พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16352/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารและรอยตรา, การฉ้อโกง, และการลงโทษกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ศาลล่างทั้งสองจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 7,655,000 บาท แก่โจทก์ร่วม การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 7,655,000 บาท แก่โจทก์ร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 แล้ว
ความผิดฐานร่วมกันปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของทบวงการเมืองหรือเจ้าพนักงานและฐานร่วมกันใช้รอยตราที่ทำปลอมขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 และ 252 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของทบวงการเมืองหรือเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 251 ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันใช้รอยตราที่ทำปลอมขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 252 จึงต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 251 แต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 263
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเอกสารสัญญาที่จะออกหนังสืออนุญาตการทำงานสำหรับชาวต่างชาติ ปลอมเอกสารการอนุญาตให้คนหางานเดินทางเข้าไปในสาธารณรัฐโปแลนด์ (วีซ่า) ของสถานเอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ ปลอมหนังสือของกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล ถึง กรมการจัดหางาน ปลอมรอยตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ซอ ขึ้น แล้วนำรอยตราปลอมที่ทำขึ้นดังกล่าวไปใช้ประทับลงในเอกสารหนังสือความต้องการลูกจ้าง หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือสัญญาจ้างแรงงานของบริษัท ซ. จากนั้นนำเอกสารปลอม เอกสารราชการปลอม และเอกสารที่มีรอยตราปลอมดังกล่าวไปแสดงแก่โจทก์ร่วม เป็นการกระทำที่ล้วนมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือหลอกลวงโจทก์ร่วมให้หลงเชื่อแล้วจ่ายเงินเป็นค่าดำเนินการเพื่อจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 251 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของทบวงการเมืองหรือเจ้าพนักงานและฐานร่วมกันใช้รอยตราที่ทำปลอมขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 และ 252 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของทบวงการเมืองหรือเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 251 ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันใช้รอยตราที่ทำปลอมขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 252 จึงต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 251 แต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 263
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเอกสารสัญญาที่จะออกหนังสืออนุญาตการทำงานสำหรับชาวต่างชาติ ปลอมเอกสารการอนุญาตให้คนหางานเดินทางเข้าไปในสาธารณรัฐโปแลนด์ (วีซ่า) ของสถานเอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ ปลอมหนังสือของกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล ถึง กรมการจัดหางาน ปลอมรอยตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ซอ ขึ้น แล้วนำรอยตราปลอมที่ทำขึ้นดังกล่าวไปใช้ประทับลงในเอกสารหนังสือความต้องการลูกจ้าง หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือสัญญาจ้างแรงงานของบริษัท ซ. จากนั้นนำเอกสารปลอม เอกสารราชการปลอม และเอกสารที่มีรอยตราปลอมดังกล่าวไปแสดงแก่โจทก์ร่วม เป็นการกระทำที่ล้วนมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือหลอกลวงโจทก์ร่วมให้หลงเชื่อแล้วจ่ายเงินเป็นค่าดำเนินการเพื่อจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 251 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16161-16162/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้เอกสารปลอม: เจตนาทุจริตตั้งแต่ต้นเป็นลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่ ท. พนักงานขายของผู้เสียหายส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามมิได้เกิดจากการที่จำเลยทั้งสามหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหาย แต่เกิดจากเชื่อว่าจำเลยทั้งสามสามารถชำระราคารถยนต์ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้สำเนาหนังสือ ส.ป.ก. 4 - 01 ข ปลอม เพื่อให้พนักงานขายของผู้เสียหายตกลงขายรถยนต์ให้แก่จำเลยทั้งสาม จึงเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยทั้งสามเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นกรณีมีเจตนาทุจริตที่จะเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้นแล้ว จึงมิใช่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ซึ่งการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมไปแสดงต่อพนักงานขายของผู้เสียหาย เพื่อให้พนักงานขายของผู้เสียหายขายรถยนต์ให้แก่จำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปนั้น เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้รถยนต์ของผู้เสียหายเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13996/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'เจ้าพนักงาน' ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่: ส่วนราชการไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา
เจ้าพนักงานซึ่งจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น หมายถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย โดยอาจระบุไว้เป็นการเฉพาะว่าให้ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน หรือระบุองค์การและให้ผู้ที่สังกัดอยู่เป็นเจ้าพนักงาน หรืออาจเป็นการแต่งตั้งโดยกฎหมายทั่วไปซึ่งระบุถึงวิธีการแต่งตั้งไว้ และได้มีการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าว สำหรับส่วนราชการ แม้จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ส่วนราชการเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแบ่งส่วนราชการหรือกฎหมายจัดตั้งส่วนราชการนั้น มิใช่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงหาใช่เจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์/ฎีกาคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจยาเสพติด: ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิ
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ยื่นคำร้องขอให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อรับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จะไม่ใช่คำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พนักงานสอบสวนมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวนดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ร้องโดยเฉพาะ ผู้ต้องหาทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ต้องหาทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13093/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดหลายกรรม และการปรับบท ป.อ. มาตรา 91 เพื่อเรียงกระทงลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนเป็นข้อๆ ถือว่าโจทก์ฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยทั้งสองรับว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12557/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การยกเว้นความผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่
ความรับผิดในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยโดยรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ไปตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงราย ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย และคดีในส่วนอาญาสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุด ดังที่ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย ดังนี้ ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์
ในระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป บัญญัติในมาตรา 3 ว่าให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ย่อมมีผลให้ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่อาจบังคับใช้ได้อีกต่อไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ในระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป บัญญัติในมาตรา 3 ว่าให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ย่อมมีผลให้ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่อาจบังคับใช้ได้อีกต่อไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11898/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (โทรศัพท์และเครื่องนับเงิน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีธนบัตรปลอม
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อกับสายลับ จำเลยที่ 2 และติดต่อซึ่งกันและกัน เพื่อซื้อขายและจัดหาธนบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปลอม โทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ใช้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลต่างประเทศปลอม อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11788/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบเนื่องจากขาดลายมือชื่อผู้เรียงฟ้อง แม้มีลายมือชื่อทนาย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องต้องลงลายมือชื่อไว้ตามที่แบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาได้กำหนดไว้ แต่คำขอท้ายคำฟ้องอาญาในคดีนี้ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียง แม้จะมีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นทนายโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้เขียนหรือพิมพ์เท่านั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11418/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความของนิติบุคคล ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการจังหวัดตราดเป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า (กองทัพเรือ) จำเลยที่ 4 โดยพลเรือเอก พ. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนกองทัพเรือ และต่อมาในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า กองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) โดยพลเรือเอก ส. (ไม่ปรากฏในฐานะอย่างใด) เหล่านี้ หาได้มีเอกสารใดยื่นประกอบให้สื่อความไว้ เมื่อกองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ การแต่งตั้งทนายความของจำเลยที่ 4 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจึงต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความ ดังนั้น การที่พลเรือเอก พ. หรือพลเรือเอก ส. ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือลงลายมือชื่อแต่งทนายความจำเลยที่ 4 โดยมิได้แนบหนังสือมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ทั้งมิได้นำสืบพยานเอกสารในเรื่องเหล่านี้ไว้แต่อย่างใดด้วย จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำของบุคคลภายนอกที่ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 4 ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 4 กรณีดังกล่าวเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ดี ความบกพร่องในการแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ไม่กระทบกระเทือนถึงกระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และแก้ไขได้โดยง่าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาไปถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10751/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – คำพิพากษาเกินฟ้อง – อำนาจศาลวินิจฉัยความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองล้วนคัดลอกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแบบคำต่อคำ เว้นแต่มีการแก้ไขชื่อของศาลจากศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นศาลฎีกา เพื่อให้ตรงตามความจริงเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสอง จึงมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินครึ่งหนึ่งและขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดิน ระหว่างจำเลยทั้งสองเฉพาะส่วนของโจทก์สองในสามส่วน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินครึ่งหนึ่งและขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดิน ระหว่างจำเลยทั้งสองเฉพาะส่วนของโจทก์สองในสามส่วน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247