คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อดิศักดิ์ ปัตรวลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9549-9550/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการบอกเล่าข้อความ นำไปสู่คดีอาญา ศาลพิจารณาเจตนาและพยานหลักฐาน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นพยานเบิกความในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ข้อหาหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นในคดีอาญาวินิจฉัยว่า เสียงที่จำเลยทั้งสองได้ยินและเข้าใจว่าเป็นเสียงโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว อาจเป็นเสียงของผู้อื่นก็เป็นได้ พยานหลักฐานเท่าที่นำสืบมายังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาท ส. ตามฟ้องในคดีอาญาหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าว หาได้วินิจฉัยยืนยันว่า จำเลยทั้งสองนำข้อความอันเป็นเท็จไปบอกกล่าวแก่ ส. แต่อย่างใด เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า ข้อความที่จำเลยทั้งสองนำไปบอกกล่าวแก่ ส. เป็นข้อความอันเป็นเท็จ หรือจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง หรือมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ต้องถูกดำเนินคดีโดยไม่สุจริตแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) และการคำนวณโทษกึ่งหนึ่งเมื่อกระสุนด้าน
ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ต้องระวางโทษประหารชีวิต การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตอย่างใดกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 52 (2) มาใช้ในการกำหนดโทษ โทษกึ่งหนึ่งที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คือ โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงห้าสิบปี ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดชีวิตตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก่อนลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน นั้น เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9059/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดต้องมีเจตนาหวงกันไว้เพื่อตนเอง การเตรียมการกระทำผิดไม่ถือว่าเป็นการครอบครอง
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติหรือให้คำนิยามคำว่า "มีไว้ในครอบครอง" ว่ามีความหมายครอบคลุมเพียงใด จึงต้องถือตามความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ได้บัญญัติความหมายของคำว่า "ครอบครอง" ไว้ว่า ยึดถือไว้ มีสิทธิปกครองส่วนความหมายในทางกฎหมายให้นิยามไว้ว่า ยึดถือทรัพย์สินไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนอันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ดังนั้น การมีกัญชาไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการยึดถือไว้โดยมีเจตนาที่จะหวงกันไว้เพื่อตนเอง โดยอาจมุ่งหมายเพื่อใช้หรือหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยได้รับการว่าจ้างจาก ห. ให้มารับกัญชาจากคนลาวไปส่งมอบให้ ห. ที่จังหวัดสกลนคร และตั้งแต่เจ้าพนักงานตำรวจวางแผนตรวจค้นจับกุมจำเลยและขยายผลจนจับกุมผู้กระทำความผิดคนอื่นได้พร้อมกัญชา กัญชาของกลางไม่เคยอยู่ในความครอบครองของจำเลยแต่อย่างใด การที่จำเลยขับรถไปยังจุดนัดหมายเพื่อรอรับกัญชาของกลางเป็นเพียงการเตรียมการเพื่อกระทำความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนในข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีสิทธิโต้แย้งเพื่อป้องกันสิทธิของตน
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเบิกความโดยมีเงื่อนไขเพื่อต่อรองคดี ย่อมรับฟังไม่ได้ตามกฎหมาย
หลังจากวันเกิดเหตุที่เด็กหญิง ว. โจทก์ร่วมเบิกความอ้างว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา โจทก์ร่วมมิได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยแต่ประการใด ตรงกันข้าม ส. ภริยาจำเลยกลับแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านต้องการให้ปรับไหมโจทก์ร่วมและมารดา อ้างว่าโจทก์ร่วมไปจับอวัยวะเพศจำเลย โจทก์ร่วมและมารดาจึงแจ้งความกลับหาว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของโจทก์ร่วมจึงเป็นคำเบิกความและคำให้การที่เกิดจากเงื่อนไขว่าหากภริยาจำเลยไม่เอาเรื่องโจทก์ร่วมกับมารดา โจทก์ร่วมกับมารดาก็จะไม่เอาเรื่องจำเลย และเพราะเหตุภริยาจำเลยกล่าวหาโจทก์ร่วมกับมารดา โจทก์ร่วมกับมารดาจึงจำเป็นต้องใช้คดีนี้เป็นการแก้เกี้ยว คำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ใช้เพื่อต่อรองมิให้ตนกับมารดาถูกดำเนินคดีดังกล่าว จึงเป็นคำเบิกความที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ และมีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้ตนเองกับมารดาพ้นผิด คำเบิกความของโจทก์ร่วมจึงเป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการจูงใจเป็นการมิชอบ ย่อมรับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีริบทรัพย์จากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 5 บัญญัติว่า กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย ดังนั้นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ซึ่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มาตรา 3 แม้จะไม่ได้บัญญัติให้รวมความถึงคำร้องขอให้ริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ด้วย