พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานหลังโอนสิทธิเรียกร้อง - รัฐวิสาหกิจ - ละเมิด/ผิดสัญญาจ้าง
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 ให้คำจำกัดความของคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า "กระทรวง ทบวง กรม หรือ ... และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และ..." โจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยมาตรา 5 บัญญัติว่า ให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเรียกว่า "ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" และให้ธนาคารเป็นนิติบุคคล และมาตรา 7 กำหนดทุนเรือนหุ้นของธนาคารไว้หนึ่งพันล้านบาท โดยให้ธนาคารขายหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง หรือบุคคลอื่น โดยให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นของธนาคารได้ตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่จะต้องไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เห็นได้ว่า พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มีจุดมุ่งหมายให้โจทก์เป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกระทรวงการคลังซื้อหุ้นของโจทก์ได้ไม่เกินร้อยละ 49 แม้ต่อมากระทรวงการคลัง ธนาคาร ม. และธนาคาร ก. เข้าถือหุ้นของโจทก์รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรืออีกนัยหนึ่งโจทก์มีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ ซึ่งส่งผลทำให้โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำจำกัดความของคำว่ารัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่ความเป็นรัฐวิสาหกิจของโจทก์มิได้เป็นมาตั้งแต่วาระแรกที่ พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ใช้บังคับ โจทก์เพิ่งเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในภายหลังเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น โจทก์จึงไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ จึงไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า การที่ลูกค้ารายบริษัท ด. ทำคำขอสินเชื่อสำหรับใช้ในโครงการวงเงิน 650,000,000 บาท ต่อคณะกรรมการบริหารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันจัดทำเอกสารและเสนอข้อมูลเพื่อขออนุมัติสินเชื่อตามระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อของโจทก์ ไม่ให้ความสำคัญต่อประเด็นที่ฝ่ายโครงการสินเชื่อแจ้งความเสี่ยงว่าที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้และใบอนุญาตก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินการ ยังไม่แน่ชัดว่าลูกค้าจะได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหรือไม่ และเร่งรีบเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบริหารให้อนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อค่าที่ดิน 430,000,000 บาท ให้ลูกค้าไปก่อน และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ยังยินยอมให้ลูกค้าเบิกถอนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสาธารณูปโภคอีก 16,695,947.66 บาท ทั้งที่ยังไม่มีข้อยุติเรื่องการได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และผิดสัญญาจ้าง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากทั้งมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานและมูลละเมิด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
กรณีโจทก์โอนสินทรัพย์ของลูกค้ารายบริษัท ด. ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคาร อ. ก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว แม้โจทก์ขายสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องของลูกค้ารายดังกล่าวไปก่อนฟ้องคดีนี้ก็ส่งผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกร้องจากลูกค้ารายดังกล่าวตามมูลหนี้ผิดสัญญาให้สินเชื่อเท่านั้น แต่โจทก์ยังคงได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 อยู่ แม้โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชำระค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้สินเชื่อของลูกค้าหักออกด้วยจำนวนเงินที่โจทก์ขายสินทรัพย์ของลูกค้านั้นก็เป็นเรื่องการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ ซึ่งต้องพิจารณาในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด ส่วนภายหลังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคาร อ. จะได้รับชำระหนี้จากลูกค้ารายดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทกับลูกค้ารายดังกล่าว เมื่อโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาจ้างแรงงานและมูลละเมิด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า การที่ลูกค้ารายบริษัท ด. ทำคำขอสินเชื่อสำหรับใช้ในโครงการวงเงิน 650,000,000 บาท ต่อคณะกรรมการบริหารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันจัดทำเอกสารและเสนอข้อมูลเพื่อขออนุมัติสินเชื่อตามระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อของโจทก์ ไม่ให้ความสำคัญต่อประเด็นที่ฝ่ายโครงการสินเชื่อแจ้งความเสี่ยงว่าที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้และใบอนุญาตก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินการ ยังไม่แน่ชัดว่าลูกค้าจะได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหรือไม่ และเร่งรีบเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบริหารให้อนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อค่าที่ดิน 430,000,000 บาท ให้ลูกค้าไปก่อน และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ยังยินยอมให้ลูกค้าเบิกถอนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสาธารณูปโภคอีก 16,695,947.66 บาท ทั้งที่ยังไม่มีข้อยุติเรื่องการได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และผิดสัญญาจ้าง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากทั้งมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานและมูลละเมิด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
