คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1077 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการรับฟัง การรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดและลูกจ้าง
ใบสำคัญการสมรสใบมรณบัตรสูติบัตรเป็นเอกสารมหาชนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามป.วิ.พ.มาตรา127 แม้ส. ซึ่งเป็นคนขับรถโดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่3จะเป็นเพียงผู้รับจ้างขับรถเป็นรายเที่ยวก็ถือได้ว่าส. เป็นลูกจ้างและขับรถโดยสารคันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ๆต้องร่วมรับผิดกับส. ในผลแห่งละเมิดด้วย หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างหุ้นส่วนฯก่อให้เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์จากการกระทำละเมิด, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวได้จดทะเบียนให้ ส. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ส. มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์จากตึกแถว แต่กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังเป็นของโจทก์ ด้วยอำนาจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ตึกแถวเสียหายได้ การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดแม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดจากมูลละเมิด โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อตึกแถวของโจทก์ จึงมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86 รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระ เงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6) ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ของห้างฯ แม้เจ้าหนี้ยังไม่ทวงถาม หรือห้างฯ ไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหน้าที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตาม มาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วน จำกัด ท. เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่า เจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างฯ แม้ยังไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.94
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตามมาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้นซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตามฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรต่างด้าว: ความรับผิดเมื่อไม่กลับเข้าประเทศภายใน 180 วัน
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4 อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดผิดนัดชำระหนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดให้รับผิดชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนหรือล้มละลายก่อนหรือจะต้องปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดผิดนัดชำระหนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดให้รับผิดชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนหรือล้มละลายก่อนหรือจะต้องปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้
of 8