พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและการฟ้องร้องเกินกำหนด
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งที่เสนอต่ออธิบดีของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์เสียหายเป็นเงิน181,080 บาท เห็นควรเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 และส.รองอธิบดีของโจทก์ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาสำหรับข้อหาส่วนนี้ การที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดเป็นคดีนี้ ดังนี้คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส.ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส.ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดทางแพ่ง: การรู้ตัวผู้กระทำละเมิดและผู้รับผิดชอบ, การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งที่เสนอต่อ อธิบดีของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์เสียหายเป็นเงิน 181,080 บาท เห็นควรเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 และ ส.รองอธิบดีของโจทก์ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ ส. ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม2532 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องหรือในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาสำหรับข้อหาส่วนนี้ การที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดเป็นคดีนี้ ดังนี้คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้ ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส. ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจราจรที่ขาดอายุความ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,78,157,160วรรคหนึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่1เดือนลงมาจึงมีอายุความเพียง1ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(5)จำเลยกระทำความผิดวันที่4มกราคม2529นับถึงวันฟ้องคือวันที่8มิถุนายน2537คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกาพิจารณาเองได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
รถยนต์คันที่ ส.ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก.และท.ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย การที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก.และ ท.กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย แต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่า จำเลยจึงไม่มีความผิดตามป.อ. มาตรา 291 แต่มีความผิดตามมาตรา 390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนท้ายรถหลายคัน ความรับผิดทางอาญาต่อการเสียชีวิตของผู้โดยสาร พิจารณาผลกระทบจากแรงชนและการบาดเจ็บ
รถยนต์คันที่ ส. ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรงแล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก. และ ท. ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยการที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตายเช่นนี้ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยแต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่าจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291แต่มีความผิดตามมาตรา390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขับรถ ชนกันเนื่องจากจักรยานยนต์ตัดหน้า จำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่ทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีรอยห้ามล้อของรถยนต์ก่อนถึงจุดชนเป็นระยะทางประมาณ 6 เมตร ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามหยุดรถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการชนกันขึ้น แต่สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับในระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยที่ 1จะหยุดรถได้ทัน กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันจึงหาได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถและการลดโทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์-พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพ และค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพและค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้