กรณีโจทก์โอนสินทรัพย์ของลูกค้ารายบริษัท ด. ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคาร อ. ก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว แม้โจทก์ขายสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องของลูกค้ารายดังกล่าวไปก่อนฟ้องคดีนี้ก็ส่งผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกร้องจากลูกค้ารายดังกล่าวตามมูลหนี้ผิดสัญญาให้สินเชื่อเท่านั้น แต่โจทก์ยังคงได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 อยู่ แม้โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชำระค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้สินเชื่อของลูกค้าหักออกด้วยจำนวนเงินที่โจทก์ขายสินทรัพย์ของลูกค้านั้นก็เป็นเรื่องการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ ซึ่งต้องพิจารณาในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด ส่วนภายหลังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคาร อ. จะได้รับชำระหนี้จากลูกค้ารายดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทกับลูกค้ารายดังกล่าว เมื่อโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาจ้างแรงงานและมูลละเมิด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเมื่อนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวจากเหตุสุดวิสัยและผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานประกอบการ
กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 17 เมษายน 2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นเรื่องให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม มิใช่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง การที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามหนังสือรับรองที่แนบท้ายกฎกระทรวงนี้ ไม่ได้ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลยตามกฎกระทรวงดังกล่าว
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนี้ สัญญาจ้างจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ลูกจ้างมีหนี้ที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนในการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างจากนายจ้างต่อเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยหยุดประกอบกิจการเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ปิดโรงแรมทั้งจังหวัดเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย การที่โจทก์ไม่ได้เข้าทำงานให้แก่จำเลยมิใช่เกิดจากคำสั่งหรือความผิดของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ แต่หากภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาปิดโรงแรมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์กลับเข้าทำงานให้แก่จำเลย จำเลยก็มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
ศาลแรงงานภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 1797/2563 ลงวันที่ 2 เมษายน 2563 ที่กำหนดให้ปิดโรงแรม มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีผลทำให้จำเลยปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด และจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งฉบับอื่นให้ปิดโรงแรมต่อไปอีกหรือไม่ เพียงใด จำเลยเปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด โจทก์เข้าทำงานให้แก่จำเลยหรือไม่ หากเข้าทำงาน โจทก์ทำงานตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะไปสู่การวินิจฉัยประเด็นว่า จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเองได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนี้ สัญญาจ้างจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ลูกจ้างมีหนี้ที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนในการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างจากนายจ้างต่อเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยหยุดประกอบกิจการเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ปิดโรงแรมทั้งจังหวัดเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย การที่โจทก์ไม่ได้เข้าทำงานให้แก่จำเลยมิใช่เกิดจากคำสั่งหรือความผิดของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ แต่หากภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาปิดโรงแรมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์กลับเข้าทำงานให้แก่จำเลย จำเลยก็มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
ศาลแรงงานภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 1797/2563 ลงวันที่ 2 เมษายน 2563 ที่กำหนดให้ปิดโรงแรม มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีผลทำให้จำเลยปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด และจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งฉบับอื่นให้ปิดโรงแรมต่อไปอีกหรือไม่ เพียงใด จำเลยเปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด โจทก์เข้าทำงานให้แก่จำเลยหรือไม่ หากเข้าทำงาน โจทก์ทำงานตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะไปสู่การวินิจฉัยประเด็นว่า จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเองได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานมีผลผูกพัน แม้คำนวณค่าชดเชยผิด ก็ไม่อาจเรียกร้องเพิ่มเติมได้
ขณะที่โจทก์สมัครใจลงลายมือชื่อท้ายหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้างอย่างแน่นอน โจทก์มีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป โจทก์ทราบถึงจำนวนค่าจ้างซึ่งนำเพียงฐานเงินเดือนเท่านั้นที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ และพอใจในจำนวนเงิน 1,098,236.95 บาท ที่จำเลยเสนอให้เป็นอย่างดี โจทก์จึงขอรับเงินตามที่จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะไม่ดำเนินการเรียกร้องเงินหรือค่าเสียหายใด ๆ เกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมจากจำเลยอีก และขอสละสิทธิทั้งหลายที่โจทก์พึงมีต่อจำเลยในเรื่องดังกล่าวทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาซึ่งโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีแก่กันให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามที่ตกลงกันดังกล่าว จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ย่อมผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยเพิ่มเติมอีก
ในขณะที่จำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิเสนอข้อตกลงที่นำเพียงฐานเงินเดือนที่จำเลยเข้าใจว่าเป็นค่าจ้างมาคิดคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์พิจารณาได้ การเสนอข้อตกลงจ่ายเงินดังกล่าวของจำเลยจึงหาใช่เป็นการกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อเสนอที่มุ่งเอาเปรียบโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไม่ ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันจะส่งผลให้เป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกล่วงหน้า จำเลยไม่จำต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
ในขณะที่จำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิเสนอข้อตกลงที่นำเพียงฐานเงินเดือนที่จำเลยเข้าใจว่าเป็นค่าจ้างมาคิดคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์พิจารณาได้ การเสนอข้อตกลงจ่ายเงินดังกล่าวของจำเลยจึงหาใช่เป็นการกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อเสนอที่มุ่งเอาเปรียบโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไม่ ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันจะส่งผลให้เป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกล่วงหน้า จำเลยไม่จำต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีภาษีอากรที่จำเลยยื่นขอฟื้นฟูกิจการหลังครบกำหนดระยะเวลาการขอเฉลี่ย
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วันนับแต่วันชำระเงิน ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวคือภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินผลการปฏิบัติงาน การขึ้นเงินเดือน และการโต้แย้งผลการประเมิน: อำนาจอิสระของผู้ประเมิน และหลักเกณฑ์การพิจารณา
การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอำนาจอิสระของผู้ประเมินแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนอาจรับรู้การปฏิบัติงานของโจทก์แตกต่างกันไป ย่อมทำให้แต่ละคนมีความเห็นแตกต่างกันได้เป็นปกติธรรมดา หาใช่ว่า ว. ต้องประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ในระดับ "ดีเยี่ยม" ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชาที่เคยประเมินไว้ในครั้งก่อนหรือตามความเห็นของประธานสหภาพแรงงานไม่ ว. ก็ไม่ได้มีอคติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์โดย ว. จึงเป็นไปตามคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 แต่เมื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวนำมาใช้กับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนและเลื่อนระดับตำแหน่งด้วย ซึ่งในการพิจารณาขึ้นเงินเดือนนั้น จำเลยมีคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 เรื่อง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงาน โดยข้อ 5.2.3 ระบุว่า พิจารณาขึ้นเงินเดือนในอัตราร้อยละของแต่ละระดับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามระยะเวลาปฏิบัติงานจริงของพนักงาน โดยจำนวนเงินที่ใช้ในการขึ้นเงินเดือนต้องไม่เกินวงเงินงบประมาณที่ส่วนงานได้รับจัดสรร ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 จึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 ด้วย เมื่อ ว. ได้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลัง โดยนำคะแนนประเมินทั้งในส่วนของประธานสหภาพแรงงานและในส่วนของผู้บังคับบัญชามารวมกันแล้วเฉลี่ยระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนส่งมอบบริการภาครัฐที่ 1 จำนวน 12 คน ซึ่งได้เงินงบประมาณมาเดือนละ 30,719.93 บาท เพื่อให้ลงตัวกับวงเงินงบประมาณที่ได้รับมา จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งจำเลยที่ รค.9/2549 และคำสั่งจำเลยที่ รค.19/2559 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลัง จึงชอบด้วยระเบียบ คำสั่ง และประกาศที่จำเลยกำหนดไว้แล้ว กรณีไม่มีเหตุให้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ของโจทก์ในส่วนครึ่งปีหลังใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกปฏิบัติทางสิทธิประโยชน์ต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างประจำ การจ่ายเงินโบนัส
โจทก์ทำงานในส่วนการผลิตเช่นเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 2 กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ" ซึ่งหมายความว่า ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากผู้ประกอบกิจการในลักษณะอย่างเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาโดยตรงโดยไม่เลือกว่าเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงหรือลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ดังนั้น เมื่อเงินโบนัสถือเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ประกอบกับโจทก์ทำงานมาประมาณ 3 ปี เกินระยะเวลาทดลองงาน ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 120 วัน โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างทดลองงาน อีกทั้งแม้การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน ท. ซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นจำนวนไม่ถึงสองในสามส่วนของลูกจ้างทั้งหมดยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 2 แล้วเจรจาตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวกันไว้ว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานตามหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 และสหภาพแรงงาน ท. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเช่นนี้ตลอดมาทุกปีตั้งแต่โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทุกคน ไม่ใช่จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. เท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงซึ่งทำงานในส่วนงานผลิตเช่นเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 2 และไม่ได้มีลักษณะเป็นลูกจ้างทดลองงาน จึงถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติตามมาตรา 11/1 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยที่ 2 จึงต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างคนประจำเรือมีกำหนดระยะเวลา เลิกจ้างเมื่อครบกำหนดไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างให้ทำหน้าที่ประจำอยู่ในเรือเดินทะเลขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอันเป็นเรือเดินทะเลที่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์โดยได้รับค่าจ้างตั้งแต่ปี 2537 จำเลยจึงเป็นเจ้าของเรือ โจทก์เป็นคนประจำเรือ และสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นข้อตกลงการจ้างของคนประจำเรือตามความหมายของ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 3
จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ในขณะ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ประกาศใช้บังคับแล้ว สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการเลิกจ้างจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว
การทำงานบนเรือเดินทะเลมีลักษณะและสภาพของงานแตกต่างจากการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป ดังจะเห็นได้จากเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ประกอบกับ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง การตีความตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้แก่คดีนี้ได้
จำเลยจ้างโจทก์ทำหน้าที่ประจำบนเรือเดินทะเล ซี่งโดยสภาพของการทำงานนั้นลูกจ้างต้องทำงานตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือจนกระทั่งเรือถึงสถานที่ปลายทางแล้ว จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ตั้งแต่ปี 2537 เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหลายฉบับ โดยสัญญาจ้างแต่ละฉบับได้กำหนดระยะเวลาทำงานไว้แน่นอน เช่น 12 เดือนบ้าง 9 เดือนบ้าง เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างแล้ว สัญญาจ้างฉบับแรก ข้อ 07 เอ) มีข้อความว่า สัญญาจ้างนี้ให้ถือว่าถูกยกเลิกโดยปราศจากความรับผิดชอบอื่นใดของจำเลยโดยมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์กลับมาถึงสถานที่ทำสัญญาหรือ ณ สถานที่ซึ่งตกลงกันให้เป็นสถานที่ปลายทาง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลในการเลิกสัญญา ส่วนสัญญาจ้างฉบับอื่นก็มีข้อความในทำนองเดียวกัน เห็นได้ว่าสัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน รวมทั้งยังกำหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดของสัญญาจ้างเมื่อโจทก์กลับถึงสถานที่ทำสัญญา หรือ ณ สถานที่ซึ่งตกลงกันให้เป็นสถานที่ปลายทาง แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นคราว ๆ ตามระยะเวลาที่โจทก์ทำงานประจำบนเรือเท่านั้น
พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของเรือต้องจัดให้มีข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นหนังสือพร้อมลายมือชื่อของเจ้าของเรือและคนประจำเรือ โดยจัดทำเป็นคู่ฉบับจัดเก็บไว้บนเรือหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งให้คนประจำเรือเก็บไว้ พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ โดยที่คนประจำเรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่ามีความพร้อมด้านสุขภาพในการทำงานบนเรือ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด หมายความว่า เจ้าของเรือจะจ้างคนประจำเรือแต่ละครั้งต้องมีการทำสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือ และต้องตรวจสุขภาพคนประจำเรือซึ่งเป็นเงื่อนไขในการทำงานบนเรือก่อนทุกครั้ง ดังนั้น จำเลยต้องคัดเลือกและตรวจสุขภาพโจทก์ก่อนให้ทำหน้าที่ประจำบนเรือทุกครั้ง มิใช่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์เข้าทำงานบนเรือได้ทันทีเสมือนโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย ถือไม่ได้ว่าระยะเวลานับจากสัญญาจ้างฉบับเดิมสิ้นสุดลงจนถึงวันก่อนวันทำงานตามสัญญาจ้างฉบับต่อไปเป็นระยะเวลาพักอันจะนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานตามสัญญาจ้างทุกฉบับติดต่อกัน สัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
ส่วนที่สัญญาจ้าง ข้อ 07 บี) มีข้อความว่า โจทก์อาจจะเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือ 2 เดือน และสัญญาจ้างฉบับอื่นก็มีข้อความในทำนองเดียวกันนั้น นอกจากมีข้อความดังกล่าวแล้วยังมีข้อความต่อไปอีกว่า จำเลยจะพยายามปลดเปลื้องโจทก์จากภาระหน้าที่ภายใน 2 เดือน หลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวนี้ หรือภายในโอกาสที่เร็วที่สุดหลังจากนั้น ในกรณีเช่นนั้นโจทก์จะมีสิทธิจะได้รับสิทธิในการส่งตัวกลับ อย่างไรก็ดี ถ้าคำขอเลิกสัญญานี้ได้ถูกให้ภายใน 4 เดือน นับแต่วันเข้าเป็นลูกเรือ (ระยะเวลาทดลองงาน) จำเลยสงวนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนค่าใช้จ่ายและ/หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับค่าเดินทางมาร่วมโดยทางเครื่องบินและค่าเดินทางกลับทางเครื่องบิน ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ในกรณีโจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยกำหนดหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการส่งตัวโจทก์กลับ ข้อความดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาตามรายการในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนี้ สัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือจึงสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหรือสิ้นสุดลงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานแต่ละฉบับโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง
เมื่อสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน แม้โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดใดก็ตาม แต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถือได้ว่ามีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ในขณะ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ประกาศใช้บังคับแล้ว สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการเลิกจ้างจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว
การทำงานบนเรือเดินทะเลมีลักษณะและสภาพของงานแตกต่างจากการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป ดังจะเห็นได้จากเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ประกอบกับ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง การตีความตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้แก่คดีนี้ได้
จำเลยจ้างโจทก์ทำหน้าที่ประจำบนเรือเดินทะเล ซี่งโดยสภาพของการทำงานนั้นลูกจ้างต้องทำงานตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือจนกระทั่งเรือถึงสถานที่ปลายทางแล้ว จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ตั้งแต่ปี 2537 เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหลายฉบับ โดยสัญญาจ้างแต่ละฉบับได้กำหนดระยะเวลาทำงานไว้แน่นอน เช่น 12 เดือนบ้าง 9 เดือนบ้าง เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างแล้ว สัญญาจ้างฉบับแรก ข้อ 07 เอ) มีข้อความว่า สัญญาจ้างนี้ให้ถือว่าถูกยกเลิกโดยปราศจากความรับผิดชอบอื่นใดของจำเลยโดยมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์กลับมาถึงสถานที่ทำสัญญาหรือ ณ สถานที่ซึ่งตกลงกันให้เป็นสถานที่ปลายทาง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลในการเลิกสัญญา ส่วนสัญญาจ้างฉบับอื่นก็มีข้อความในทำนองเดียวกัน เห็นได้ว่าสัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน รวมทั้งยังกำหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดของสัญญาจ้างเมื่อโจทก์กลับถึงสถานที่ทำสัญญา หรือ ณ สถานที่ซึ่งตกลงกันให้เป็นสถานที่ปลายทาง แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นคราว ๆ ตามระยะเวลาที่โจทก์ทำงานประจำบนเรือเท่านั้น
พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของเรือต้องจัดให้มีข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นหนังสือพร้อมลายมือชื่อของเจ้าของเรือและคนประจำเรือ โดยจัดทำเป็นคู่ฉบับจัดเก็บไว้บนเรือหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งให้คนประจำเรือเก็บไว้ พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ โดยที่คนประจำเรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่ามีความพร้อมด้านสุขภาพในการทำงานบนเรือ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด หมายความว่า เจ้าของเรือจะจ้างคนประจำเรือแต่ละครั้งต้องมีการทำสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือ และต้องตรวจสุขภาพคนประจำเรือซึ่งเป็นเงื่อนไขในการทำงานบนเรือก่อนทุกครั้ง ดังนั้น จำเลยต้องคัดเลือกและตรวจสุขภาพโจทก์ก่อนให้ทำหน้าที่ประจำบนเรือทุกครั้ง มิใช่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์เข้าทำงานบนเรือได้ทันทีเสมือนโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย ถือไม่ได้ว่าระยะเวลานับจากสัญญาจ้างฉบับเดิมสิ้นสุดลงจนถึงวันก่อนวันทำงานตามสัญญาจ้างฉบับต่อไปเป็นระยะเวลาพักอันจะนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานตามสัญญาจ้างทุกฉบับติดต่อกัน สัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
