พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-435/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนผู้จัดการนิติบุคคล: เมื่อการกระทำมีมูลความผิดอาญา แม้เป็นกิจการบริษัท ก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้จัดการของนิติบุคคลกระทำการซึ่งมีมูลเป็นความผิดทางอาญา แม้จะกระทำในกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้จัดการนั้นก็อาจถูกควบคุมในระหว่างสอบสวนได้ในเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดพ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์: ความผิดเฉพาะเจาะจง vs. ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานไม่จดทะเบียนพานิชย์เสียภายในกำหนด 30 วันอันมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทนั้น ถ้าไม่ได้ฟ้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมขาดอายุความ แต่ความผิดในการที่ประกอบพานิชย์กิจต่อๆ มาโดยไม่ได้จดทะเบียนอันมีโทษปรับเป็นรายวันนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องปรับได้ไม่เกิน 1 ปี วันใดที่เกิน 1 ปี ย่อมขาดอายุความเช่นกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็นโทษอาญาอีกบทหนึ่งแยกต่างหากจากโทษอาญาเดิม อายุความไม่ครอบคลุม
การกักกันตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็นโทษอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งศาลจะพึงลงโทษแก่ผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเพิ่มขึ้นอีกโสดหนึ่งต่างหากจากโทษอาญาอันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายจะต้องรับสำหรับเหตุร้ายที่กระทำไป ถึงแม้โทษครั้งหลังที่สุดที่จำเลยได้รับจะพ้นมา 9 ปี 6 เดือนแล้วก็ตามการขอให้กักกันในคดีนี้หาใช่เป็นเรื่องฟ้องความซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะฟ้องตามกฎหมายอาญา มาตรา78 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดอายุความในการฟ้องคดีคนไทยที่ไม่ได้ขอใบสำคัญประจำตัวหลังสูญเสียสัญชาติ
คนสัญชาติไทยผู้เสียไปซึ่งสัญชาติได้ละเลยไม่ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วันจนพ้นกำหนดนี้แล้วกว่า 1 ปี สิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องขอให้ลงโทษบุคคลผู้นั้นย่อมหมดไปเพราะคดีขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีละเลยไม่ขอรับใบสำคัญประจำตัวหลังขาดสัญชาติไทย
คนสัญชาติไทยผู้เสียไปซึ่งสัญชาติได้ละเลยไม่ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วันจนพ้นกำหนดนี้แล้วกว่า 1 ปี สิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องขอให้ลงโทษบุคคลผู้นั้นย่อมหมดไปเพราะคดีขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและหน้าที่ทำบัญชี: ศาลยกฟ้องฐานสมรู้ร่วมคิดหากไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษี และความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีบัญชี การยกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว ความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว และประเด็นอายุความ
จำเลยไม่ได้ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตั้งแต่ พ.ศ.2483 ตลอดมา โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในปี พ.ศ.2494
สำหรับความผิดที่จำเลยละเลยไม่ต่ออายุใบสำคัญในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2493 ถึง 22 มิถุนายน 2494 อันอยู่ในระหว่าง 1 ปีถึงวันฟ้องได้ ไม่ขาดอายุความ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2497)
สำหรับความผิดที่จำเลยละเลยไม่ต่ออายุใบสำคัญในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2493 ถึง 22 มิถุนายน 2494 อันอยู่ในระหว่าง 1 ปีถึงวันฟ้องได้ ไม่ขาดอายุความ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลักทรัพย์และการจำหน่ายคดี: ผลกระทบต่อการฟ้องคดีอาญา
จำเลยถูกฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 288,293 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องจำเลยฎีกา เมื่อยื่นฎีกาแล้ว จำเลยหลบหนีไปศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีแล้ว จำเลยหลบหนีไปเกิน 5 ปีซึ่งเป็นกำหนดเวลาเกินกว่าอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วนั้น คดีย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาและการจำหน่ายคดี: เมื่อจำเลยหลบหนีและพ้นกำหนดอายุความ
จำเลยถูกฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 288, 293 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องจำเลยฎีกา เมื่อยื่นฎีกาแล้ว จำเลยหลบหนีไป ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี แล้ว จำเลยหลบหนีไปเกิน 5 าปี ซึ่งเป็นกำหนดเวลาเกินกว่าอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วนั้น คดีย่อมขาดอายุความ./