พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องโอนที่ดินยักยอกคืนกองมรดก หากไม่สามารถโอนได้จึงต้องใช้ราคา แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า"ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน4,974,987.50บาทแก่เจ้าของ"นั้นหมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคาหาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้วและจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นกรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์ยักยอกให้กองมรดก แม้เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว จำเลยต้องโอนทรัพย์หรือชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า "ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ" นั้น หมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดก หากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคา หาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่เข้าข่ายกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1745 ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่ต้องใช้บทบัญญัติเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผลกระทบต่ออายุความของทายาทโดยพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมหลังการเสียชีวิต
ขณะโจทก์ที่ 3 ยื่นฟ้องคดีสำนวนหลังปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตายไปแล้ว 2 คน คงเหลือผู้จัดการมรดก 3 คน คือจำเลยที่ 1 ก.และ ส.สำหรับก.และส. มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามและไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามคงมีจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งสามชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวได้ อายุความตามมาตรา 1754 นั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1755 โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. จำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. เป็นแต่เพียงผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวแทน การที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ลงในสารบัญจดทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของ ท. แทนทายาทด้วยกันทุกคน จำเลยที่ 1หามีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. ไม่ แม้จะถือว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อทายาทบางคน ก็คงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาที่ลงชื่อไว้ โจทก์ทั้งสามมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ต้องถูกผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ท.กับช. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะสมรสกัน ช. มีสินเดิมอยู่ด้วย ซ. จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรส 1 ใน 3 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ขณะ ท.ได้จำเลยที่2เป็นภริยาคนที่2ท.มีซ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกันหลายคนแล้ว ทั้งขณะนั้นท.มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นเมื่อจำเลยที่2เป็นภริยาท.ก็ช่วยเหลือทำงานในฐานะแม่บ้าน ไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมในการประกอบการค้ากับ ท. ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดมิได้เกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกับท. จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้ฎีกาโต้แย้งในข้อนี้ จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีหนี้ต่อกันเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ท.กับซ.อันถือได้ว่าเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 1462 แม้ตามปกติสามีจะมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้ก็ตาม แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาก็ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อน เว้นแต่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ตามมาตรา 1473(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการให้สินบริคณห์ที่เป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งตามกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ซ. ภริยาด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1476 การที่ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมทั้งที่ดินแปลงพิพาทมีราคาสูงอันเกินกว่าจะให้ในทางสมาคม ท.จึงไม่มีอำนาจโอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และสิทธิของ ซ.ในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน มิใช่การเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ซ. มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกต่อเนื่องจากผู้จัดการมรดกคนเดิม, การตีความพินัยกรรม, และสิทธิของผู้รับพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ตามคำสั่งศาล จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรม ป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดก จำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ของ ป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ ฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของ ฉ. สืบต่อจาก ป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.แต่ประการเดียว ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของ ฉ.ด้วยผู้หนึ่ง ได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้ว จำเลยปฏิเสธ สิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.