พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี และเหตุผลที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลาได้
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบ ตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้ แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของผู้ประกันว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละหลักทรัพย์ในคดีล้มละลาย และหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขายทอดตลาด
การที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างเจ้าหนี้มีประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) คือ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งผู้ร้องก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์หลักประกันคือที่ดินโฉนดเลขที่ 10576 ไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12/2542 ของศาลจังหวัดชลบุรี อันเป็นไปตามความประสงค์ในคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว การที่ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอสละหลักทรัพย์คือที่ดินแปลงดังกล่าวก็เป็นเพราะที่ดินมีสภาพเป็นถนน ประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งแต่ขายทอดตลาดไม่ได้ เห็นได้ถึงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ร้องว่าต้องการที่จะไม่ดำเนินการกับที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป ซึ่งก็หมายถึงถอนการยึดทรัพย์หลักประกันนั่นเอง ประกอบกับที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาแล้วเห็นว่าการจะรวบรวมที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำออกขายทอดตลาดย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่กองทรัพย์สิน มีแต่จะก่อภาระแก่กองทรัพย์สินจึงไม่ประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าว กล่าวคือบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (1) และ (3) โดยการสละสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ร้องย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี หาใช่เป็นภาระของกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญา: การรับสารภาพเฉพาะความผิดตามฟ้อง ไม่ครอบคลุมประวัติโทษเดิม โจทก์ต้องนำสืบประวัติโทษเอง
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4338/2546 ของศาลจังหวัดระยอง เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกข้อกล่าวหาตามบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การรับในประเด็นดังกล่าว และที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีดังกล่าวขึ้นมา ก็เป็นการหยิบยกขึ้นมาเพื่อประกอบดุลพินิจในการรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่เท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับในเรื่องการเพิ่มโทษ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษตามคดีอาญาข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการติดต่อส่งมอบยาเสพติด แม้เป็นพยานบอกเล่า แต่มีเหตุผลเชื่อได้ว่าใช้ในการกระทำผิด
ดาบตำรวจ ศ. ผู้ร่วมจับกุมเบิกความว่า จำเลยรับว่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อในการขนส่งเมทแอมเฟตามีน และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนว่า ชายที่ให้จำเลยขนเมทแอมเฟตามีนเป็นคนมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางให้จำเลยใช้โดยให้รับสายอย่างเดียว แม้คำรับและคำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมที่จำเลยมีหน้าที่ขับรถนำเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากไปส่งให้แก่ผู้รับ เชื่อว่าผู้ว่าจ้างต้องมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางให้จำเลยไว้ใช้ติดต่อในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางในการติดต่อส่งมอบเมทแอมเฟตามีน จึงต้องริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค้างชำระคดีล้มละลาย: ผลกระทบการฟ้องคดีของลูกหนี้ชั้นต้นและการสะดุดหยุดของอายุความ
แม้สิทธิเรียกร้องสำหรับดอกเบี้ยค้างชำระจะมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) แต่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคสอง การที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ชั้นต้น ย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 ปรากฏว่าคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้ ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2547 โดยคู่ความมิได้ฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดในวันที่ 22 กันยายน 2547 อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุด ณ เวลาดังกล่าว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ 4 ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 4 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องสำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งลูกหนี้ที่ 4 ค้ำประกันไว้ จึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยได้ หาใช่ว่ามีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยย้อนหลังจากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดขึ้นไป 5 ปี ไม่ อย่างไรก็ตามความรับผิดของลูกหนี้ที่ 4 ในเรื่องต้นเงินและดอกเบี้ยย่อมจำกัดเพียงไม่เกินความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา/ละเมิดที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนแน่นอน ไม่เป็นเหตุฟ้องล้มละลาย
การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือตัวแทนและกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดค่าเสียหายกรณีจำเลยกระทำการเช่นนี้ไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน และการกระทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ โจทก์ก็มิได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด แม้โจทก์จะดำเนินการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาซื้อขายจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และหุ้นส่วนผู้จัดการ ลูกค้าของโจทก์ที่ซื้อสินค้าไปเกินวงเงินสินเชื่อตามที่จำเลยได้อนุมัติและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้บุคคลดังกล่าวชำระเงินแก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้ถูกฟ้องในคดีแพ่งดังกล่าวด้วย จะนำจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นฐานคำนวณให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่ เพราะกรณียังไม่แน่นอนว่าโจทก์จะบังคับคดีแก่ลูกค้าของโจทก์ภายใน 10 ปี ได้เงินชำระหนี้เพียงใดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือตัวแทนและมูลละเมิด อันเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากกองมรดก: เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่สามารถบังคับจากทรัพย์สินส่วนตัวทายาทได้
แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดเมื่อศาลฎีกายกข้อฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการยื่นฎีกา
คดีนี้จำเลยยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้วเห็นว่าฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ และมีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลย ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้วว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยจึงมิใช่เป็นเพียงแบบของการจัดทำคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 คดีของจำเลยจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนสมรส: สินส่วนตัว/มรดก, การจัดการมรดก, การปิดบังทรัพย์มรดก
การนำสืบพยานบุคคลถึงความเป็นมาอันแท้จริงของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าเพราะเหตุใดจึงมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอน ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายกับจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายกับจำเลยมีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายกับจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายกับจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายกับจำเลยมีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายกับจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก สินส่วนตัว สินสมรส การปิดบังทรัพย์มรดก และสิทธิในการได้รับส่วนแบ่ง
การนำสืบพยานบุคคลถึงความเป็นมาอันแท้จริงของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าเพราะเหตุใดจึงมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอน ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและจำเลยมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายและจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและจำเลยมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายและจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย