คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตาโต่งดักปลา-ความประมาทของผู้ตาย-จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยวางตาโต่งไว้ในคลองที่เกิดเหตุมาเป็นเวลานานประมาณ10 ปีแล้ว การวางตาโต่งดังกล่าวต้องผูกกับฐานไม้ขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ในน้ำซึ่งสูงพ้นผิวน้ำประมาณ 10 เมตร ซึ่งชาวบ้านที่ไปใช้ท่าน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตาโต่งอยู่ห่างจากท่าน้ำที่ชาวบ้านและเด็กลงอาบน้ำและตักน้ำไปใช้ประมาณ 30 เมตรชาวบ้านไปใช้ท่าน้ำดังกล่าวตลอดมา แต่ไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายจากตาโต่งดังกล่าวในการใช้น้ำและอาบน้ำตามปกติวิสัยมาก่อน เพราะในบริเวณท่าน้ำนั้นน้ำไหลไม่แรงสามารถลงอาบน้ำได้โดยปลอดภัย หากผู้ตายทั้งสองเล่นน้ำอยู่ในบริเวณท่าน้ำก็จะไม่ตกลงไปในตาโต่งถึงแก่ความตายเนื่องจากอยู่ห่างพอสมควร ผู้ตายทั้งสองก็ทราบดีถึงการติดตั้งตาโต่งอันเกิดเหตุ ประกอบกับการตกตาโต่งของผู้ตายมิใช่ลงอาบน้ำหรือเล่นน้ำที่ท่าน้ำแล้วตกลงไปในตาโต่ง แต่เหตุเกิดเนื่องจากผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำแล้วห่วงยางไหลไปกระทบกับเสาตาโต่งเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งโดยผู้ตายปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งเป็นความประมาทของผู้ตายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตาโต่งที่จำเลยวางเพื่อดักปลามิใช่ทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ อีกทั้งการที่ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งจนถึงแก่ความตายก็มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยมิได้ทำสัญญาณเครื่องหมายแสดงว่ามีการลงอวนตาโต่งเครื่องมือทำประมงหรือทำสิ่งกีดกั้นป้องกันไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อความปลอดภัยในการทำงาน กรณีโรงงานขาดแผนป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คน จำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ.2535)ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ลำดับที่ 28 (1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย
โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้น มีประตูเหล็กยืดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียว ส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบานเหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบาน ไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ข้อ 5 (3) (10) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือสถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาและปกครองจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานและการป้องกันอัคคีภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คนจำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ลำดับที่ 28(1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้นมีประตูเหล็กยึดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียวส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบาน เหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบานไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัยการกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2535) ข้อ 5(3)(10) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปพื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือ สถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ศาลยืนโทษจำคุกไม่รอลงโทษ
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงบนถนนที่ลื่นเพราะผิวจราจรเปียกและมีเศษดินตกอยู่ทั่วไปแล้วแซงรถยนต์คันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนชนรถที่แล่นสวนทางมาเป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อเป็นเหตุให้ผู้ขับและผู้ที่โดยสารอยู่ในรถที่แล่นสวนทางมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับอันตรายสาหัส 4 คน และถึงแก่ความตายในวันเกิดเหตุ 4 คน โดยที่ผู้ได้รับอันตรายสาหัสรายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกะโหลกศีรษะแตกร้าวมีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองและตับแตก จึงสมควรที่จะต้องลงโทษจำเลยในสถานหนัก ส่วนการที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงบางส่วนและช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายผู้เสียหายและโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 นั้น พอถือเป็นเหตุปรานีให้รับโทษสถานเบาได้ แต่ไม่อาจถือเป็นเหตุรอการลงโทษให้ได้เพราะไม่อาจชดเชยกับความสูญเสียและความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดแก่บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติพี่น้องของผู้ตายและผู้ได้รับบาดเจ็บได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิเคราะห์พยานหลักฐานความประมาทในคดีรถชน: จำเลยไม่ได้ประมาทเนื่องจากผู้ตายไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ80ถึง90กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อขับรถมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีรถแล่นอยู่ข้างหน้าเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ตัดข้ามถนนจำเลยใช้สัญญาณแตรเตือน2ครั้งก่อนหักหลบไปทางขวาแต่ผู้ตายตกใจเร่งเครื่องยนต์พุ่งออกมาอีกจำเลยห้ามล้อรถยนต์แล้วแต่ไม่สามารถหยุดรถได้ทันทีเมื่อปรากฏว่าเส้นทางเดินรถของจำเลยเป็นทางเอกซึ่งผู้ตายจะต้องหยุดรอให้รถของจำเลยผ่านไปก่อนประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนการที่ผู้ตายเห็นแสงไฟรถของจำเลยยังขับข้ามถนนจนเกิดชนกันขึ้นเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะหลีกเลี่ยงได้จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลยต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้วแม้รอยห้ามล้อรถจำเลยจะยาวประมาณ22เมตรก็ไม่อาจบ่งชี้ว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของรถที่แล่นสวนมาเมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยกระทำโดยประมาทจึงฟังลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทจากการช็อตปลาในที่สาธารณะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองหรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทช็อตปลาสาธารณะ เสียชีวิต ลดโทษผู้เยาว์ รอลงอาญา คุมประพฤติ
