พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอายุความมรดกและการใช้สิทธิของเจ้าของรวม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดชอบเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาจำนอง, การรับสภาพหนี้, และการบังคับตามคำสั่งศาลของผู้จัดการมรดก
ระหว่างพิจารณา ธนาคารโจทก์ได้จดทะเบียนควบเข้ากับธนาคาร ก.เป็นบริษัทใหม่ ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมได้ไปทั้งสิทธิ และความรับผิดชอบบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1243 ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมเข้ามาดำเนินคดีแทน ธนาคารโจทก์ต่อไปได้ ไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินมรดกโดยผู้ไม่มีอำนาจ และผลของการไม่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานน้อยกว่าสามวันโดยมิได้ทำคำร้องแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นภายในกำหนดเวลาไม่ได้เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสพิจารณาเหตุผลของโจทก์ว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ดังนี้ ศาลจะสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์โดยเหตุผลเพียงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจ และไม่ทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสียเปรียบหาได้ไม่ เพราะข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีมีอยู่อย่างชัดแจ้ง
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดกขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดกขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินมรดกจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับผู้จัดการมรดกที่ถูกถอดถอน และผลของการไม่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้าง
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานน้อยกว่าสามวันโดยมิได้ทำคำร้องแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นภายในกำหนดเวลาไม่ได้. เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสพิจารณาเหตุผลของโจทก์ว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่. ดังนี้ ศาลจะสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์โดยเหตุผลเพียงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจ. และไม่ทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสียเปรียบหาได้ไม่. เพราะข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีมีอยู่อย่างชัดแจ้ง.
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก. ขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป. สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก. โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด. เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธ. ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ. จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่.
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก. ขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใดๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป. สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก. โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด. เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธ. ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ. จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831,1720 หรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยผู้จัดการมรดกที่ถูกถอดถอน
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานน้อยกว่าสามวันโดยมิได้ทำคำร้องแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นภายในกำหนดเวลาไม่ได้ เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสพิจารณาเหตุผลของโจทก์ว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ ดังนี้ ศาลจะสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์โดยเหตุผลเพียงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจ และไม่ทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสียเปรียบหาได้ไม่ เพราะข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีมีอยู่อย่างชัดแจ้ง
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก ขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้วจำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใด ๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831, 1720 หรือไม่
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า รถยนต์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินบริคณห์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก ขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้ถอดถอนจำเลยแล้วจำเลยไม่มีอำนาจทำนิติกรรมใด ๆ ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยไม่ผูกพันกองมรดก โจทก์มิได้กล่าวแก้ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 831, 1720 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอให้เรียกผู้จัดการมรดกมาสอบถามขึ้นอยู่กับการมีส่วนได้เสียในกองมรดกที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย
ยื่นฟ้องขอแบ่งมรดกไว้ แต่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ยังถือไม่ได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้น จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาสอบถามถึงเรื่องทรัพย์มรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 ประกอบกับมาตรา 1565 ให้อำนาจศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์มรดก แต่การที่จะเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงหรือไม่เป็นเรื่องของศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 ประกอบกับมาตรา 1565 ให้อำนาจศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์มรดก แต่การที่จะเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงหรือไม่เป็นเรื่องของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอข้อมูลทรัพย์มรดก: ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่ศาลวินิจฉัยแล้ว
ยื่นฟ้องขอแบ่งมรดกไว้ แต่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยังถือไม่ได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้น จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาสอบถามถึงเรื่องทรัพย์มรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1730 ประกอบกับมาตรา 1565 ให้อำนาจศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์มรดกแต่การที่จะเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงหรือไม่เป็นเรื่องของศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1730 ประกอบกับมาตรา 1565 ให้อำนาจศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์มรดกแต่การที่จะเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงหรือไม่เป็นเรื่องของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้