คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1720

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาท, การครอบครองทรัพย์สิน, และการตีความพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของฉ.ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ.จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ.สืบต่อจากป.และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป.แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ.ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป.ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป.แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ. ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: อำนาจฟ้องของผู้รับพินัยกรรมและหน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริง
ป. เป็นผู้จัดการมรดกของฉ. ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป. ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป. ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ. สืบต่อจากป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป. แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ. ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป. ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความต่อทายาทอื่น
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดก ถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาท็ก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องร้อง
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้ แม้การโอนจะอ้างเพื่อแบ่งปัน
คำฟ้องของโจทก์กล่าวโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ตามคำสั่งศาล สมคบกับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว แม้จะกล่าวว่าเป็นการฉ้อฉล ก็หาได้ทำให้สาระสำคัญของคำฟ้องเสียไปไม่ และโจทก์ไม่จำต้องกล่าวซ้ำอีกว่าจำเลยที่ 2 ใช้วิธีการฉ้อฉลอย่างไร การที่จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดมาเป็นของตนผู้เดียว ย่อมเป็นการกระทำที่ผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดก เป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกที่แบ่งโดยเจตนาของผู้ตาย การฟ้องแย่งคืนโฉนดจากผู้รับโอนจากการกระทำของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนอง และจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนายเงินจาก นั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338,15339และ 8104 ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีตัวแทนยืมโฉนดแล้วไม่คืน และการโอนมรดกที่ดินโดยเจตนาให้บุตร
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนองและจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง
แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนาย เงินจากนั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338, 15339และ 8104ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องภายใน 5 ปีนับจากจัดการมรดกสิ้นสุด
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โดยจำเลยอ้างว่าไม่มีพินัยกรรมถ้าปรากฏว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมก็เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตาม มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไม่เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม มาตรา 1733วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องภายใน 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุด
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โดยจำเลยอ้างว่าไม่มีพินัยกรรมถ้าปรากฏว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมก็เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตาม มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไม่เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการฟ้องขับไล่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความมรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
of 7