แต่โดยเนื้อหาและลักษณะของคำร้องนี้ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดข้อหาใดข้อหาหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 โดยมาตรา 32 แห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดต่อเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการฟ้องคดีในข้อหาความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา 3 นั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นมูลเหตุโดยตรงและเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินสั่งยึดและอายัดไว้ น่าจะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จะต้องริบหรือไม่ คำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 27 จึงเป็นส่วนหนึ่งของความผิดหรือมาตรการลงโทษในทางทรัพย์สินที่เกี่ยวโยงอยู่กับความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ต้องถือว่าคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์แต่เพียงศาลเดียวตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 15 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อกล่าวหาต้องตรงตามฟ้อง การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงสำคัญทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกับ ส. มีเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังนี้โจทก์ต้องนำสืบพยานให้สมฟ้องว่า จำเลยกับ ส. ร่วมกันกระทำการดังกล่าวจริง กล่าวคือ จำเลยกับ ส. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอย่างไร แต่โจทก์กลับนำสืบพยานว่า ส. ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย 20 เม็ด มาไว้ในการครอบครองของ ส. เองก่อน แล้วต่อมา ส. แบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่า ส. มีเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ล้วนแต่เป็นการกระทำของ ส. ตามลำพังแยกกันไม่เกี่ยวกับจำเลย จะฟังว่าจำเลยร่วมมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอยู่ระหว่างดำเนินคดีเพื่อขออนุญาต
คดีนี้โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุด ต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา จะมาโต้เถียงในชั้นบังคับคดีว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดและศาลชั้นต้นลงโทษปรับหนักเกินไปหาได้ไม่ หากศาลฟังข้ออ้างของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น หมายความว่า จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ" มาตรา 65 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และในวรรคสองบัญญัติว่า "นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 21 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือใบรับแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้การชำระค่าปรับรายวันสะดุดหยุดอยู่หรือให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทุเลาหรืองดการบังคับชำระค่าปรับไว้ชั่วคราวในระหว่างที่จำเลยทั้งสองกำลังดำเนินคดีเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารอันเป็นหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงมีแต่เพียงบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกไว้ก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 246 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11833/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำยาเสพติดเข้าประเทศ ความผิดสำเร็จไม่ใช่พยายาม พิธีการศุลกากรไม่ใช่ขั้นตอนการพยายาม
บุคคลที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยจะต้องผ่านพิธีการตรวจโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อน เมื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ถือว่าบุคคลนั้นเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว หลังจากนั้นจึงมาผ่านขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่จะต้องตรวจสิ่งของต้องห้ามต่อไป การที่จำเลยนั่งรถยนต์รับจ้างจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทยบริเวณด่านศุลกากรสะเดา ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จึงถือว่าจำเลยเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว เมื่อจำเลยถูกนายตรวจศุลกากรตรวจค้นและพบเมทแอมเฟตามีนของกลางบรรจุอยู่ภายในซองพลาสติกใสใส่ไว้ในกระปุกครีมใส่ผมในกระเป๋าสะพายของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักร หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานพยายามนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11423/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะข้อหาที่สอบสวน, พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ, การริบของกลางต้องมีเหตุผล
ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองไม่ได้ถูกแจ้งข้อหาจากพนักงานสอบสวนในข้อหาตามฟ้องข้อ 1 ก. บางส่วนและข้อ 1 ข. ว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าว เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 พนักงานอัยการจึงต้องห้ามไม่ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟ้องในข้อหาดังกล่าวไว้พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง จึงไม่ชอบ ถึงแม้ประเด็นนี้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 20