ส่วนที่สัญญาจ้าง ข้อ 07 บี) มีข้อความว่า โจทก์อาจจะเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือ 2 เดือน และสัญญาจ้างฉบับอื่นก็มีข้อความในทำนองเดียวกันนั้น นอกจากมีข้อความดังกล่าวแล้วยังมีข้อความต่อไปอีกว่า จำเลยจะพยายามปลดเปลื้องโจทก์จากภาระหน้าที่ภายใน 2 เดือน หลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวนี้ หรือภายในโอกาสที่เร็วที่สุดหลังจากนั้น ในกรณีเช่นนั้นโจทก์จะมีสิทธิจะได้รับสิทธิในการส่งตัวกลับ อย่างไรก็ดี ถ้าคำขอเลิกสัญญานี้ได้ถูกให้ภายใน 4 เดือน นับแต่วันเข้าเป็นลูกเรือ (ระยะเวลาทดลองงาน) จำเลยสงวนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนค่าใช้จ่ายและ/หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับค่าเดินทางมาร่วมโดยทางเครื่องบินและค่าเดินทางกลับทางเครื่องบิน ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ในกรณีโจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยกำหนดหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการส่งตัวโจทก์กลับ ข้อความดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาตามรายการในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนี้ สัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือจึงสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหรือสิ้นสุดลงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานแต่ละฉบับโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง
เมื่อสัญญาจ้างหรือข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน แม้โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดใดก็ตาม แต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถือได้ว่ามีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีผูกพันตามคำพิพากษาเดิม, ละเมิดสัญญาจ้าง, และการกำหนดค่าเสียหายจากความผิดวินัย
แม้คดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยฟ้องเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้าง และเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากโจทก์ได้ดังฟ้องของจำเลยเพียงใดหรือไม่ แต่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าเหตุที่โจทก์เลิกจ้างเนื่องจากจำเลยกระทำผิดวินัยโดยจำเลยเอื้อประโยชน์ให้ น. ใช้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของจำเลยในการอนุมัติสินเชื่อ และจำเลยเบิกค่าล่วงเวลาทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งไม่เป็นความจริง โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยกระทำผิดวินัยจริง ในคดีก่อนศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าจำเลยกระทำความผิดวินัยดังที่จำเลยฟ้องและโจทก์ให้การในคดีก่อนหรือไม่ คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน จำเลยจึงต้องผูกพันในผลแห่งคดีและข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางในคดีก่อนวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ว่า จำเลยยินยอมให้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของจำเลยแก่พนักงานอื่นเพื่อทำการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อลูกค้า 5 ราย แทน อันเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญา อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้ 5 ราย ที่จำเลยมีส่วนกระทำความผิดและโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยคดีนี้มีมูลเหตุจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับหนี้ของลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้ทั้ง 5 ราย การที่โจทก์โอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคาร อ. เป็นเพียงการบรรเทาความเสียหายในหนี้ส่วนลูกหนี้ดังกล่าวเท่านั้น อีกทั้งการโอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวนั้นก็ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้อันสืบเนื่องจากการจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญา อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้ 5 ราย ที่จำเลยมีส่วนกระทำความผิดและโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยคดีนี้มีมูลเหตุจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับหนี้ของลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้ทั้ง 5 ราย การที่โจทก์โอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคาร อ. เป็นเพียงการบรรเทาความเสียหายในหนี้ส่วนลูกหนี้ดังกล่าวเท่านั้น อีกทั้งการโอนหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวนั้นก็ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้อันสืบเนื่องจากการจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาต้องระบุข้อเท็จจริง เหตุผลการวินิจฉัย หากไม่ครบถ้วน ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ได้เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชดใช้หนี้
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว คือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