คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 50

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากประจำเพื่อประกันหนี้: สิทธิบุริมสิทธิจำนำไม่เกิดขึ้นหากกรรมสิทธิ์เงินฝากยังเป็นของผู้ฝาก
จำเลยฝากเงินไว้กับผู้ร้องเงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้องผู้ร้องคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนการที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่มีต่อผู้ร้องแม้จะยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันไม่เป็นการจำนำเงินฝากอีกทั้งสมุดคู่ฝากเงินประจำก็เป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้ร้องออกให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีของจำเลยเท่านั้นไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาคนต่างด้าวและการฟ้องหย่าในไทย: จำเลยต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจึงถือเป็นภูมิลำเนาได้
โจทก์มีสัญชาติออสเตรเลีย จำเลยมีสัญชาติอเมริกัน ได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขอหย่ากับจำเลยนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากประเทศไทยไปก่อนแล้ว และไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศอีก ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ จำเลยย่อมมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องคดีขอหย่ากับจำเลยต่อศาลแห่งประเทศไทยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาคนต่างด้าว: เงื่อนไขการถือภูมิลำเนาตามคู่สมรสและการพิจารณาคดีฟ้องหย่าในประเทศไทย
โจทก์มีสัญชาติออสเตรเลีย จำเลยมีสัญชาติอเมริกันได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขอหย่ากับจำเลยนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากประเทศไทยไปก่อนแล้ว และไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศอีก ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองดังนี้ จำเลยย่อมมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องคดีขอหย่ากับจำเลยต่อศาลแห่งประเทศไทยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: พิจารณาความสะดวกของคู่ความและพยานเป็นสำคัญ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้นบัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลยจะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนครโจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกัน ตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: ความสะดวกในการดำเนินคดีและภูมิลำเนาของคู่ความ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิสำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลย จะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนคร โจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกันตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ่จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวชเป็นชีทำให้ขาดจากความเป็นสามีภรรยา และมีผลต่อการกำหนดภูมิลำเนาเพื่อการฟ้องคดีล้มละลาย
สามีอนุญาตให้ภรรยาไปบวชเป็นชีตามกฎหมายลักษณผัวเมียถือว่าขาดจากสามีภรรยากัน
จำเลยไปบวชเป็นชีอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต้องถือว่ามีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนั้น จะฟ้องจำเลยขอให้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้