดิมหาได้ไม่เพราะมิได้เป็นการฟ้องแย้งโจทก์ แต่เป็นการฟ้องแย้งจำเลยด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้จากสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่า จำเลยที่ 2 มีสามีเป็นคนต่างด้าวรับซื้อที่ดินของโจทก์ไปเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะนั้นมีผลเป็นการฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า หนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะซึ่งมีผลเป็นการเรียกที่ดินคืน และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ทั้งตามฎีกาของโจทก์ยังขอให้พิพากษาให้โจทก์ได้กลับคืนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามเดิมด้วย กรณีจึงเป็นการเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้
การฟ้องเรียกที่ดินคืนฐานลาภมิควรได้เนื่องแต่โมฆะกรรม โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงสิทธิเรียกคืน หรือภายในสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมอันเป็นโมฆะซึ่งสิทธิเรียกคืนได้มีขึ้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดินและจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีสามีเป็นคนต่างด้าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น เป็นของจำเลยที่ 1 มาแต่เดิมหาได้ไม่เพราะมิได้เป็นการฟ้องแย้งโจทก์ แต่เป็นการฟ้องแย้งจำเลยด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำสัญญาจะขายที่ดิน แม้จะหลงเชื่อคำกล่าวอ้าง สัญญาจึงสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำกลฉ้อฉลว่า สัญญาที่จะให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นสัญญากู้ยืมเงิน 3,000 บาท แต่ความจริงเป็นสัญญาที่โจทก์จะขายที่ดินให้จำเลย โจทก์หลงเชื่อจึงลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะ ศาลรับฟ้องไว้พิจารณา
of 6