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสิ่งที่มีอันตรายโดยสภาพสามารถทำอันตรายบุคคลอื่นให้ถึงแก่ความตายได้ทำการช็อตปลาในคลองสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันนอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วยังเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อันถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่อีกด้วยเมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ดังกล่าวช็อตจนถึงแก่ความตายก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสามไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองแล้วถูกกระแสไฟฟ้าช็อตหรือเป็นเพราะผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตายก็ตามก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสามพ้นผิดแต่อย่างใด การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามเกิดจากความประมาทมิใช่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาจึงมีเหตุอันควรได้รับความปรานีประกอบกับขณะเกิดเหตุจำเลยที่1และที่2มีอายุไม่เกิน17ปีซึ่งความรู้ผิดชอบย่อมจะไม่สมบูรณ์เท่ากับผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสำหรับจำเลยที่3แม้จะมีอายุมากรู้สึกผิดชอบดีแล้วแต่ก็เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่2อันเป็นเหตุในลักษณะคดีต้องยกประโยชน์ในส่วนนี้ให้แก่จำเลยที่3ด้วยโทษที่จำเลยทั้งสามได้รับมีกำหนดเวลาไม่มากนักหากรับโทษจำคุกไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการอบรมให้กลับตัวเป็นคนดีได้ทันซ้ำยังอาจทำให้จดจำเอาตัวอย่างที่ไม่ดีจากผู้ต้องขังอื่นมาประพฤติปฏิบัติอันอาจเป็นผลร้ายต่อสังคมไทยในภายหน้าได้สมควรให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสามไว้ซึ่งน่าจะมีผลดีแก่สังคมโดยส่วนรวมมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทใช้ไฟฟ้าช็อตปลาทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ถือเป็นความรับผิดทางอาญา แม้ผู้ตายจะลงไปในน้ำหรือแก้สายไฟฟ้า
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลย ไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลอง หรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์คดีแพ่ง-อาญา, ผู้เสียหาย, การผูกพันตามคำพิพากษา, และการพิจารณาพยานหลักฐานใหม่
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ตายค่าปลงศพผู้ตายรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆและค่าขาดไร้อุปการะเนื่องจากเหตุที่ผู้ตายได้รับอันตรายแก่ร่างกายและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้นเป็นปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายหรือไม่อันเป็นประเด็นในคดีอาญาที่พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4),5(2)ในส่วนนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้โจทก์จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วยโจทก์ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญานั้น โจทก์ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการที่ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโดยพิจารณาตามคำฟ้องที่ได้บรรยายว่าผู้ตายได้กระทำผิดด้วยโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการวินิจฉัยว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องนั้นได้หรือไม่มิใช่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่จะถือเป็นยุติว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายดังนั้นในข้อหาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นประเด็นโดยตรงที่จำเลยถูกฟ้องยังต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นการที่โจทก์มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่เกิดผลที่จะให้ศาลในคดีส่วนแพ่งไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ส่วนในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของโจทก์เป็นเงิน20,113บาทกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของโจทก์เพื่อติดต่อสอบถามดำเนินการอันเนื่องมาจากเหตุรถชนกันเป็นเงิน5,000บาทนั้นเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อตัวทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยโดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อหาที่จำเลยถูกฟ้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,157ที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายดังนั้นในส่วนนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันมาในสำนวนคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถยนต์ ชนรถจักรยานยนต์ ผู้ตายจอดรอข้ามถนน ศาลลงโทษฐานประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยเร่งความเร็วแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายเป็นผู้ขับโดยมิได้ให้สัญญาณเตือนขณะนั้นมีรถยนต์ขับสวนมาจำเลยไม่สามารถขับรถยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้พ้นจำเลยบังคับรถยนต์ของตนหลบรถยนต์ที่แล่นสวนทางมาเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่าผู้ตายจอดรถจักรยานยนต์อยู่ที่ริมถนนด้านซ้ายมือเพื่อจะข้ามถนนไปเติมน้ำมันข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธลอยๆจึงมิได้หลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้
of 26