คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1720

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนทายาท, อายุความมิอาจอ้างตัดสิทธิการแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดก เพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้ว ผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใด ๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกหน้าที่แบ่งมรดก & ทายาทฟ้องร้องได้ แม้ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทน
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดกเพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้วผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใดๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปรับปรุงการจัดการมรดกตามพินัยกรรมเมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง และการตีความเจตนาผู้ทำพินัยกรรม
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจที่จะถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้
พินัยกรรมมีข้อความว่า ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดังกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้น เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้บุตร คือ 1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้น มิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไป หากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ4 ยังกล่าวอีกว่า ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วนที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัว ตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขการแบ่งผลประโยชน์จากมรดกตามพินัยกรรมเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจที่จะถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดั่งกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้นเวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้แก่บุตร คือ1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ" ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้นมิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไปหากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท" เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ 4 ยังกล่าวอีกว่า"ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วน ที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัวตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีทรัพย์สิน, การจัดการทรัพย์สินโดยผู้แทน, และดอกเบี้ยค้างชำระ
มารดาจัดการทรัพย์สินของบุตรในฐานะผู้แทนบุตรตลอดมาจนมารดาตาย บุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์สินอันเป็นส่วนได้ของตนจากผู้จัดการทรัพย์มฤดกของมารดาได้ คดีไม่มีขาดอายุความ
เมื่อได้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว คดีคงดำเนินอยู่ในศาลตลอดมา อายุความย่อมสดุดหยุดอยู่ จนกว่าจะได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปประการอื่น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้คำขอท้ายฟ้อง และได้เสียค่าธรรมเนียมใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งยอมให้รับคดีไว้พิจารณา ย่อมถือว่า เป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาล
ฟ้องเรียกเงินตามรายการต่างๆแต่คำขอท้ายฟ้องขอเรียกเป็นจำนวนน้อยกว่ารายการที่ระบุไว้ แต่ศาลสั่งให้เรียกค่าขึ้นศาลตามรายการที่ระบุไว้ ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นการปลดหนี้
เมื่อจำเลยไม่ต้องการเสียดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารราคดี จำเลยก็ต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่คิดว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ มิฉนั้นจะขอยกเว้นไม่เสียดอกเบี้ยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีทรัพย์สิน, การจัดการทรัพย์สินแทน, การแก้คำขอท้ายฟ้อง, และดอกเบี้ยค้างชำระ
มารดาจัดการทรัพย์สินของบุตรในฐานะผู้แทนบุตรตลอดมาจนมารดาตายบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์สินอันเป็นส่วนได้ของตนจากผู้จัดการทรัพย์มรดกของมารดาได้ คดีไม่มีขาดอายุความ
เมื่อได้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว คดีคงดำเนินอยู่ในศาลตลอดมา อายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าจะได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปประการอื่น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้คำขอท้ายฟ้อง และได้เสียค่าธรรมเนียมใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งยอมให้รับคดีไว้พิจารณา ย่อมถือว่า เป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาล
ฟ้องเรียกเงินตามรายการต่างๆ แต่คำขอท้ายฟ้องขอเรียกเป็นจำนวนน้อยกว่ารายการที่ระบุไว้ แต่แล้วศาลสั่งให้เรียกค่าขึ้นศาลตามรายการที่ระบุไว้ ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นการปลดหนี้
เมื่อจำเลยไม่ต้องการเสียดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่คิดว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ มิฉะนั้นจะขอยกเว้นไม่เสียดอกเบี้ยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาเจ้ามรดกชาวต่างชาติ และอายุความการแบ่งมรดก
คนบังคับเดนมาร์คแต่งงานกับหญิงไทย ตามกฎหมายไทยย่อมเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้อง. มรดกซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นไปตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก. ผู้จัดการมรดกมีฐานะเป็นตัวแทนทายาททุกคน จึงยกอายุความเสียสิทธิมาใช้ยันแก่ทายาทมิได้. ทายาทเข้าครอบครองมรดกภายใน 1 ปีแต่วันเจ้ามรดกตายและสงวนไว้เป็นของกลางร่วมกันโดยยังไม่ได้แบ่งปันกัน ย่อมฟ้องขอแบ่งเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต่างชาติในไทย: อายุความ และสิทธิทายาท
คนในบังคับเดนมาร์คแต่งงานกับหญิงไทย. ตามกฎหมายไทยย่อมเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้อง. มรดกซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นไปตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก. ผู้จัดการมรดกมีฐานะเป็นตัวแทนทายาททุกคน. จึงยกอายุความเสียสิทธิมาใช้ยันแก่ทายาทมิได้. ทายาทเข้าครอบครองมรดกภายใน 1 ปีแต่วันเจ้ามรดกตาย.และสงวนไว้เป็นของกลางร่วมกันโดยยังไม่ได้แบ่งปันกัน.ย่อมฟ้องขอแบ่งเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364-1365/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกแต่ละคนมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินของตนเอง ไม่ต้องรับผิดร่วมกันในส่วนของผู้อื่น
ผู้จัดการมฤดกตามพินัยกรรมแต่ละคนมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์กองมฤดกได้ ดังนี้การที่ผู้จัดการคนใดจำหน่ายทรัพย์สินและรับเงินไว้ผู้จัดการคนอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องในการรักษาเงินด้วยไม่ต้องรับผิด ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.84 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเปนผู้จัดการมฤดกต้องรับผิดร่วมกับผู้จัดการคนอื่นเมื่อพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยต้องรับผิด ดังนี้จำเลยจะประมาทเลินเล่อหรือไม่เปนคนละประเด็นไม่ต้องวินิจฉัย
of 7