คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1077 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากรถเสีย - ความรับผิดของลูกจ้าง-นายจ้าง-หุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกซึ่งเพลาขาดไว้ที่ไหล่ถนน โดยมีส่วนท้ายของรถล้ำเข้าไปในช่องทางจราจรประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วจำเลยที่ 1 ออกไปโทรศัพท์แจ้งจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆ ว่ามีรถจอดล้ำอยู่บนถนนดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ให้พ้นภยันตรายจากสิ่งกีดขวางบนถนน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายชนท้ายรถบรรทุกคันดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 422
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ขณะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะมิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุหรือเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวโดยเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 อยู่แล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นมาในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องรับผิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นด้วยโดยไม่จำกัดจำนวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและสิทธิในการฟ้องล้มละลาย: หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันที มิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 แต่ทางเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิลูกหนี้ร่วมและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)และมาตรา1087จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า50,000บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันทีมิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89แต่ทางเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขนส่งและการแก้ไขคำฟ้อง
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกัน หรือจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ 4" อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผย การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่า โรงสีชัยเจริญ 4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตร ซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นหุ้นส่วน โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้น ข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และการพิสูจน์หลักฐาน
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 867วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620
การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประกันภัย, และการประเมินความเสียหาย
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฎว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5จึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการ ตัวแทน และความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ ส. เป็นตัวแทนในการก่อสร้างและสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการและ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ก็นำสืบในข้อนี้ได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
of 8