พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อออกจากการเป็นผู้จัดการแล้ว จนกว่าการจดทะเบียนจะมีผล
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนให้จำเลยในคดีดังกล่าวดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต่อนายทะเบียนกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วเพราะการเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 หาใช่จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 3 จึงหาหลุดพ้นจากความผิดรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ แต่ต้องร่วมรับผิดบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 และ 1077 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขาย vs. ละเมิด: การส่งมอบสินค้าชำรุดไม่ถือเป็นการละเมิดหากไม่มีเจตนาหรือประมาท
โจทก์ตกลงซื้อโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ตามแบบกรมสามัญศึกษาจากห้างจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย เมื่อข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ส่งมอบโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ตามสัญญาแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้ชำรุดบกพร่อง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย แต่คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดฐานผิดสัญญาซื้อขายหรือไม่ และการไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ตายจากความประมาท กรณีถนนก่อสร้างและไม่มีเครื่องหมายเตือน
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวนให้เป็นการผูกมัดศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือตาม
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลาย แม้จะไม่มีหนี้ส่วนตัว
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ซึ่งได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 และเนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. หรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เด็ดขาดแต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้าน ล้มละลาย คดีถึงที่สุด ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้จึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าวซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างนั้นชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่คดีแพ่งถึงที่สุดก็ตาม คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่ขาดอายุความเพราะกรณีมิใช่หนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านจะอ้างอายุความดังกล่าวได้
คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เด็ดขาดแต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้าน ล้มละลาย คดีถึงที่สุด ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้จึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าวซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างนั้นชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่คดีแพ่งถึงที่สุดก็ตาม คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่ขาดอายุความเพราะกรณีมิใช่หนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านจะอ้างอายุความดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการฟ้องล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.และห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างได้ เนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077(2) ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. หรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาด โดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลาย ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างดังกล่าวล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 89 ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้บุคคลซึ่งนำสืบได้ว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์และโจทก์ยื่นฟ้องห้างดังกล่าวเป็นคดีล้มละลาย ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดเวลา10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาด โดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลาย ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างดังกล่าวล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 89 ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้บุคคลซึ่งนำสืบได้ว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์และโจทก์ยื่นฟ้องห้างดังกล่าวเป็นคดีล้มละลาย ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดเวลา10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและการร่วมรับผิดของเจ้าของรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง มีรถบรรทุกประกอบการถึง 30 คัน โดยไม่ใช่รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 เลย แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีรายได้และผลประโยชน์มาจากรถบรรทุกที่เข้าร่วมประกอบการขนส่ง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 4จดทะเบียนเข้าร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1 และด้านข้างรถก็พ่นสีระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมผูกพันตนเข้าร่วมกิจการและรับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โดยประมาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 5เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),1087
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ไม่มีตราประทับ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เดิมมีโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็น ผู้ให้สัญญา แต่ไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงข้ออื่น ๆ ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์บางส่วนไปแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ก็จดทะเบียนถอนโจทก์ออกจากการเป็น ผู้ถือหุ้น ตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติไปตามบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะไม่มีการประทับตราของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนในนามของจำเลยที่ 1 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดความรับผิดตามทรัพย์มรดก
ผู้ร้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมถึง ห. ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดตามทรัพย์มรดก
ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึง ห.ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีได้เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งเมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคดีแพ่งมาฟ้องให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้จากทั้งลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ได้